×

จีนมั่นใจการค้า ‘ทุบสถิติ’ สูงสุดในไตรมาส 4 สะท้อนเศรษฐกิจแข็งแกร่ง แม้สหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย

11.10.2022
  • LOADING...
จีน

จีนมั่นใจมูลค่าการค้าทุบสถิติสูงสุดในไตรมาส 4 ปีนี้ สะท้อนภาพเศรษฐกิจแข็งแกร่งและเติบโตต่อเนื่อง แม้สหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย พร้อมเผยตัวเลขการค้าต่างประเทศ 8 เดือนแรกปีนี้ เพิ่ม 10.1% มูลค่าแตะ 27.3 ล้านล้านหยวน 

 

Global Times รายงานว่า แม้นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มภาวะถดถอย แต่ทางการจีนเชื่อมั่นว่าการค้าต่างประเทศของจีนจะยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ทางการจีนประเมินว่า การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อาจช่วยกระตุ้นการส่งออกของจีนได้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งของสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินหยวนของจีน ส่งผลให้การส่งออกของจีนแข็งแกร่งขึ้น ในขณะเดียวกัน เชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าของจีนมากนัก เนื่องจากการนำเข้าของจีนส่วนใหญ่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์และวัตถุดิบ

 

รายงานระบุว่า การค้าต่างประเทศของจีนแตะระดับ 27.3 ล้านล้านหยวน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2022 เพิ่มขึ้น 10.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนการค้าต่างประเทศของจีนในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 3.71 ล้านล้านหยวน อัตราการเติบโตในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 7.9% ต่ำกว่าเดือนกรกฎาคม ซึ่งอยู่ในช่วงปกติ และส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุ 3 ประการ

 

  1. โรงงานมักไม่ส่งคำสั่งซื้อในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ส่งผลให้อุปสงค์ลดลง 
  2. นับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน โรงงานในยุโรปหลายแห่ง รวมทั้งโรงงานในเยอรมนี ฝรั่งเศส และออสเตรีย ถูกปิดตัวลงเนื่องจากการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ส่งผลให้อุปสงค์ลดลง 
  3. เศรษฐกิจยุโรปโดยรวมทำได้ไม่ดีในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ส่งผลให้อุปสงค์การผลิตลดลง

 

อย่างไรก็ตาม ทางการจีนไม่รู้สึกกังวลแต่อย่างใด เนื่องจากในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเป็นช่วงวันหยุดคริสต์มาส ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการสั่งซื้อในเดือนกันยายน ก่อนที่สินค้าจะถูกส่งในเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน และเข้าสู่ตลาดในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการค้าต่างประเทศ

 

ทั้งนี้ โดยปกติแล้วการค้าของจีนจะเติบโตถึงเลขสองหลักในไตรมาสที่ 4 ซึ่งปีนี้คาดว่ามูลค่าการค้าต่างประเทศจะทำสถิติสูงสุดรอบใหม่ เนื่องจาก 1. จีนสามารถจัดหาสินค้าราคาประหยัดให้แก่สหรัฐฯ ได้ โดยจีนเป็นประเทศเดียวที่สามารถตอบสนองความต้องการเร่งด่วน และการส่งมอบที่สมบูรณ์ 

 

  1. แม้ว่าเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะซบเซา แต่การใช้จ่ายกับสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันยังคงแข็งแกร่ง และ 3. สินค้าจีน ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพหรือราคา ได้รับการยอมรับทั่วโลก 

 

“ในปัจจุบันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังชะลอตัว และความต้องการของตลาดที่พัฒนาแล้วก็อ่อนแอตามไปด้วย จึงมีความเห็นในตลาดว่าอาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลการค้าส่งออกของจีนในไตรมาสที่ 4 แต่หลายฝ่ายมองว่าในทางกลับกัน สถานการณ์โลกในปัจจุบันทำให้โลกต้องการสินค้าจากจีนมากขึ้นเช่นกัน

 

ขณะเดียวกัน ทางด้านสำนักงาน State Administration for Market Regulation (SAMR) เปิดเผยว่า จำนวนบริษัทในจีนเพิ่มขึ้นจากมากกว่า 13 ล้านแห่ง มาอยู่ที่มากกว่า 51 ล้านแห่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนบริษัทในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปรวมกัน

 

รายงานระบุว่า จำนวนผู้เล่นในตลาดทั้งหมดในประเทศจีนเพิ่มขึ้น 100 ล้านคน นับตั้งแต่การประชุมระดับชาติครั้งที่ 18 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2555 ซึ่งเป็นความก้าวหน้าครั้งประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางการตลาดที่กว้างใหญ่ของจีน

 

ทั้งนี้ ตัวเลข ณ ช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม 2022 ยอดจดทะเบียนการค้าของผู้ประกอบการมีถึง 163 ล้านคน เทียบกับ 55 ล้านคน ณ สิ้นปี 2012 ซึ่งเพิ่มขึ้นสุทธิกว่า 100 ล้านคน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 12%

 

นอกจากนี้ ครัวเรือนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจาก 40.6 ล้านคน เป็น 109 ล้านคน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์

 

ด้านจำนวนวิสาหกิจเอกชนในจีนเพิ่มขึ้นจากมากกว่า 10 ล้านแห่ง จากช่วงสิ้นปี 2012 ขึ้นมาอยู่ที่มากกว่า 47 ล้านแห่ง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2022 และสัดส่วนของวิสาหกิจเอกชนเพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 80% เป็นมากกว่า 90%

 

ขณะเดียวกัน ความแข็งแกร่งโดยรวมขององค์กรเอกชนได้รับการปรับปรุงอย่างมากเช่นกัน และองค์กรเอกชนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอยู่ในรายชื่อ Fortune 500

 

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศจีนยังคงเนื้อหอมสำหรับการลงทุนระหว่างประเทศ โดยจำนวนวิสาหกิจที่ต่างชาติลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 441,00 แห่ง เป็น 668,000 แห่ง  หรือมากกว่า  50%

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising