×

จีนเตรียมใช้บล็อกเชนมาช่วยในการระบุตัวตนประชากรกว่า 1.4 พันล้านคน

13.12.2023
  • LOADING...

กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีนกำลังเป็นผู้นำโครงการริเริ่มที่เรียกว่า ‘RealDID’ เพื่อนำระบบการระบุตัวตนแบบกระจายอำนาจระดับชาติมาใช้แห่งแรกของโลก ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถตรวจสอบตัวตนของพลเมืองจีนกว่า 1.4 พันล้านคนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

 

จีนเตรียมใช้ระบบยืนยันตัวตนประชาชนด้วยแพลตฟอร์มที่ใช้บล็อกเชน

 

รายงานของ Business Insider เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา เผยว่า รัฐบาลจีนเตรียมนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการตรวจสอบตัวตนของประชากรที่มีจำนวนมหาศาลในประเทศ ซึ่งปัจจุบันจีนมีประชากรประมาณ 1.4 พันล้านคน โดยโครงการ RealDID ร่วมมือกับ Blockchain-Based Service Network (BSN) โดย BSN China ดำเนินการโดยศูนย์ข้อมูลแห่งชาติของจีน และร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง China Mobile และ China UnionPay ในขณะเดียวกัน BSN Global ดำเนินงานในฐานะหน่วยงานแยกต่างหากที่ดูแลการดำเนินงานระหว่างประเทศ พร้อมด้วยมาตรการรักษาความปลอดภัยของตนเอง

 

การเปิดตัวบริการ RealDID จะทำให้ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนและเข้าสู่เว็บไซต์โดยไม่เปิดเผยตัวตน โดยใช้เพียงที่อยู่แบบกระจายอำนาจ (DID) และคีย์ส่วนตัว ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลทางธุรกิจและธุรกรรมต่างๆ ยังคงแยกออกจากข้อมูลส่วนบุคคล โดยลดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการยืนยันตัวตน ซึ่งการนำ RealDID ไปใช้คาดว่าจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และช่วยให้มีการกำกับดูแลเนื้อหาออนไลน์โดยสาธารณะมากขึ้น 

 

บริษัทจีนเข้าสู่ Web3 แม้ว่าประเทศจะแบนคริปโตก็ตาม

 

นอกจากนี้ ยังมีกระแสเกี่ยวกับการใช้ Web3 ในจีนที่เพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุด Tencent และ Huawei สองยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีน กำลังเข้าสู่พื้นที่ Web3 แม้ว่าจะมีกฎระเบียบที่เข้มงวดของประเทศจีนเกี่ยวกับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลก็ตาม แม้ว่าการมีส่วนร่วมของบริษัทเหล่านี้อยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของ Web2 และ Web3 เนื่องจากนโยบายแบนสกุลเงินดิจิทัลของจีน แต่บริษัทเหล่านี้กำลังใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของตนเพื่อรองรับสตาร์ทอัพ Web3 คล้ายกับการให้บริการคลาวด์ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำหลายแห่ง

 

การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงและความผันผวนสูงมาก นักลงทุนจึงควรกระจายความเสี่ยง ศึกษาหาข้อมูล และวางแผนในการลงทุนด้วยความรอบคอบ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X