เมื่อพูดถึงหุ้นจีน หลายคนมักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘ถูก’ มากแล้ว หลังจากช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนยังคงวนเวียนอยู่ในทิศทางขาลง ดัชนี CSI 300 ที่เคยพุ่งไปสูงสุดถึงประมาณ 5,800 จุด ก่อนจะร่วงลงไปถึงประมาณ 3,000 จุด หรือลดลงไปเกือบ 50%
แม้ในปี 2024 ที่ผ่านมานี้ หุ้นจีนจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ค่อนข้างโดดเด่นกว่า 15% แต่ล่าสุด ดัชนีก็ร่วงกลับไปอยู่จุดเดิมกับเมื่อปลายปีก่อนอีกครั้ง
คำถามสำคัญที่ตามมาคือ แล้วเมื่อไรที่หุ้นจีนจะฟื้นตัวกลับมาเป็นขาขึ้นอย่างแท้จริงอีกครั้ง?
หุ้นจีนถูกสุดในรอบ 10 ปี
ตลาดหุ้นจีนยังคงขาดแรงผลักดันจากความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยความกังวลหลักของนักลงทุนต่อหุ้นจีน ยังคงอยู่ที่ความเปราะบางและการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
แม้รัฐบาลจะมีนโยบายและมาตรการเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมา เช่น การลดอัตราส่วนเงินดาวน์ขั้นต่ำ, การยกเลิกอัตราดอกเบี้ยจำนองขั้นต่ำสำหรับบ้านหลังแรกและหลังที่สอง รวมทั้งการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับรัฐวิสาหกิจท้องถิ่น (SOE) ในการซื้อบ้านเพื่อการพาณิชย์ เพื่อนำกลับมาขายให้ประชาชนในราคาที่จับต้องได้ แต่ภาคอสังหาฯ ของจีนก็ยังซบเซา
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่แสดงสัญญาณอ่อนแอ GDP ไตรมาส 2/2024 ขยายตัวเพียง 4.7% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 5.1% และชะลอตัวต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัว 5.3% เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ไตรมาส
ส่งผลให้ UOB ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนปี 2024 ลง จากเดิมคาดขยายตัว 5.1% เหลือเพียง 4.9% และยังมีปัจจัยกดดันด้านภูมิรัฐศาสตร์ผ่านนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยีและ AI ซึ่งเป็นกลุ่มที่สำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจีน
แม้ว่าการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 3 (Third Plenum) และการประชุมนโยบายเศรษฐกิจ ของคณะกรรมการกรมการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ (Politburo) ในเดือนกรกฎาคม 2024 ที่ผ่านมาจะแสดงถึงเป้าหมายการเติบโตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงเน้นย้ำการส่งเสริมการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากยอดค้าปลีกของจีนในช่วงครึ่งปีแรกนี้ขยายตัวเพียง 3.7% YoY ต่ำกว่าในอดีตช่วงก่อนเกิด COVID-19 ที่เคยเติบโตได้ถึง 8%
แต่ผลการประชุมยังขาดรายละเอียดทั้งด้านการจัดสรรงบประมาณและแผนการกระตุ้นที่ชัดเจน การประชุมที่ตลาดจับตารอนี้จึงยังไม่ส่งผลบวกที่ชัดเจนต่อตลาดหุ้นจีน
แม้จะยังขาดรายละเอียดที่ชัดเจนเพื่อเรียกความเชื่อมั่นครั้งใหญ่ แต่ระหว่างทางที่ผ่านมารัฐบาลจีนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการออกมาตรการสนับสนุนตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยกองทุน National Team ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีน ได้เข้าลงทุนใน CSI300 ETF ถือเป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดจากรัฐบาลโดยตรง
อีกทั้งมีแผนปฏิรูปโครงสร้างตลาดทุน โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การควบคุม ลดความเสี่ยง เสริมคุณภาพและพัฒนาการของตลาดทุน ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมเสถียรภาพ คุณภาพ ยกระดับมูลค่า รวมถึงผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นที่ดีขึ้นในระยะยาวผ่านการซื้อหุ้นคืนและการจ่ายเงินปันผลของหุ้นขนาดใหญ่
จากมาตรการกระตุ้นตลาดทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวนี้เป็นการส่งสัญญาณไปยังนักลงทุนว่า รัฐบาลจีนมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาดและฟื้นฟูความเชื่อมั่น
และหากพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญคือ อัตราส่วนราคาต่อกำไร (PER) จะเห็นว่าตลาดหุ้นจีนในปัจจุบันมีอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค จากระดับมูลค่านี้ทำให้คาดว่าความเสี่ยงขาลงเริ่มอยู่ในระดับที่จำกัด
นอกจากนี้แล้วธนาคารกลางจีนก็ยังกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดดอกเบี้ยด้วย ในเดือนกรกฎาคมมีการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.10% ทั้งดอกเบี้ย reverse repo 7 วัน อยู่ที่ 1.7%, ดอกเบี้ย LPR 1 ปี อยู่ที่ 3.35% ซึ่งเป็นการปรับลดดอกเบี้ยทั้ง 2 ประเภทลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023 และ LPR 5 ปี อยู่ที่ 3.85% เป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ของปีนี้ หลังจากครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ที่ 0.25%
ซึ่งการลดดอกเบี้ยนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสภาพคล่องให้กับตลาด UOB ยังคาดว่า ธนาคารกลางจีนยังมีโอกาสลดดอกเบี้ย LPR 1 ปี เพิ่มเติมได้อีก 0.15% สู่ระดับ 3.20% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ และมีโอกาสลดอัตราส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงได้อีก 0.50% เพื่อเพิ่มสภาพคล่องระยะยาววงเงิน 1 ล้านล้านหยวน เข้าสู่ตลาด
โอกาสที่ซ่อนอยู่ในตลาดหุ้นจีน
แม้ว่าตลาดหุ้นจีนจะมีความเปราะบาง และตัวเลขเศรษฐกิจยังสะท้อนความอ่อนแอ แต่เราเริ่มเห็นการส่งสัญญาณและมาตรการกระตุ้นในหลายภาคส่วนจากรัฐบาลจีน เพื่อแก้ไขปัญหาและเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุน แต่การเน้นย้ำและให้ความสำคัญต่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพสูง จะส่งผลให้มาตรกระตุ้นเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและตรงเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งอาจไม่ได้ส่งผลต่อตลาดในระยะสั้น แต่จะเป็นการสร้างรากฐานและฟื้นฟูในระยะยาว
UOB มีมุมมองที่ดีขึ้นต่อตลาดหุ้นจีน จากด้านมูลค่า (valuation) อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (risk/reward) ที่น่าสนใจ และการสนับสนุนของภาครัฐ แต่ยังให้ความระมัดระวังในการลงทุน สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและมองหาโอกาสการลงทุนในหุ้นจีน
เราแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ barbell โดยจะกระจายการลงทุนใน 2 ส่วนหลัก คือ หุ้นปันผลสูง ซึ่งจะมีโอกาสได้ประโยชน์จากมาตรการลดภาษีของโครงการ Stock Connect สำหรับหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดฮ่องกงและหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง เช่น กลุ่มอินเตอร์เน็ต ที่คาดว่าจะมีเงินทุนไหลเข้าหลังจากมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง หรือกระจายการลงทุนผ่านหุ้นเอเชียที่มีความ active และกระบวนการคัดเลือกหุ้นที่ดี เพื่อที่จะไม่พลาดโอกาสการเติบโตของจีน รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชีย และลดความเสี่ยงในการกระจุกตัวลง
รู้จักกองทุนหุ้นเอเชีย
UOB Privilege Banking ขอแนะนำกองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย (UOBSA) เป็นกองทุนรวมหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน United Asia Fund กองทุนหลักจัดตั้งและบริหารจัดการโดย UOB Asset Management (Singapore) โดยกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรุก (Active Management)
จุดเด่นของ UOBSA คือ การใช้เครื่องมือ AI ในการช่วยคัดกรองหุ้นที่น่าสนใจ เนื่องจากภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคใหญ่ มีหุ้นกว่า 25,000 บริษัท จึงใช้ AI ช่วยคัดกรองในด่านแรกจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ Fundamental, Macro และ Technical ให้เหลือหุ้นเพียง 100 ตัวที่น่าสนใจ หลังจากนั้นนักวิเคราะห์จะทำการวิเคราะห์เชิงลึกต่อเพื่อคัดเลือกหุ้นเหลือเพียง 50 ตัว การทำร่วมกันทั้ง AI และ Analyst จะช่วยเฟ้นหาโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภูมิภาคเอเชีย
ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking
อ้างอิง:
- https://www.uobam.com.sg/insights/rn-china-turned-the-corner.page?path=data/uobam/rn-china-turned-the-corner
- https://www.morningstar.co.uk/uk/news/248625/time-to-look-at-chinese-stocks-again.aspx