×

กลยุทธ์ Climate Change Strategy กับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ

03.09.2021
  • LOADING...
Climate Change Strategy

ซีรีส์…แนวโน้มการลงทุนแบบ Responsible Investment ตอน 4

 

ในการลงทุนแบบที่เรียกว่า Responsible Investment (RI) นักลงทุนหรือผู้จัดการกองทุน (ซึ่งบริหารเงินทุนแทนนักลงทุน) ภายใต้ชื่อ Asset Owners อาจเริ่มต้นจากการไปดูไกด์ไลน์ที่ทาง PRI (Principles for Responsible Investment) กำหนดขึ้น PRI เป็นเครือข่ายระดับนานาชาติของการลงทุนแบบ RI ซึ่งรวมตั้งแต่การคัดเลือก บริหาร ติดตาม ส่งเสริมให้เปิดเผยข้อมูล โดยพิจารณาจากมิติ ESG เป็นหลัก บทความชิ้นนี้จะมุ่งอธิบายกลยุทธ์การลงทุนแบบยั่งยืนในแนวทางเฉพาะที่เรียกว่า Climate Chang Strategy เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการลงทุน แบบ RI ต่อไป

 

ข้อมูลจากเนื้อหา ‘On reducing emissions and developing a Climate Change Strategy’ ของ Cary Krosinsky ใน ‘Sustainable Investing: Revolutions in Theory and Practice’ (2016) สรุปไว้ว่า แนวทางการลงทุนที่คำนึงถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจเริ่มต้นด้วยการกลับไปดูบทความหลัก 2 ชิ้นของ PRI คือ ‘Discussion Paper: Reducing Emissions Across the Portfolio’ (2015) และ ‘Developing an Asset Owner Climate Change Strategy: Pilot Framework’ (2015) และเมื่อรวมกับสิ่งที่ผู้จัดการกองทุนนำมาปฏิบัติกัน สรุปเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ได้ดังนี้

 

1. ปฏิกิริยาจาก Asset Owners 

การใส่ใจเรื่องการเกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งทำให้โลกร้อน เป็นกระแสที่เริ่มทำให้ผู้คนทุกวงการหันมาให้ความสำคัญ ซึ่งรวมทั้งนักลงทุน (Asset Owners) ด้วย นักลงทุนซึ่งมีพลังอำนาจคือเงินทุนในมือ สามารถเลือกไปลงทุนกับธุรกิจที่ดูแลลดปัญหาโลกร้อนเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้โลกนี้ได้มากขึ้น

 

จากข้อมูลในแหล่งต่างๆ ล้วนชี้ให้เห็นว่าปัญหาโลกร้อนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศไม่ได้ลดลงตามเป้าหมายเลย ความห่วงใยนี้ได้ทำให้ PRI หันมาตั้งคำถามว่า นักลงทุนควรมีส่วนร่วมมากขึ้นในการบริหาร Investment Portfolio เพื่อช่วยแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่อย่างไร

 

Asset Owners ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสถาบันอาจต้องคิดเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อให้การลงทุนมีส่วนช่วยลดปัญหาโลกร้อน โดยยึดหลักว่าการที่ต้องสนใจเรื่องนี้เป็น Fiduciary Duty อย่างหนึ่ง ที่เมื่อเอามาดูเวลาลงทุนน่าจะมีส่วนช่วยทำให้โลกนี้ดีขึ้น จึงเป็นบทบาทหนึ่งที่ควรมีในฐานะที่ได้รับความไว้วางใจจากเจ้าของทรัพย์สินให้ทำหน้าที่แทนในการดูแลสินทรัพย์นั้น และการทำหน้าที่นี้ก็ถือว่าช่วยบริหารความเสี่ยงจาก Environmental Risks ซึ่งเป็น 1 ใน ESG Risks ด้วย

 

นักลงทุนควรกำหนดเป้าหมายการลงทุนที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก (Setting on emission reduction goal) ดังนั้น เวลาจะลงทุนจึงต้องนำ Investment Portfolio ไปวิเคราะห์ว่ามีหลักทรัพย์ที่มี Climate Change Risk สูงหรือไม่เพียงใด และนำมาบริหารจัดการให้ความเสี่ยงดังกล่าวมีระดับลดลง

 

นักลงทุนอาจมองไปที่ธุรกิจที่จะลงทุนว่ามีแอ็กชันในการช่วยลดโลกร้อนหรือไม่ เช่น การเปลี่ยนแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานในอาคารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การใช้พลังงานทางเลือกในการผลิตหรือขนส่ง การสนับสนุนให้เกิดการเกษตรและการใช้ดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า นอกจากนี้ ธุรกิจที่ดีจะทำการวางแผนเพื่อทรานส์ฟอร์มธุรกิจตนเองจากการใช้พลังงานฟอสซิลอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งผู้จัดการกองทุนควรได้รับความรู้และข้อมูลในเรื่องนี้ รวมทั้งติดตามในเรื่องนี้ว่าบริษัทเป้าหมายใดที่ทำเรื่องนี้ได้ดี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้าน Climate Change ได้ดีอย่างต่อเนื่อง

 

2. Asset Class

ประเด็นและข้อมูลด้าน Climate Change ของธุรกิจ จะกลายเป็นสิ่งที่ผู้จัดการกองทุนจะนำมาพิจารณามากขึ้นในการลงทุนในหลักทรพย์ประเภทต่างๆ

 

หุ้นสามัญ (Listed Equity)

ผู้จัดการกองทุนจะแสวงหาบริษัทที่ทำเรื่องการลดโลกร้อนได้ดีบนกระบวนการทำธุรกิจของตน (Well positioned for climate change) และเสนอวิธีการรวมทั้งผลงานจริงที่ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำลง (Low carbon or adaptation solutions) ผู้จัดการกองทุนหลายแห่งที่แอ็กทีฟจะถึงขั้นขอสัมภาษณ์หรือให้คะแนนกับบริษัทที่มี Climate Change – related shareholder resolution and dialogue with companies and public policy makers on climate change

 

ตราสารหนี้ (Fixed Income)

ปัจจุบันเริ่มมีตราสารหนี้ประเภท Climate Bonds ออกมามากขึ้น เพื่อแสดงถึงความพยายามระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการที่มี Commitment จะลดปัญหาคาร์บอนให้ต่ำลง โดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมพลังงานและการขนส่ง เพราะความเสี่ยงด้านภูมิอากาศจะถูกวิเคราะห์เพิ่มเติมใน Credit Risk ด้วยในอนาคต จึงคาดว่าเมื่อมีผู้ออก Climate Bonds มากขึ้น จะกลายเป็นกลุ่ม Asset Class ใหม่ของ Bonds ที่มีความลึกมากขึ้นกว่าที่มีอยู่ในตลาดตราสารหนี้แบบเดิม ซึ่งจะสามารถดึงดูดนักลงทุนกลุ่มที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น

 

การลงทุนแบบไพรเวตอิควิตี้ (Private Equity) 

กลุ่มนักลงทุน High Net Worth ที่มาจ้างให้ผู้จัดการกองทุนบริหาร Investment Portfolio ให้อาจจะเกิดเซกเมนต์นักลงทุนกลุ่มนี้ที่สนใจเฉพาะให้เลือกลงทุนในธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนมากขึ้น และขอให้เพิ่มเติมกระบวนการค้นหาหลักทรัพย์ในธุรกิจที่ทำเรื่องนี้ได้ดีมากๆ เท่านั้นให้อยู่ใน Portfolio

 

การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

โดยปกติโครงการที่เป็นโครงการสร้างพื้นฐานมักเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ต้องใช้เงินลงทุนสูง เช่น การสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น โครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ในตอนก่อสร้างหรือในตอนที่ใช้งานแล้วอาจเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานฟอสซิลจำนวนมาก หรือทำให้เกิดฝุ่นละออง มลพิษในอนาคต จะมีการเรียกร้องให้การก่อสร้าง หรือในตอนดำเนินงานต้องดูแลในสิ่งเหล่านี้ รวมไปถึงในตอนระดมทุน อาจนำเสนอให้เห็น Green Process ซึ่งจะจูงใจให้นักลงทุนสนับสนุนได้มากขึ้น

 

การลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ (Property)

การระดมทุนเพื่อก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคารสำนักงาน หรือคอนโดมิเนียม เป็นต้น จะถูกเรียกร้องให้นำมาตรฐานสากล เช่น LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) หรือ BREEAM (Building Research Establishment Environmental Assessment Method) เพื่อส่งเสริมให้มี Green Building มากขึ้นในอนาคต การระดมทุนในวันข้างหน้าของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือที่อยู่อาศัยทั้งระหว่างก่อสร้างและการดูแลหลังการก่อสร้าง จะเป็นเงื่อนไขของนักลงทุนที่ต้องการให้ธุรกิจเหล่านี้ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย

 

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) 

สินค้าประเภท (Commodities) หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและโลหะมีค่า ซึ่งมักถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการผลิตโดยใช้ที่ดินรุกล้ำเขตป่าไม้หรือไม่ หรือกระบวนการผลิตได้ทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนหรือไม่ มิติการจัดหาที่ดิน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน การลดการใช้สารเคมีที่อันตราย จะเป็นคำถามที่นักลงทุนใช้ประกอบการพิจารณาสนับสนุนเงินทุน ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่า ‘Conservation Finance’ จะเป็นกระแสที่มาแรงต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising