เมื่อโลกเคลื่อนไปข้างหน้า ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายเกิดขึ้นตลอดเวลา กุญแจสำคัญที่จะทำให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นคือ การเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะปรับตัว เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ที่จะโอบรับประสบการณ์ใหม่ๆ
Conicle บริษัทสตาร์ทอัพด้าน EdTech สัญชาติไทย ผู้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มการเรียนรู้สำหรับพัฒนาบุคลากรในองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบัน ได้จัดงาน ‘RE:D Day’ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ Common Ground @CentralWorld ผ่านคอนเซปต์ ‘RE:Define, RE:Discuss, RE:Design’ เพื่อส่งสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในโลกแห่งการเรียนรู้ ให้ทุกคนได้เริ่มลงมือเตรียมความพร้อม พัฒนาตนเองและองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยจับมือกับ QGEN องค์กรชั้นนำเรื่อง HR และ AIS Academy องค์กรที่จะร่วมส่งต่อองค์ความรู้สู่คนไทย ด้วยการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม
บี-อภิชาติ ขันธวิธิ จาก QGEN,
ปูน-นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ ซีอีโอบริษัท Conicle
และ ดร.ปรง ธาระวานิช Head of AIS Academy
นี่คือบทสรุปสำคัญจากงาน ‘RE:D Day’ งานที่จะช่วยให้คุณเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน
RE:Define จาก E-Learning สู่ Learning Experience
ปูน-นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ ซีอีโอบริษัท Conicle เริ่มต้นชวนสนทนาผ่านธีม RE:Define ด้วย 3 สัญญาณเตือนที่คนในยุคนี้ต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม นั่นคือ จะมีอาชีพใหม่ๆ จำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพื่อรองรับโลกที่เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นและพร้อมที่จะเบียดขับพื้นที่ของแรงงานมนุษย์ โดยคนยุคใหม่จำเป็นต้องใช้ ‘ทักษะ (Skill)’ และ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ (Creative) มากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
โดยคนและความรู้คือกุญแจสำคัญในโลกการทำงานยุคใหม่ (New Wolrd of Work) หลายองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญกับการใช้งานเทคโนโลยีทางด้านการเรียนรู้อย่าง E-Learning เพื่อพัฒนาคนและองค์กรเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดบางประการของ E-Learning ที่อาจไม่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่อาจจะยังไม่สามารถสร้างการเรียนรู้ได้จริง รวมถึงเนื้อหาที่ดูไม่น่าสนใจและการขาดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน จึงนำไปสู่การให้นิยามใหม่ของ E-Learning ในที่สุด
“เพราะการเรียนรู้คือพลังสำคัญ เมื่อเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง”
Conicle จึงผลักดันและปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ผ่าน E-Learning แบบเดิม สู่การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ใหม่ (Learning Experience) ที่จำกัดความด้วย ‘4P’ ได้แก่
- Perspective เน้นการเรียนรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้งานได้จริง มีประโยชน์ และวัดผลได้ โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
- Process เน้นการเรียนรู้ที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ที่เนื้อหาและกระบวนการสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างต่อเนื่อง แทนการเรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดทางเดียว
- Pedagogy เน้นการเรียนรู้ที่เนื้อหาและวิธีการสอนได้รับการออกแบบมาให้เหมาะสมกับผู้เรียนเฉพาะแต่ละบุคคล ไม่ใช่แบบเรียนหนึ่งชุดที่ออกแบบมาเพื่อให้ครอบคลุมผู้เรียนหลายคน (One Size Fit All) อีกต่อไป
และ 4. Platform เครื่องมือที่จะเข้ามารองรับ 3P ข้างต้น เพื่อจุดประกายความสนใจและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ โดยใช้ความรู้ความสามารถ (Competency) เป็นฐานสำคัญ
RE:Discuss เมื่อเผชิญความไม่แน่นอนทางธุรกิจ ใช้ VUCA แก้ไข VUCA
บี-อภิชาติ ขันธวิธิ Managing Director จากบริษัท QGEN Consultant เริ่มต้นบทสนทนาในช่วงที่ 2 ผ่านธีม RE:Discuss ที่ชวนให้ตอบคำถามว่า ในภาวะที่องค์กรทั้งหลายต่างเผชิญความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ Talent แบบไหนที่องค์กรอยากให้เกิดขึ้น? คนเก่งคนเดิมยังเป็น Talent ที่องค์กรต้องการอยู่หรือไม่?
ความท้าทายและความไม่แน่นอนทางธุรกิจที่เกิดขึ้น (VUCA) อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงเทคโนโลยี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีลักษณะบางประการที่สอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกัน โดยบี อภิชาติ ได้นำเสนอให้ใช้ VUCA แก้ไข VUCA โดย VUCA ที่จะนำมาปรับใช้คือ VUCA ในนิยามความหมายใหม่ ได้แก่
- Volatility มีความผันผวนสูง สามารถแก้ไขได้ด้วย Vision ที่มีมุมมองที่หลากหลายและกว้างไกล
- Uncertainty มีความไม่แน่นอนสูง ขาดความชัดเจน สามารถแก้ไขได้ด้วย Understanding ทำความเข้าใจตนเองและองค์กร มีจุดแข็งที่หลากหลายและหาจุดแข็งได้รวดเร็ว
- Complexity เมื่อปัญหาและความท้าทายมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น สามารถแก้ไขด้วย Clarify เปลี่ยนสิ่งที่ซับซ้อนให้กระจ่างและชัดเจนมากขึ้น
- Ambiguty ไม่สามารถประเมินผลลัพธ์ที่ชัดเจนได้ สามารถแก้ไขด้วย Agility ต้องมีความยืดหยุ่น เพราะความยืดหยุ่นคือความรวดเร็วในการปรับตัวอย่างหนึ่ง
เมื่อเราเริ่มเข้าใจความไม่แน่นอนทางธุรกิจ เราต้องไม่ลืมที่จะทำความเข้าใจพื้นฐานปัญหาในองค์กรว่ามาจากส่วนใด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง กระบวนการทำงาน สมาชิกในองค์กร รวมถึงระบบและเทคโนโลยีที่มีผลต่อการขับเคลื่อนองค์กรด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ได้ตรงจุด รวดเร็ว ยืดหยุ่น และมีคุณภาพ นำไปสู่การ RE:Discuss คือ การจัดการกำลังคน (Workforce) โดยเน้นไปที่กลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อเพิ่ม Value ให้กับองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
- Workforce Design คือการให้ความสำคัญกับคาแรกเตอร์ให้มากขึ้น จนมีการกำหนด Persona ของพนักงานในองค์กรขึ้นมา เพื่อให้องค์กรแข็งแรงขึ้น
- Workforce Process คือการกำหนดกระบวนการทั้งหมดที่จะทำให้ได้มาซึ่ง Talent และรักษา Talent เหล่านั้นไว้
- Workforce Motivation คือการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้พนักงานสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (โดยเฉพาะในยุคที่ต้องทำงานหนักแต่ได้ผลตอบแทนต่ำ)
บี อภิชาติ สรุปทิ้งท้ายช่วงที่ 2 ว่า เราสามารถที่จะใช้ VUCA เพื่อรักษา Performance ได้ โดยต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับทั้งทิศทางขององค์กร และสนใจความต้องการของบุคลากรภายในองค์กรด้วย
RE:Design ปรับเปลี่ยน เพื่อเปิดรับประสบการณ์ใหม่
ช่วงสุดท้ายของงาน ‘RE:D Day’ ปิดท้ายด้วยธีม RE:Design ของ ดร.ปรง ธาระวานิช Head of AIS Academy และ SVP HR จากบริษัท Intouch Holdings ที่จะมาบอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการ RE:Design ที่ต้องพบเจอกับความแตกต่างในประสบการณ์ของแต่ละบุคคลอันเกิดจาก อายุ สุขภาพ การกินอยู่ ความสุข และความแตกต่างในประสบการณ์ของแต่ละรุ่น แต่ละช่วงวัย (Generation) โดยที่กลุ่มคนรุ่นเก่าเสียชีวิตน้อยลง ขณะที่คนรุ่นใหม่เองก็เกิดน้อยลง และมีแนวโน้มที่จะเข้ามาทำงานในองค์กรลดน้อยลง ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่ส่งสัญญาณบ่งชี้ถึงประสบการณ์การทำงานในองค์กรโดยภาพรวมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป
เพื่อรับมือกับทุกความท้าทายที่จะเกิดขึ้น การ RE:Design จึงต้องเกิดขึ้น ปรับเปลี่ยนเพื่อเปิดรับประสบการณ์ใหม่บนความพร้อมในมิติต่างๆ ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น 90% จะมาจากคน อีก 10% มาจากเทคโนโลยี โดยการ RE:Design จะต้องให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น
- Mindset ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด (70%) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจในแง่มุมต่างๆ ของผู้นำองค์กร
- Skillset มีความสำคัญราว 20% โดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกและโอกาสที่ได้รับจากการ Reskill
- Toolset แม้จะมีความสำคัญเพียง 10% แต่ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะนี่จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยเร่งความเร็วในการพัฒนาได้
โดย ดร.ปรง ได้หยิบยกตัวอย่างของ AIS ที่ได้นำเครื่องมือที่เรียกว่า AIS DIGI ที่ประกอบไปด้วย ReadDi, LearnDi และ FunDi มาสนับสนุนในการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
จากมุมมองและแนวคิดของ 3 วิทยากรกิตติมศักดิ์ผ่านธีม RE:Define, RE:Discuss, RE:Design ภายในงาน RE:D Day 2020 นี้ ล้วนแล้วแต่เน้นย้ำให้เราเห็นว่า การจะผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนที่สอดรับกับยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ถึงแม้จะมีความพร้อมในเรื่องของโอกาส มุมมอง วิธีคิด และเครื่องมือต่างๆ เข้ามารองรับ โดยปัจจัยที่ควรคำนึงถึงและให้ความสำคัญเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงคือ การรู้จักปรับตัวและมีความยืดหยุ่นที่มากเพียงพอ ทั้งในตัวบุคคลและองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ แห่งการเรียนรู้ มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้ทั้งคนและองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ พัฒนาและก้าวไปข้างหน้าร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
ดาวน์โหลด สรุปเนื้อหาจากงาน Conicle RE:D Day ได้ที่นี่ http://bit.ly/ConicleREDDay2020Materials
ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.conicle.com
#Conicle #ConicleX #LMS #LMSPlatform #LearningPlatform #OnlineLearningPlatform #LearningManagementSystem
พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล