×

จีนส่งสัญญาณตั้งผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ สะท้อนจุดยืนมุ่งสร้างความต่อเนื่องของนโยบายมากกว่าเปลี่ยนแปลง

03.07.2023
  • LOADING...
ผู้ว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) คนใหม่

การตัดสินใจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ในการแต่งตั้ง Pan Gongsheng รองผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) คนใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (1 กรกฎาคม) ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่นักวิเคราะห์หลายสำนักเห็นตรงกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามในการผลักดัน Pan ให้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ PBOC ต่อจาก อี้กัง ผู้ว่าการ PBOC คนปัจจุบัน

 

โดย PBOC ระบุในแถลงการณ์บนเว็บไซต์ว่าสำนักงานองค์การกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ประกาศการตัดสินใจดังกล่าวที่การประชุมเมื่อช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ผ่านมา

 

ด้านเว็บไซต์ข่าว Bloomberg ประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังส่งสัญญาณอย่างเป็นทางการว่า ผู้กำหนดนโยบายจะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในขณะนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกกำลังดิ้นรนเพื่อฟื้นฟูโมเมนตัมทางเศรษฐกิจ

 

Christopher Beddor รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของจีนที่ Gavekal Dragonomics ชี้ว่า ผู้นำจีนให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องของนโยบายมากกว่าการเปลี่ยนแปลง โดย Pan วัย 59 ปี ได้รับการยอมรับอย่างดีจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ อดีตเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์จีน และผลงานวิจัยใน Harvard และ Cambridge ทำให้หลายฝ่ายวางใจให้ Pan ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนให้พ้นจากภาวะตกต่ำหลังโควิด

 

ถึงกระนั้นนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งชี้ว่า ตำแหน่งในพรรคคอมมิวนิสต์ที่ไม่ค่อยแข็งแกร่งของ Pan โดย Adam Wolfe นักเศรษฐศาสตร์ตลาดเกิดใหม่ที่ Absolute Strategy Research อิทธิพลที่อ่อนแอในพรรคคอมมิวนิสต์อาจส่งผลต่ออิทธิพลในการขับเคลื่อน PBOC ที่น้อยลงตามไปด้วย

 

ด้าน Tom Orlik หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg Economics มองว่า หากพิจารณาจากบริบทแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสถานะภายในพรรคของ Pan โครงสร้างหนี้ที่สูงขึ้น และกำลังการผลิตที่ล้นเกิน ซึ่งจำกัดความสามารถในการขับเคลื่อนของ PBOC บวกกับการที่จะต้องได้รับฉันทามติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญ หมายความว่าการกำหนดตัวผู้ว่าแบงก์ชาติจีนคนใหม่ครั้งนี้ไม่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายทันทีแต่อย่างใด แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าจีนจะยังคงความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายทางการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

ทั้งนี้ PBOC ไม่ใช่องค์กรที่สามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ ต่างจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยการเปลี่ยนแปลงตัดสินใจในเชิงนโยบายใดๆ เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือการจัดการสกุลเงิน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาแห่งรัฐที่นำโดยนายกรัฐมนตรีหลี่เฉียง

 

Hui Feng อาจารย์อาวุโสมหาวิทยาลัย Griffith University ในออสเตรเลีย กล่าวว่า ธนาคารกลางจีนมีโอกาสน้อยที่จะมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจมหภาคภายใต้วาระที่สามของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง โดย PBOC มีแนวโน้มจะกลายเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคมากกว่า

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X