×

เดลตาทำเศรษฐกิจจีนสะเทือน ภาคการผลิตส่งสัญญาณชะลอ เกิดวิกฤตขนส่ง

01.09.2021
  • LOADING...
Chinese economy

สถานการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่ผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักเคยคาดการณ์ว่าจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องในปีนี้ เริ่มมีแนวโน้มว่าจะไม่เป็นไปตามคาด หลังหลายพื้นที่ในประเทศจีนต้องหันกลับมาใช้มาตราการล็อกดาวน์หรือจำกัดการเดินทางอย่างเข้มงวดอีกครั้ง เนื่องจากการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาระลอกใหม่

 

โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยรายงานผลการสำรวจกิจกรรมการผลิตในประเทศประจำเดือนสิงหาคม พบว่าลดลงมาอยู่ที่ 50.1 จาก 50.4 ในเดือนกรกฎาคมก่อนหน้า หรืออยู่เหนือระดับ 50 เล็กน้อย ซึ่งแม้จะสามารถยืนอยู่เหนือระดับ 50 คือแสดงการขยายตัวมากกว่าหดตัว กระนั้นตัวเลขดังกล่าวก็ถือเป็นอัตราเติบโตที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตการระบาดของโควิด

 

ขณะเดียวกัน ตัวเลขอุตสาหกรรมบริการของจีนเดือนสิงหาคม กลับแสดงสัญญาณหดตัวอย่างชัดเจน โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนสิงหาคม ลดลงมาอยู่ที่ 47.5 จากระดับ 53.3 ในเดือนกรกฎาคม โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคบริการของจีนหดตัวลงในเดือนสิงหาคม

 

นอกจากนี้มีรายงานว่า ทางการจีนได้เร่งเดินหน้าปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศ ด้วยโครงการนำร่องที่มุ่งกำหนดราคาค่าบริการด้านสุขภาพของสถาบันการแพทย์และโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศจีน เพื่อควบคุมต้นทุนการบริการรักษาของผู้บริโภคชาวจีน พร้อมรับรองคุณภาพการให้บริการควบคู่ไปกับการรักษาประโยชน์ของฝ่ายทีมแพทย์พยาบาลผู้ให้บริการ

 

สื่อท้องถิ่นของทางการจีนรายงานว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางสถานะของกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยค่ารักษาพยาบาลของชาวจีน กำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับอัตราการเกิดภายในประเทศที่ลดต่ำลง กระตุ้นให้ต้องมีการปฏิรูปบริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ตัวเลขที่ลดลงแสดงให้เห็นว่า ภาคธุรกิจจีนได้รับแรงกดดันจากการที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด ซึ่งแม้จะประสบความสำเร็จในการสกัดกั้นการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว เห็นได้จากการที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันแล้ว แต่การประกาศใช้มาตรการเข้มงวดทั้งการระดมตรวจหาเชื้อให้กับประชาชนหลายล้านคนทั่วประเทศ และการคุมเข้มจำกัดการเดินทางที่หมายรวมถึงการปิดท่าเรือสำคัญ ทำให้ต้นทุนและราคาวัตถุดิบแพงขึ้นจนมีแนวโน้มกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน

 

วันเดียวกัน มีรายงานว่า ทางการจีนเตรียมเดินหน้าปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศด้วยโครงการนำร่องที่มุ่งกำหนดราคามาตรฐานของบริการจากสถาบันการแพทย์หรือโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ หวังช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคไปพร้อมๆ กับการยกระดับคุณภาพการให้บริการ และรักษาแรงจูงใจของบุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้บริการ

 

โดยความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่กองทุนประกันสังคมของจีน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยออกค่ารักษาพยาบาลให้กับชาวจีน กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากการเติบโตของประชากรสูงอายุที่สวนทางกับอัตราการเกิด ทำให้ทางการจีนจำเป็นต้องหารูปแบบการให้บริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพและคุ้มค่า

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหรือข้อบกพร่องของบริการสุขภาพก็คือกลไกในการกำหนดราคามาตรฐานสำหรับบริการทางการแพทย์ ทำให้เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาคหรือพื้นที่ต่างๆ รวมถึงขาดการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการแพทย์ในการกำหนดราคา

 

ดังนั้นทางการจีน รวมถึงสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งชาติจีน (National Healthcare Security Administration: NHSA) และคณะกรรมาธิการสุขภาพแห่งชาติจีน (National Health Commission: NHC) ได้ออกแนวทางสำหรับโครงการนำร่อง ซึ่งจะควบคุมการปรับราคาของสถาบันการแพทย์ของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนสามารถกำหนดราคาโดยอิงกับราคาตลาดทั่วไป กระนั้นจีนจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับกฎระเบียบและกรอบการดำเนินการที่จำเป็น เช่น การตรวจสอบราคา การเรียกโรงพยาบาลมาพูดคุย และการเปิดเผยราคาต่อสาธารณะ

 

ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมา ทางการจีนสามารถประหยัดงบประมาณได้ปีละหลายพันล้านหยวนหลังนำโครงการประมูลระดับชาติมาใช้ เนื่องจากทำให้บริษัทผู้ผลิตยาเกิดการแข่งขันด้านราคาเพื่อขายผลิตภัณฑ์ยาในราคาที่สมเหตุสมผลจำนวนมากให้กับทางโรงพยาบาลของรัฐ ช่วยให้มีทุนเพิ่มสำหรับบริการด้านสุขภาพบางอย่างได้

 

ขณะเดียวกัน ท่ามกลางรายงานข่าวการเดินหน้าตรวจสอบแหล่งรายได้และการเสียภาษีของบรรดาดารานักแสดงชื่อดังของวงการบันเทิงจีน คณะกรรมการตรวจสอบวินัยส่วนกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือ Central Commission for Discipline Inspection (CCDI) ได้ตีพิมพ์บทความเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ CCDI ระบุว่า วัฒนธรรมแฟนคลับที่ขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็วตามอุตสาหกรรมบันเทิง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขับเคลื่อนและผลักดันของนักลงทุนเอกชนที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ โกยรายได้เข้ากระเป๋าเป็นหลัก

 

ทั้งนี้ เจียง หยู (Jiang Yu) นักวิจัยของศูนย์วิจัยพัฒนาแห่งสภา เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมบันเทิงของจีนมีมูลค่ามหาศาล โดยในปี 2019 อุตสาหกรรมดังกล่าวมีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงถึง 4.44 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 4.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วก็คือการอาศัยกระแสความนิยมของแฟนคลับเป็นตัวผลักดัน ดังนั้นนักแสดงบางราย แม้ฝีมือการแสดงมีไม่มาก ผลงานยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่กลับสามารถมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เพราะข่าวซุบซิบต่างๆ โดยที่ข่าวเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นความจงใจของบรรดานายทุนที่ต้องการสร้างกระแสเพื่อโกยกำไร

 

ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตของอุตสาหกรรมบันเทิงและวัฒนธรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งยังมุ่งเน้นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากเกินไป ทำให้เงินทุน เหล่าไอดอล และแฟนดอม หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า ฟานฉวน (Fanquan) ซึ่งหมายถึงกลุ่มแฟนคลับของดารานักแสดง กลายเป็นเครือข่ายห่วงโซ่กำไรเต็มรูปแบบที่รับใช้ระบบทุนเพื่อสร้างผลกำไร

 

การกระทำดังกล่าวไม่เพียงทำให้เกิดความกังขาต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบุคลากรในแวดวงบันเทิงจีนเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ทางกฎหมายของจีน รวมถึงความจำเป็นในการเดินหน้าปฏิรูปอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างจริงจัง


อ้างอิง: 

 


 

เตรียมพบกับฟอรัมที่ผู้บริหารต้องดูก่อนวางแผนกลยุทธ์ปีหน้า! The Secret Sauce Strategy Forum คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตปี 2022


📌
เฟรมเวิร์กกลยุทธ์ใช้ได้จริง
📌
ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทยโลก
📌
เทรนด์ผู้บริโภคการตลาด
📌
เคสจริงจากผู้บริหาร

 

ซื้อบัตรได้แล้วที่ www.zipeventapp.com/e/the-secret-sauce

 

#TheSecretSauceStrategyForum2022

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X