สำนักข่าว Nikkei รายงานว่า จีนกำลังพิจารณาสั่งห้ามหรือจำกัดการส่งออกแม่เหล็กประสิทธิภาพสูงที่มีส่วนประกอบของแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งถูกใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปยังต่างประเทศ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่จำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงของจีนในสงครามเทคโนโลยีระหว่างทั้งสองชาติมหาอำนาจ
ทั้งนี้ นอกจากการสั่งห้ามหรือจำกัดการส่งออกแม่เหล็กที่ผลิตจากแร่แรร์เอิร์ธแล้ว กระทรวงพาณิชย์และเทคโนโลยีของจีนยังมีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอื่นๆ อีก 42 รายการ ซึ่งคาดว่าทั้งหมดจะมีผลบังคับใช้ในปีนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- หุ้นเหมืองขุดแรร์เอิร์ธดิ่งหนัก หลัง Tesla ออกมาประกาศว่าจะยุติใช้แร่ชนิดนี้ในการผลิตรถ EV โมเดลใหม่
- Tesla หาพันธมิตรในไทย เป็นเจ้าของสถานีชาร์จ ฟากฝั่ง BYD ไม่รอช้า ลุยติดตั้ง EV Charger ให้ลูกค้ารถ BYD ถึงบ้าน
- Tesla ลดราคา (อีกแล้ว) ในเกาหลีใต้ เฉลี่ย 9.4 หมื่นบาท – 3.4 แสนบาท ส่วนไทย (น่าจะ) เป็นไปได้ยาก
ย้อนกลับไปในปี 2010 จีนได้เคยสั่งระงับการส่งออกแร่แรร์เอิร์ธไปยังญี่ปุ่นเพื่อตอบโต้กรณีเกิดข้อพิพาทบนเกาะเตียวหยูหรือเซนกากุระหว่างทั้งสองประเทศมาแล้ว
ปัจจุบันแร่แรร์เอิร์ธถือเป็นแร่หายากและมีมูลค่าสูง เนื่องจากเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด เช่น สมาร์ทโฟน, รถ EV และยุทโธปกรณ์ทางการทหาร โดยมีเพียงไม่กี่ประเทศบนโลกที่มีแหล่งแร่ชนิดนี้ ซึ่งจีนถือเป็นหนึ่งในนั้นและยังเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ทำให้ในช่วงที่ผ่านมามีหลายครั้งที่จีนพยายามเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับชาติตะวันตกด้วยการข่มขู่ว่าจะจำกัดการส่งออกแร่ชนิดนี้
ที่ผ่านมาสหรัฐฯ พยายามแก้สถานการณ์ด้วยการเบนไปหาแหล่งผลิตแร่แรร์เอิร์ธอื่นๆ รวมถึงผลิตเองบนแผ่นดินอเมริกา จนทำให้ส่วนแบ่งการผลิตแร่แรร์เอิร์ธของจีนในโลกปรับลดลงมาเหลือ 70% จากที่เคยสูงถึง 90% อย่างไรก็ดี แร่แรร์เอิร์ธที่ได้จากแหล่งอื่นๆ ก็ยังมีความจำเป็นต้องถูกส่งไปแปรรูปที่จีนอยู่ดี
แหล่งข่าวรายหนึ่งของ Nikkei ประเมินว่า จีนจงใจจะใช้การระงับการส่งออกแร่แรร์เอิร์ธเพื่อต่อรองกับการเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตชิปขั้นสูงของชาติตะวันตก สถานการณ์ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นนี้กำลังเป็นที่จับตาของหลายฝ่ายว่าจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตโลกมากน้อยเพียงใด
อ้างอิง: