×

กางพิมพ์เขียว ‘Cloud 11’ ดูแนวคิดการออกแบบฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียจาก MQDC [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
22.03.2023
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • Cloud 11 คือ Theme Project ลำดับที่ 2 ของ MQDC บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอสังหาของไทย 
  • MQDC ตั้งเป้าที่จะปั้น Cloud 11 ให้เป็นฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยจะเป็นศูนย์รวมระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด ที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมคอนเทนต์ของประเทศไทยสู่เวทีระดับโลก
  • นอกจากเป้าหมายสูงสุดของโครงการ สิ่งที่น่าจับตามองไม่แพ้กันคือเรื่องงานออกแบบที่ว่ากันว่า อาจจะเป็นต้นแบบให้กับวงการออกแบบเลยก็ว่าได้ เพราะได้พันธมิตรระดับประเทศอย่าง A49 บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นนำ และ Snøhetta (สะเนอเฮ็ตต้า) บริษัทสถาปัตยกรรมสัญชาตินอร์เวย์ ที่สร้างผลงานระดับโลกมาแล้วมากมายมาร่วมกันพัฒนาโปรเจกต์

ดูเหมือนว่าข่าวการเปิดตัวโครงการ ‘Cloud 11 (คลาวด์ อีเลฟเว่น)’ ซึ่งเป็น Theme Project ลำดับที่ 2 ของ MQDC หรือ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย จะสร้างความตื่นเต้นให้กับคนในหลากหลายวงการ

 

 

ในแวดวงอสังหาเองต่างรู้ดีว่า MQDC เคยสร้างความสำเร็จในธีมโปรเจกต์แรก เดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Forestias) โครงการอสังหาริมทรัพย์แบบมิกซ์ยูส ด้วยการกวาดรางวัลระดับโลกกว่า 42 รางวัล นั่นทำให้โครงการ Cloud 11 ถูกจับตาอย่างเลี่ยงไม่ได้  

 

Cloud 11 ยังสร้างแรงสั่นสะเทือนไปถึงวงการครีเอเตอร์ไทย เมื่อ MQDC ประกาศชัดเจนว่าจะปั้น Cloud 11 ให้เป็นฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองเชื่อมต่อ Ecosystem ของเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ผลักดันให้ครีเอเตอร์ไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Empowering Creators

 

 

คีรินทร์ ชูธรรมสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ MQDC กล่าวว่า “MQDC ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจรภายใต้แนวคิด ‘For All Well-Being’ ทุกการพัฒนาจึงคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่อาศัย สัตว์ ต้นไม้ และต้องนำเสนอคอนเซปต์ใหม่ๆ เพื่อให้ทันต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมุ่งสร้างไลฟ์สไตล์แบบ Sustainnovation Living ซึ่งเป็นแนวทางการอยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยใช้นวัตกรรมมาขับเคลื่อน จึงเป็นเหตุผลที่ MQDC ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม และลงทุนสำหรับการก่อตั้งและพัฒนาศูนย์วิจัยระดับนานาชาติ เพื่อศึกษาหาความต้องการของผู้คน และนำองค์ความรู้มาพัฒนาโครงการ”  

 

องศา จรรยาประเสริฐ ผู้อำนวยการโครงการ Cloud 11 กล่าวเสริมว่า Cloud 11 เป็นมากกว่าโครงการอสังหาริมทรัพย์มิกซ์ยูส แต่เป็นการสร้าง Innovation Clusters ซึ่งจะช่วยยกระดับพื้นที่ฝั่งสุขุมวิทใต้ให้กลายเป็นย่านสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ของประเทศไทย และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยเทคโนโลยีอย่างแข็งแกร่ง 

 

 

“คอนเทนต์ครีเอเตอร์ไทยมีความสามารถ เราจึงต้องการเพิ่มพลังให้ครีเอเตอร์พร้อมยกระดับผ่าน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ‘Content Creation Ecosystem’ ระบบนิเวศเพื่อการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพียบพร้อมด้วยพื้นที่สตูดิโอ เงินทุนสนับสนุน บุคลากร อุปกรณ์ทันสมัย และเป็นแหล่งรวมผู้เล่นหลายด้านตั้งแต่สตาร์ทอัพไทยไปจนถึงบริษัทด้านคอนเทนต์ระดับโลก องค์ประกอบต่อมาคือ ‘Virtual-Physical Bridge’ เทคโนโลยีเชื่อมโลกจริงกับโลกเสมือน Web3 อย่าง Metaverse ควบคู่กับการนำเทคโนโลยี Blockchain มาช่วยเรื่องลิขสิทธิ์ และการแบ่งรายได้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และองค์ประกอบสุดท้ายคือ ‘Inclusive Progress’ ผ่านการจัดโปรแกรมส่งเสริมศักยภาพให้ครีเอเตอร์รุ่นใหม่ ศิลปินที่ไม่ได้อยู่ในกระแสหลัก รวมถึงผู้ประกอบการขนาดเล็ก ให้สามารถเติบโตได้อย่างเสมอภาค นอกจากนี้โครงการยังให้ความสำคัญกับการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน เป็นเวทีให้ทั้งครีเอเตอร์และผู้คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน รวมไปถึงการสนับสนุนธุรกิจระดับท้องถิ่น”   

 

ซึ่งการจะสร้างฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การแบ่งสัดส่วนที่ดิน 27 ไร่ บนพื้นที่ใช้สอย 254,000 ตารางเมตร เพื่อทำให้ Ecosystem สมบูรณ์แบบ และตอบโจทย์ทุกแง่มุมการใช้ชีวิตของครีเอเตอร์อย่างแท้จริง จึงได้ดึงพันธมิตรบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นนำระดับประเทศอย่าง A49 และ Snøhetta บริษัทสถาปัตยกรรมระดับโลก มาร่วมพัฒนาโปรเจกต์ Cloud 11  

 

 

Snøhetta (สะเนอเฮ็ตต้า) บริษัทสถาปัตยกรรมสัญชาตินอร์เวย์ ที่สร้างผลงานระดับโลกมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด มหาวิทยาลัย ฯลฯ ในหลากหลายประเทศ เช่น Shibuya Upper West Project, Times Square, Lillehammer Art Museum, James B. Hunt Jr. Library Ryerson University, Wolfe Center for the Collaborative Arts เป็นต้น 

 

Mr. Kjetil Thorsen (เคเจติล ทราดาล ธอร์เซ่น) ผู้ก่อตั้ง บริษัท Snøhetta เผยว่า Snøhetta เป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบและวางคอนเซปต์งานออกแบบทั้งหมด หากมองจากมุมสูง Cloud 11 ถูกออกแบบให้เป็น Mixed-use Courtyard Space โดยมีพื้นที่สีเขียวเป็นหัวใจหลักของโครงการ และถูกโอบล้อมด้วย 4 อาคารโดยเชื่อมต่อกันบนฐานอาคาร (Podium) เดียวกัน   

 

 

พื้นที่ใช้สอย 254,000 ตารางเมตร ประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ Ecosystem สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • Creative Office & Studio Space พื้นที่สำนักงานและพื้นที่สตูดิโอที่เปิดทำการ 24 ชั่วโมง พร้อมระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงพิเศษสำหรับการทำงานด้านคอนเทนต์ มีระบบทำความเย็นแบบยืดหยุ่น และลิฟต์ส่วนตัวสำหรับศิลปินดารา นอกจากนั้น ตัวอาคารยังตั้งเป้าว่าจะได้รับมาตรฐาน LEED ด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรฐาน WELL ด้านสุขภาวะและความเป็นอยู่ของผู้ใช้อาคาร และมาตรฐาน WiredScore SmartScore ด้านระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะ 
  • Hybrid Retail พื้นที่ขนาด 5 ชั้น ออกแบบให้เป็นศูนย์การค้าที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ และยังเป็นพื้นที่ที่สามารถต่อยอดธุรกิจของกลุ่มครีเอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแฟชั่นหรือขายสินค้า ที่มาพร้อมบริการสต๊อกสินค้า แพ็กและส่งสินค้า หรือครีเอเตอร์อาหารที่อยากทำธุรกิจร้านอาหารสามารถมาเริ่มต้นที่ Cloud Kitchen โดยยังไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน เปรียบเสมือน Sandbox สำหรับทุกคน นอกจากนี้ยังได้จับมือกับแบรนด์ระดับโลกสร้าง Creator Collaboration โดยการนำผลงานของครีเอเตอร์ไปต่อยอดสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะพิเศษ 
  • Lifestyle Hotel โรงแรม 5 ดาวจากเชนโรงแรมระดับโลกที่มาเปิดครั้งแรกในเมืองไทย ตอบโจทย์กลุ่มนักธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูง และกลุ่มนักลงทุนที่เข้ามาทำงานย่านสุขุมวิท 
  • Smart Hotel โรงแรม 4 ดาวตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่ สตาร์ทอัพ จากเชนโรงแรมระดับโลกที่มาเปิดเป็นครั้งแรกในเมืองไทยเช่นกัน 
  • Education พื้นที่สำหรับสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย พื้นที่บ่มเพาะ เพื่อสร้างบุคลากรด้านการสร้างสรรค์คอนเทนต์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • Cultural ประกอบไปด้วยฮอลล์จัดงานคอนเสิร์ต การแข่งขันอีสปอร์ต โรงละคร Blackbox Theatre สำหรับครีเอเตอร์และศิลปินรุ่นใหม่ โดยอาคารนี้จะอยู่บนชั้น Ground สามารถเข้าถึงได้ง่าย 
  • Public Space สวนลอยฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดให้ครีเอเตอร์ได้มาแสดงศักยภาพ และให้คนในชุมชนได้เข้ามาออกกำลังกาย และพักผ่อนหย่อนใจ

 

“สถาปัตยกรรมไม่ใช่แค่การดีไซน์ แต่คือการลงลึกเพื่อเข้าถึงปัญหา และเปลี่ยนให้กลายเป็นโปรเจกต์ที่สร้างสรรค์ สำหรับผม Cloud 11 เป็นโปรเจกต์ที่เป็นมากกว่าการดีไซน์ แต่สามารถเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของอนาคตได้ เพราะตอบโจทย์ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมี Public Space ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวเป็นจุดเชื่อมต่อ เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ทำให้เห็นว่านี่เป็นพื้นที่สำหรับทุกคน และเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนในสังคม”  

 

 

Mr. Kjetil อธิบายต่อว่า การเชื่อมต่อทุกตึกเข้าด้วยกันบนฐานอาคารเดียวกัน เป็นต้นแบบของการสร้าง Complex Design ที่เป็นหนึ่งเดียว โดยมีพื้นที่สีเขียวตรงกลางเป็นจุดเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน 

 

“Cloud 11 เป็นโปรเจกต์ที่มีสวนลอยฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่ากรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย แม้ว่าพื้นที่สีเขียวของ Cloud 11 จะไม่ได้ทำให้ตัวเลขเพิ่มสูงขึ้น แต่น่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้ และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นต้นแบบที่ดีสำหรับโครงการต่อไปในอนาคต เพราะการมีพื้นที่สีเขียวสำคัญสำหรับอนาคตของโลกเรามากๆ แน่นอนว่าความยั่งยืนจะเป็นกุญแจ และเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับการใช้ชีวิตในเมือง 

 

เราจะสร้างโปรเจกต์นี้ให้ตอบโจทย์สังคมอย่างไร นี่คือคำถามที่ผมคิดตลอดตอนร่วมพัฒนาและวางคอนเซปต์ตึกนี้ จะเห็นว่าบางพื้นที่ของโครงการเราเว้นว่างไว้เพราะมีต้นไม้ และ MQDC กำชับกับเราว่าห้ามตัดต้นไม้แม้แต่ต้นเดียว นำมาสู่การปรับดีไซน์ใหม่ด้วยการยกตึกและเว้นพื้นที่ตรงนั้นให้ว่าง เกิดเป็นส่วนหย่อมในโครงการอีกจุด นั่นแสดงให้เห็นว่าเราสามารถดีไซน์อาคารเพื่อให้เดินทางร่วมไปกับธรรมชาติที่อยู่รอบตัวได้จริง

 

 

Mr. Kjetil ยังบอกด้วยว่า โปรเจกต์นี้ได้วางแนวทางความยั่งยืนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอากาศที่จะเข้ามาในตึก การทำความสะอาดคลองที่อยู่ด้านข้างโครงการ พื้นที่ภายในอาคาร และฟังก์ชันต่างๆ ต้องส่งเสริมให้ครีเอเตอร์สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ รวมไปถึงพื้นที่สีเขียวที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาใช้ได้ คือการคืนกลับให้กับสังคม

 

ต้องการคืนกลับให้กับสังคม 

“เราไม่ได้มองแค่ดีไซน์สวย แต่มองไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคม สิ่งแวดล้อม และชุมชน ต้องทำให้มีแนวทางที่ยั่งยืน การออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดจะต้องตอบแทนสังคมมากที่สุด อย่างตึกนี้นอกจากจะช่วยสนับสนุนชุมชนโดยรอบให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เพราะช่วยดึงคนจากพื้นที่อื่นให้เข้ามา นั่นหมายความว่า ธุรกิจ สังคม และผู้คนในย่านนี้จะได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด โดยเฉพาะเวลาที่เรามีพื้นที่สีเขียว ทำให้คนมาเชื่อมต่อกันได้ ทำให้เห็นว่าตึกนี้เป็นต้นแบบงานดีไซน์ที่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม” 

 

เขายังบอกด้วยว่าโปรเจกต์ดีๆ แบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดพาร์ตเนอร์ที่ดีที่มีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกันอย่าง MQDC และ A49  

 

 

นิธิศ สถาปิตานนท์ กรรมการบริหาร A49 อธิบายเสริมว่า “A49 ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทต่างๆ ของคนในพื้นที่และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ให้กับ Snøhetta ซึ่ง Snøhetta จะดูภาพรวม และ A49 ก็ร่วมกันออกแบบ โดยที่เราจะลงรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบคลอง ที่จอดรถ หรือลงรายละเอียดของแบบ ปรับแบบเพื่อให้เข้ากับบริบทและวัฒนธรรมของคนไทย เพื่อให้ภาพรวมตรงกับความต้องการของ MQDC”   

 

อย่างการดีไซน์ให้ 7 องค์ประกอบภายในโครงการเชื่อมต่อกันได้โดยผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนที่หรือใช้งานอาคารจากฟังก์ชันหนึ่งไปอีกฟังก์ชันได้อย่างไร้รอยต่อ นิธิศบอกว่าเป็นไอเดียที่ตอบโจทย์คนทำงานสายครีเอทีฟอย่างมาก หรือการวางตึกแบบ Courtyard เพื่อต้องการให้พื้นที่สาธารณะเปิดโล่ง มองเห็นท้องฟ้า แต่ยังได้ร่มเงาของตึกในแต่ละช่วงเวลามาช่วยบังแดด ทำให้สามารถใช้ Public Space ได้ตลอดทั้งวัน  

 

 

“จะสังเกตเห็นว่าความกว้างของตึกไม่ได้กว้างเกินไป ทำให้แสงธรรมชาติเข้าถึงทุกส่วนของตึกได้ หรือบริเวณทางเข้าที่มีการเจาะช่อง Void (วอยด์) นอกจากจะช่วยให้ทุกห้องมองเห็นวิวได้ไกลขึ้น หากมองจากรถไฟฟ้าหรือคนที่เดินมาจาก Skywalk จะสามารถมองทะลุเข้าไปยังพื้นที่เปิดโล่ง เห็นพื้นที่สีเขียวที่ยาว 400 เมตรได้”  

 

นิธิศบอกว่ามีรายละเอียดอีกมากที่ทำให้ Cloud 11 โดดเด่นกว่าโครงการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จอดรถที่คำนวณให้เพียงพอต่อการใช้งานจริง หรือการมี Cloud Kitchen รวมถึงการนำระบบ Automatic มาช่วยส่งสินค้าหรืออาหารภายในโครงการ 

 

เมื่อถามนิธิศว่า Cloud 11 จะเป็นต้นแบบให้กับวงการออกแบบได้หรือไม่ นิธิศบอกว่าโครงการที่จะเป็นต้นแบบได้ไม่ได้วัดแค่การดีไซน์ แต่ต้องเป็นโครงการที่สามารถนำเสนอสิ่งดีๆ ให้กับสังคม 

 

“ผมมองว่าสิ่งที่ MQDC มีคือความกล้าหาญและเสียสละ ที่ยอมใช้พื้นที่ขายมาทำเป็น Public Park ที่ใหญ่ขนาดนี้ ซึ่งยังไม่มีผู้พัฒนาอสังหาเจ้าไหนกล้าทำ รวมถึงโปรแกรมต่างๆ ที่จะมาซัพพอร์ตคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ก็ยังไม่มีใครกล้าทำขนาดนี้” 

 

 

องศา เสริมว่าสิ่งที่ MQDC ทำยังเกิดจากความเชื่อขององค์กรร่วมด้วย “ทุกโครงการเราเริ่มต้นด้วยการรีเสิร์ช ลงไปสำรวจพื้นที่จริงว่าคนในชุมชนขาดอะไร ต้องการพื้นที่แบบไหน แล้วพยายามหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ได้ เช่น ย่านสุขุมวิทใต้ไม่มีพื้นที่ออกกำลังกายเลย เรามีที่ดิน 27 ไร่ จะทำเป็นพื้นที่ขายทั้งหมดก็ไม่ตอบโจทย์ การสร้างพื้นที่สีเขียวต่างหากที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชม หรือพื้นที่ริมคลองที่ติดกับโครงการยาว 400 เมตร คิดง่ายๆ ถ้าไม่อยากเห็นก็สร้างรั้วปิด แต่เราพูดคุยปรึกษากับสถาปนิกว่า ทำไมเราไม่โอบกอดมันและทำให้เป็นหน้าบ้านของเรา MQDC จึงช่วยปรับปรุงคลอง รักษาต้นไม้ริมคลองไว้และปรับพื้นที่ให้กลายเป็นถนนคนเดิน ให้คนมาทำกิจกรรมร่วมกันและคนในชุมชนก็สามารถค้าขายได้”

 

“Cloud 11 จะทำให้ทุกคนเห็นว่า เราสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมให้สวยงามได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำลายธรรมชาติ แต่สามารถโอบกอดมัน เป็นหนึ่งเดียวกัน และเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน” Mr. Kjetil ในฐานะที่ปรึกษาและวางคอนเซปต์งานออกแบบกล่าวทิ้งท้าย 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X