×

วิษณุนำแถลงผลสรุปความขัดแย้ง 2 นายพล ส่ง พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ กลับ ตร. ส่วน พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ได้พิจารณาคำสั่งออกจากราชการใหม่ จากนี้ย้ำให้ปรองดองเพื่อประชาชน

โดย THE STANDARD TEAM
20.06.2024
  • LOADING...

วันนี้ (20 มิถุนายน) ที่ทำเนียบรัฐบาล วิษณุ​ เครืองาม​ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี​ แถลงผลสอบคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จและข้อกฎหมาย กรณีปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะ เกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องคดีของบุคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึงกรณีของ พล.ต.อ. ต่อศักดิ์​ สุขวิมล​ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ​ และ พ.ต.อ. สุรเชษฐ์​ หักพาล​

 

วิษณุระบุว่า​ มีการรายงานผลให้นายกรัฐมนตรีทราบเมื่อ 2-3 วันก่อน ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือว่าเสร็จสิ้นภารกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำต่อไปในอนาคต โดยสรุปได้ความว่า วันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ครบ 4 เดือนพอดี ทั้งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่ในกระบวนการยุติธรรม ทำให้ประชาชนไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจ หรือไม่พอใจ ต่อสถานการณ์​ที่เกิดขึ้น

 

นายกฯ​ จึงได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จและข้อกฎหมายฯ ตรวจสอบข้อพิพาทที่เกิดขึ้น เพื่อประมวลเรื่องราวว่ามีความเป็นมาอย่างไร เพื่อแก้ไขความเป็นไปในอนาคต

 

ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาหลายชุดเพื่อมาช่วย เนื่องจากได้สอบพยานไปกว่า 50 คน​ ในจำนวนนั้นได้สอบสวนคู่กรณี ทั้ง พล.ต.อ. ต่อศักดิ์​ และ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ซึ่งสรุปได้ความว่า พบว่ามีความขัดแย้งและความไม่เรียบร้อยเกิดขึ้นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติจริง มีความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง ระดับกลาง​ ระดับเล็ก​ หรือทุกระดับและทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะเหตุเดียวกัน หรือคนละเหตุแล้วบังเอิญมาประจวบกันก็ตาม จนกระทั่งเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกันอยู่ทั้งภายนอก และภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

นอกจากนี้ เรื่องราวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับบุคคล 2 ท่าน คือ พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ และ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ซึ่งแต่ละท่านก็มีทีมงานอยู่ใต้การบังคับบัญชา จึงพลอยเกิดความขัดแย้งไปด้วย โดยเฉพาะคดีสำคัญที่เกี่ยวข้อง​กับบุคคล เช่น​ คดี 140 ล้านบาท เป้รักผู้การเท่าไร, คดีที่ 2 คือคดีกำนันนก, คดีที่ 3 คือคดีมินนี่ เว็บพนันออนไลน์, คดีที่ 4 คือเรื่องพนันออนไลน์ BNK Master และยังมีคดีย่อยแยกออกไปอีกประมาณ 10 คดี ซึ่งแยกย้ายกระจายกันอยู่ตามสถานีตำรวจต่างๆ และอยู่ในชั้นศาลแล้วก็มี โดยเฉพาะศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในภาค 7 และส่วนกลาง ความขัดแย้งบางเรื่องเพิ่งเกิด บางเรื่องเกิดขึ้นมากกว่า 10 ปีแล้ว จึงทำให้เกิดคดีเหล่านี้ขึ้นมา

 

ข้อที่ 3 คดีความที่เกี่ยวข้องกับ 2 นายพล จากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ มีบางเรื่องส่งให้กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ​ อัยการ​ และศาล​ ว่าไปตามปกติ

 

ข้อที่ 4 บางเรื่องเกี่ยวพันกับหน่วยงานนอกกระบวนการยุติธรรมคือ องค์กรอิสระ​ คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับไปดำเนินการ ซึ่งเวลานี้คดีทั้งหมดมีเจ้าของคดีรับดำเนินการ ไม่มีคดีตกค้างที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอีก เมื่อเป็นเช่นนั้นก็นำมาสู่ผลสรุปรายงาน​

 

ในข้อที่ 5 กรณี พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ได้รับคำสั่งให้กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 แต่เพียงผู้เดียว ให้อยู่ในตำแหน่งและหน้าที่เดิม แต่ในวันเดียวกันนั้นเองก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นอีก 1 ชุด เพื่อสอบสวนทางวินัย และตามมาด้วยคำสั่งอีกฉบับ​ให้ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์​ ออกจากราชการไว้ก่อน

 

วิษณุ​กล่าวว่า พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ สมควรที่จะส่งกลับไปปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่เดิม เพราะวันนี้ไม่มีอะไรจะสอบสวนแล้ว การที่นำตัวมาที่ทำเนียบ เพื่อที่จะได้สอบสวน แต่เมื่อการสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้ว หรือกระบวนการที่ยังอยู่ในการพิจารณาของ ป.ป.ช.​ ซึ่งไม่มีเหตุให้อยู่ที่ทำเนียบ จึงให้กลับไปทำงานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติตามเดิม ส่วนคดีให้เป็นไปตามสายงานของคดี

 

ผลสรุปของคณะกรรมการไม่ได้เป็นการชี้ว่าใครผิด ใครถูก แต่ได้รายงานให้นายกฯ ทราบว่าพบเห็นความยุ่งยากสับสนระหว่างอำนาจสอบสวนของหลายหน่วยงาน ซึ่งความจริงควรจะพบเห็นเรื่องนี้มานาน แต่มีคดีใหญ่หลายคดีประเดประดังเข้ามา และหลายคดีไม่รู้ว่าอำนาจอยู่ในมือของตำรวจ, ป.ป.ช., ปปง., กรมสอบสวนคดีพิเศษ​ (DSI),​ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน​ภาครัฐ​ (ป.ป.ท.​) ทำให้คดีทุจริตมีเจ้าภาพหลายรายเกินไป​

 

คณะกรรมการจึงเสนอแนะว่า ให้กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจสอบให้ชัดเจน โดยมอบให้คณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรม​ว่า หากเหตุเกิดขึ้นอีก อำนาจการสอบสวนอยู่ที่ใคร เมื่อไปถึงขั้นตอนของศาลอาจยกฟ้องได้ จึงต้องสอบสวนให้ชัดว่าใครมีอำนาจกันแน่ และเพื่อเป็นคู่มือให้พนักงานสอบสวนได้เก็บไว้ ซึ่งถือเป็นบทเรียนว่าต่อไปอาจจะเกิดขึ้นอีก และต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อนายกฯ รับทราบ ก็มีบัญชาการให้ตนมาชี้แจงและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

วิษณุ​ระบุว่า สถานภาพของ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์​ ที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรอการนำความกราบบังคมทูลฯ ให้ออกจากราชการไว้ก่อน จำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะต้องตรวจสอบว่าทำถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนตามกฎหมายหรือไม่ ขณะเดียวกัน พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ได้นำเรื่องไปฟ้องต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา

 

เมื่อถามว่า การได้กลับไปปฏิบัติราชการ​ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติของทั้ง 2 คน จะเป็นการให้คำมั่นกับประชาชนได้หรือไม่ว่าจะไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก วิษณุระบุว่า กรณี พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ไม่ใช่การส่งกลับไป​ เพราะส่งไปตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนแล้ว​ ส่วนกรณีของ พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ ส่งกลับไปได้​ แต่จะกลับวันนี้หรือพรุ่งนี้ แล้วแต่คำสั่งของนายกฯ

 

ส่วนที่มีความสับสนวุ่นวายขัดแย้งจนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้นั้น​ วิษณุ​กล่าวว่า​ ตอนที่เอาตัวออกมาทั้ง 2 คน ไม่ได้เอาออกมาเพื่อที่จะแก้ไข​ แต่เพื่อจะตรวจสอบ สอบวินัย​ สารพัดจะสอบ ซึ่งก็จะนำมาสู่การแก้ไขต่อไปในอนาคต โดยนายกฯ ​ขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายปรองดองกันในงานราชการ​ แต่ส่วนตัวใครทำอะไรผิดก็ดำเนินการไปตามกฎหมาย เพราะมีอำนาจอยู่แล้ว แต่การทำงานเพื่อบังเกิดประโยชน์กับประชาชน​ ไม่ให้ประชาชนรู้สึกเสื่อมศรัทธา​ต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดี จะต้องร่วมมือกันแก้ไขทั้งสำนักงาน รวมไปถึงตำรวจนอกจาก 2 ท่านนี้ด้วย

 

ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์คงจะเบาบางลง​ เพราะในระหว่างที่เวลาผ่านไป 4 เดือน ทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้พบปะพูดจาอะไรกันบ้างพอสมควร​ และคณะกรรมการก็เข้าไปไกล่เกลี่ยบางเรื่องให้​ แต่ไม่ใช่ไปซูเอี๋ย หรือมวยล้มต้มคนดู​อะไร เพราะคดีทั้งหมดมีมีดปักหลังทุกคน​ ก็ว่ากันไป​ แต่ระหว่างนี้ให้กลับไปทำงาน เพราะสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะทำงานแบบไม่มีหัวไม่ได้ ขณะนี้ พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ​  พันธุ์​เพ็ชร์​ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่เกินกำลัง

 

ส่วนที่ พล.ต.อ. วินัย ทองสอง แถลงข่าวว่า พล.ต.อ. สุรเชษฐ์​ มีความผิดจริง​ วิษณุยอมรับว่า มีการพูดทั้งหมด สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะตัดสินใจชะตากรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไป

 

ส่วนการส่งตัว พล.ต.อ. ต่อศักดิ์​ กลับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเป็นการล้างมลทินหรือไม่​ วิษณุ​ยืนยันว่า ไม่ล้มล้าง ความผิดยังคงเดินหน้าต่อ ซึ่งคดีอยู่ที่ ป.ป.ช.​ ผลสอบครั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีผลผูกพันไปยังหน่วยงานอื่น​ แต่เป็นการแจ้งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทราบ

 

ส่วนเสียงครหาว่าเป็นการฟอกขาวหรือไม่ วิษณุระบุว่า ไม่มีอะไรเป็นการฟอกขาว​ แต่ขอให้ท่านกลับไปทำหน้าที่ของท่าน ในส่วนนี้อย่าว่อกแว่ก​ ส่วนคดีใน ​ป.ป.ช. ก็ขอให้ไปสู้กันเอง​

 

วิษณุ​เน้นย้ำว่า​ ตำรวจจำเป็นต้องทำความเข้าใจกฎหมายของตำรวจเองให้ดีเสียก่อน​ ก่อนที่จะออกคำสั่งอะไร

 

ส่วนเหตุผลที่ให้วิษณุเป็นผู้แถลงนั้น นายกฯ ระบุว่า เรื่องนี้หากให้โฆษกรัฐบาลแถลงจะเกิดความสลับซับซ้อน และที่สำคัญ​ตนเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่ 2 ที่วินิจฉัยว่าการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนไม่ถูกต้อง​ เนื่องจากไม่ได้ทำตามกระบวนการ นายกฯ จึงมอบหมายให้ตนมาชี้แจง

 

ส่วนการส่งกลับเช่นนี้จะทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเรียบร้อยหรือไม่ วิษณุระบุว่า คงไม่สงบเรียบร้อย 100% เรียบแต่ไม่ร้อย แต่คงจะสงบจบลงได้ และมีความปรองดองในส่วนงานราชการ

 

ส่วนกรณี พล.ต.อ. สุรเชษฐ์​ หากพิจารณาเสร็จแล้วจะสามารถมาลุ้นตำแหน่ง ผบ. ตร. ได้เหมือนเดิมหรือไม่​ วิษณุระบุว่า​ มี

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X