×

บทสรุปงาน Conicle RE:D Day แนวทางเตรียมรับมือความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
23.12.2020
  • LOADING...
บทสรุปงาน Conicle RE:D Day แนวทางเตรียมรับมือความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน

เมื่อโลกเคลื่อนไปข้างหน้า ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายเกิดขึ้นตลอดเวลา กุญแจสำคัญที่จะทำให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นคือ การเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะปรับตัว เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ที่จะโอบรับประสบการณ์ใหม่ๆ 

 

Conicle บริษัทสตาร์ทอัพด้าน EdTech สัญชาติไทย ผู้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มการเรียนรู้สำหรับพัฒนาบุคลากรในองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบัน ได้จัดงาน ‘RE:D Day’ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ Common Ground @CentralWorld ผ่านคอนเซปต์ ‘RE:Define, RE:Discuss, RE:Design’ เพื่อส่งสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในโลกแห่งการเรียนรู้ ให้ทุกคนได้เริ่มลงมือเตรียมความพร้อม พัฒนาตนเองและองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยจับมือกับ QGEN องค์กรชั้นนำเรื่อง HR และ AIS Academy องค์กรที่จะร่วมส่งต่อองค์ความรู้สู่คนไทย ด้วยการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม

 

บี-อภิชาติ ขันธวิธิ จาก QGEN, 

ปูน-นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ ซีอีโอบริษัท Conicle 

และ ดร.ปรง ธาระวานิช Head of AIS Academy

 

นี่คือบทสรุปสำคัญจากงาน ‘RE:D Day’ งานที่จะช่วยให้คุณเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน

 

RE:Define จาก E-Learning สู่ Learning Experience

 

ปูน-นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ ซีอีโอบริษัท Conicle เริ่มต้นชวนสนทนาผ่านธีม RE:Define ด้วย 3 สัญญาณเตือนที่คนในยุคนี้ต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม นั่นคือ จะมีอาชีพใหม่ๆ จำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพื่อรองรับโลกที่เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นและพร้อมที่จะเบียดขับพื้นที่ของแรงงานมนุษย์ โดยคนยุคใหม่จำเป็นต้องใช้ ‘ทักษะ (Skill)’ และ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ (Creative) มากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

 

โดยคนและความรู้คือกุญแจสำคัญในโลกการทำงานยุคใหม่ (New Wolrd of Work) หลายองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญกับการใช้งานเทคโนโลยีทางด้านการเรียนรู้อย่าง E-Learning เพื่อพัฒนาคนและองค์กรเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดบางประการของ E-Learning ที่อาจไม่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่อาจจะยังไม่สามารถสร้างการเรียนรู้ได้จริง รวมถึงเนื้อหาที่ดูไม่น่าสนใจและการขาดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน จึงนำไปสู่การให้นิยามใหม่ของ E-Learning ในที่สุด

 

“เพราะการเรียนรู้คือพลังสำคัญ เมื่อเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง”

 

Conicle จึงผลักดันและปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ผ่าน E-Learning แบบเดิม สู่การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ใหม่ (Learning Experience) ที่จำกัดความด้วย ‘4P’ ได้แก่ 

 

  1. Perspective เน้นการเรียนรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้งานได้จริง มีประโยชน์ และวัดผลได้ โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
  2. Process เน้นการเรียนรู้ที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ที่เนื้อหาและกระบวนการสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างต่อเนื่อง แทนการเรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดทางเดียว
  3. Pedagogy เน้นการเรียนรู้ที่เนื้อหาและวิธีการสอนได้รับการออกแบบมาให้เหมาะสมกับผู้เรียนเฉพาะแต่ละบุคคล ไม่ใช่แบบเรียนหนึ่งชุดที่ออกแบบมาเพื่อให้ครอบคลุมผู้เรียนหลายคน (One Size Fit All) อีกต่อไป

และ 4. Platform เครื่องมือที่จะเข้ามารองรับ 3P ข้างต้น เพื่อจุดประกายความสนใจและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ โดยใช้ความรู้ความสามารถ (Competency) เป็นฐานสำคัญ

 

 

RE:Discuss เมื่อเผชิญความไม่แน่นอนทางธุรกิจ ใช้ VUCA แก้ไข VUCA

 

บี-อภิชาติ ขันธวิธิ Managing Director จากบริษัท QGEN Consultant เริ่มต้นบทสนทนาในช่วงที่ 2 ผ่านธีม RE:Discuss ที่ชวนให้ตอบคำถามว่า ในภาวะที่องค์กรทั้งหลายต่างเผชิญความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ Talent แบบไหนที่องค์กรอยากให้เกิดขึ้น? คนเก่งคนเดิมยังเป็น Talent ที่องค์กรต้องการอยู่หรือไม่?

 

 

ความท้าทายและความไม่แน่นอนทางธุรกิจที่เกิดขึ้น (VUCA) อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงเทคโนโลยี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีลักษณะบางประการที่สอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกัน โดยบี อภิชาติ ได้นำเสนอให้ใช้ VUCA แก้ไข VUCA โดย VUCA ที่จะนำมาปรับใช้คือ VUCA ในนิยามความหมายใหม่ ได้แก่ 

 

  1. Volatility มีความผันผวนสูง สามารถแก้ไขได้ด้วย Vision ที่มีมุมมองที่หลากหลายและกว้างไกล
  2. Uncertainty มีความไม่แน่นอนสูง ขาดความชัดเจน สามารถแก้ไขได้ด้วย Understanding ทำความเข้าใจตนเองและองค์กร มีจุดแข็งที่หลากหลายและหาจุดแข็งได้รวดเร็ว
  3. Complexity เมื่อปัญหาและความท้าทายมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น สามารถแก้ไขด้วย Clarify เปลี่ยนสิ่งที่ซับซ้อนให้กระจ่างและชัดเจนมากขึ้น
  4. Ambiguty ไม่สามารถประเมินผลลัพธ์ที่ชัดเจนได้ สามารถแก้ไขด้วย Agility ต้องมีความยืดหยุ่น เพราะความยืดหยุ่นคือความรวดเร็วในการปรับตัวอย่างหนึ่ง

 

เมื่อเราเริ่มเข้าใจความไม่แน่นอนทางธุรกิจ เราต้องไม่ลืมที่จะทำความเข้าใจพื้นฐานปัญหาในองค์กรว่ามาจากส่วนใด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง กระบวนการทำงาน สมาชิกในองค์กร รวมถึงระบบและเทคโนโลยีที่มีผลต่อการขับเคลื่อนองค์กรด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ได้ตรงจุด รวดเร็ว ยืดหยุ่น และมีคุณภาพ นำไปสู่การ RE:Discuss คือ การจัดการกำลังคน (Workforce) โดยเน้นไปที่กลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อเพิ่ม Value ให้กับองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ 

 

  1. Workforce Design คือการให้ความสำคัญกับคาแรกเตอร์ให้มากขึ้น จนมีการกำหนด Persona ของพนักงานในองค์กรขึ้นมา เพื่อให้องค์กรแข็งแรงขึ้น 
  2. Workforce Process คือการกำหนดกระบวนการทั้งหมดที่จะทำให้ได้มาซึ่ง Talent และรักษา Talent เหล่านั้นไว้ 
  3. Workforce Motivation คือการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้พนักงานสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (โดยเฉพาะในยุคที่ต้องทำงานหนักแต่ได้ผลตอบแทนต่ำ) 

 

บี อภิชาติ สรุปทิ้งท้ายช่วงที่ 2 ว่า เราสามารถที่จะใช้ VUCA เพื่อรักษา Performance ได้ โดยต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับทั้งทิศทางขององค์กร และสนใจความต้องการของบุคลากรภายในองค์กรด้วย

 

 

RE:Design ปรับเปลี่ยน เพื่อเปิดรับประสบการณ์ใหม่

 

ช่วงสุดท้ายของงาน ‘RE:D Day’ ปิดท้ายด้วยธีม RE:Design ของ ดร.ปรง ธาระวานิช Head of AIS Academy และ SVP HR จากบริษัท Intouch Holdings ที่จะมาบอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการ RE:Design ที่ต้องพบเจอกับความแตกต่างในประสบการณ์ของแต่ละบุคคลอันเกิดจาก อายุ สุขภาพ การกินอยู่ ความสุข และความแตกต่างในประสบการณ์ของแต่ละรุ่น แต่ละช่วงวัย (Generation) โดยที่กลุ่มคนรุ่นเก่าเสียชีวิตน้อยลง ขณะที่คนรุ่นใหม่เองก็เกิดน้อยลง และมีแนวโน้มที่จะเข้ามาทำงานในองค์กรลดน้อยลง ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่ส่งสัญญาณบ่งชี้ถึงประสบการณ์การทำงานในองค์กรโดยภาพรวมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป

 

 

เพื่อรับมือกับทุกความท้าทายที่จะเกิดขึ้น การ RE:Design จึงต้องเกิดขึ้น ปรับเปลี่ยนเพื่อเปิดรับประสบการณ์ใหม่บนความพร้อมในมิติต่างๆ ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น 90% จะมาจากคน อีก 10% มาจากเทคโนโลยี โดยการ RE:Design จะต้องให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น

 

  1. Mindset ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด (70%) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจในแง่มุมต่างๆ ของผู้นำองค์กร
  2. Skillset มีความสำคัญราว 20% โดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกและโอกาสที่ได้รับจากการ Reskill
  3. Toolset แม้จะมีความสำคัญเพียง 10% แต่ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะนี่จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยเร่งความเร็วในการพัฒนาได้

 

โดย ดร.ปรง ได้หยิบยกตัวอย่างของ AIS ที่ได้นำเครื่องมือที่เรียกว่า AIS DIGI ที่ประกอบไปด้วย ReadDi, LearnDi และ FunDi มาสนับสนุนในการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

 

 

จากมุมมองและแนวคิดของ 3 วิทยากรกิตติมศักดิ์ผ่านธีม RE:Define, RE:Discuss, RE:Design ภายในงาน RE:D Day 2020 นี้ ล้วนแล้วแต่เน้นย้ำให้เราเห็นว่า การจะผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนที่สอดรับกับยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ถึงแม้จะมีความพร้อมในเรื่องของโอกาส มุมมอง วิธีคิด และเครื่องมือต่างๆ เข้ามารองรับ โดยปัจจัยที่ควรคำนึงถึงและให้ความสำคัญเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงคือ การรู้จักปรับตัวและมีความยืดหยุ่นที่มากเพียงพอ ทั้งในตัวบุคคลและองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ แห่งการเรียนรู้ มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้ทั้งคนและองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ พัฒนาและก้าวไปข้างหน้าร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข 

 

ดาวน์โหลด สรุปเนื้อหาจากงาน Conicle RE:D Day ได้ที่นี่ http://bit.ly/ConicleREDDay2020Materials 

 

ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.conicle.com 

 

#Conicle #ConicleX #LMS #LMSPlatform #LearningPlatform #OnlineLearningPlatform #LearningManagementSystem

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising