×

เพจนักวิจัยกฎหมาย LGBTI โพสต์ 2 ข้อกังวลต่อกฎหมายคู่ชีวิต vs. สมรสเท่าเทียม ชี้มีความแตกต่างกันในหลักการเป็นอย่างมาก

โดย THE STANDARD TEAM
09.06.2022
  • LOADING...
สมรสเท่าเทียม

วันนี้ (9 มิถุนายน) เพจนักวิจัยกฎหมาย LGBTI โพสต์ข้อความแถลงการณ์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก เรื่อง ข้อกังวลต่อความแตกต่างในหลักการของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. กับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สมรสเท่าเทียม) 

 

โดยให้รายละเอียดระบุว่า กฎหมายคู่ชีวิตนั้นมีหลักการสำคัญอยู่ที่การรับรองให้ข้อตกลงการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกันได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เมื่อบุคคลได้บันทึกทะเบียนต่อนายทะเบียนตามกฎหมายคู่ชีวิตแล้ว ย่อมมีสิทธิหน้าที่ต่อกันตามข้อตกลงระหว่างกัน ตลอดจนมีสิทธิหน้าที่ประการอื่นซึ่งกฎหมายคู่ชีวิตบัญญัติไว้ การเป็นคู่ชีวิตจึงเป็นเพียงสัญญาซึ่งได้รับการยอมรับโดยรัฐว่า คู่สัญญาในฐานะคู่ชีวิตมีสิทธิหน้าที่ตามที่กฎหมายคู่ชีวิตกำหนดเท่านั้น เป็นเหตุให้การเป็นคู่ชีวิตไม่ก่อให้เกิดสถานะของบุคคลในกฎหมายแพ่ง กล่าวคือ ไม่ก่อให้เกิดสถานะคู่สมรส ไม่ก่อให้เกิดสถานะบิดาหรือมารดา และไม่นำไปสู่การเป็นทายาทโดยธรรม เว้นแต่ที่ในกฎหมายคู่ชีวิตได้บัญญัติรับรองสิทธิหน้าที่ของบุคคลที่เป็นคู่ชีวิตในเรื่องเหล่านั้นไว้เป็นการเฉพาะ 

 

ในขณะเดียวกันการสมรสนั้นเป็นสถาบันซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมายแพ่ง การสมรสมิใช่เพียงข้อตกลงอันก่อให้เกิดสัญญาระหว่างบุคคลสองฝ่าย ทว่าการสมรสได้สร้างสถาบันอันเป็นรากฐานของสังคมขึ้นมาด้วย ฉะนั้นการสมรสจึงก่อให้เกิดสถานะทางแพ่งของบุคคลในกฎหมาย ก่อให้เกิดสถานะคู่สมรส ก่อให้เกิดสถานะบิดาหรือมารดา ตลอดจนนำไปสู่การเป็นทายาทโดยธรรม และโดยสถานะของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการสมรสนี้เอง คู่สมรสจึงมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายนานัปการ ซึ่งการเป็นคู่ชีวิตนั้นไม่ปรากฏลักษณะสำคัญอันเป็นสถาบันในทำนองเช่นว่านี้

 

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าในขณะนี้มีการยกร่างกฎหมายขึ้น 2 ฉบับในประเทศไทย กล่าวคือ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สมรสเท่าเทียม) โดยร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนั้นได้รับการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในเวลาอันไล่เลี่ยกัน นำไปสู่ข้อกังวล 2 ประการ กล่าวคือ 

 

  1. แม้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับจะส่งผลให้การใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศเดียวกันได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมาย ทว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับนั้นมีหลักการ ตลอดจนสาระสำคัญอันแตกต่างกันอย่างมาก และอาจนำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ จึงควรประชาสัมพันธ์ถึงความแตกต่างดังกล่าวให้ประชาชน ตลอดจนสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแทนประชาชนทั้งปวงนั้นทราบโดยกระจ่างชัด 

 

  1. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนั้น หากมิได้กระทำแยกกันเป็นสัดส่วนโดยเด็ดขาด อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในหลักการ ตลอดจนสาระสำคัญของกฎหมายแต่ละฉบับ และการลงมติใดๆ ภายใต้ความสำคัญผิดเช่นว่านั้นย่อมเป็นการบิดเบือนเจตจำนงร่วมกันของประชาชน ซึ่งอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X