×

ศาล รธน. มีมติเอกฉันท์ รับวินิจฉัยกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. และกฎหมายพรรคการเมือง มีเนื้อหาขัด รธน. หรือไม่

โดย THE STANDARD TEAM
21.09.2022
  • LOADING...
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (21 กันยายน) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญออกเอกสารข่าวเผยแพร่ผลการประชุม กรณีที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 77 คน ที่เข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 132 ว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. …. มาตรา 3, 4, 5, 6, 7, 9 และ 10 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 45, 83, 86, 90, 91 และ 258 ก.ด้านการเมือง (2) หรือไม่ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 132 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (1) จึงมีมติเอกฉันท์ รับไว้พิจารณาวินิจฉัย และแจ้งผู้ร้องทราบ พร้อมทั้งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรค 3 ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นเป็นหนังสือ พร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

 

ขณะเดียวกันยังมีมติเอกฉันท์ รับคำร้องกรณีที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รวม 105 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 132 ว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มาตรา 25 และ 26 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 93 และ 94 หรือไม่ และตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

เนื่องจากเห็นว่ากรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 132 ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (1) มาตรา 41 วรรค 2, มาตรา 43 และ 50 จึงมีมติเอกฉันท์ รับไว้พิจารณาวินิจฉัย และแจ้งผู้ร้องทราบ พร้อมทั้งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรค 3 ให้ผู้ร้องและประธานกรรมการการเลือกตั้งชี้แจงตามประเด็นที่ศาลกำหนด และจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising