×

วิเคราะห์ความต๊าชชช! หลังสรยุทธคัมแบ็กและกลยุทธ์ละครใหม่พลิกทำกำไรให้ช่อง 3

08.09.2021
  • LOADING...
ช่อง 3

HIGHLIGHTS

3 mins. read
  • ต้องยอมรับว่าการกลับมาของสรยุทธทำให้เนื้อหาข่าวมีความน่าสนใจ จนกลุ่มแฟนคลับที่เคยเปิดผ่านเริ่มกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง เสริมทัพด้วยรายการข่าวที่โดดเด่นอยู่แล้ว เช่น โหนกระแส ที่มียอดโฆษณา 100% มาตลอด รวมถึงรายการอื่นๆ ใน ครอบครัวข่าว ก็มีทิศทางที่ดีขึ้นด้วย 
  • ส่วนยูนิคอร์นที่เคยถูกมองข้ามไปอย่างคอนเทนต์ละครเย็นก็ทำเรตติ้งแซงหน้าละครค่ำไปเรียบร้อย หลายๆ เรื่องทำเรตติ้งได้ในระดับกู้หน้ากู้ตาสถานีได้ เช่น สะใภ้เจ้าสัว มีเรตติ้งรวมอยู่ที่ 4.87 ส่วนตอนจบอยู่ที่ 7.2 (เป็นรองก็แค่ วันทอง ของช่อง one31 เรตติ้ง 7.9) แม่ครัวคนใหม่ 5.7 และ แก่นแก้ว 5.3 ฯลฯ ซึ่งช่วยดึงเม็ดเงินโฆษณาได้เป็นอย่างดี 
  • ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่า นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ในการวางตำแหน่งละครแต่ละช่วงสำหรับการสร้างรายได้ที่แตกต่างกัน อย่างละครเย็นก็เน้นไปที่ละครเบาสมอง กรุ่นกลิ่นท้องทุ่ง จับกลุ่มคนที่ยังชมทีวี
  • ในขณะที่ละครค่ำตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีหลากหลายแนวทาง เหมือนทดลองให้โดนใจคนรุ่นใหม่ และไม่ได้แคร์แค่คนรุ่นเก่าที่ชมผ่านทางทีวี แต่หวังให้เตะตาคนในแพลตฟอร์มออนไลน์ 

คุ้มค่าการรอคอยสำหรับการกลับมาของกรรมกรข่าว สรยุทธ สุทัศนะจินดา เมื่อตัวเลขรายได้และผลกำไรของกลุ่ม BEC หรือช่อง 3 ในไตรมาส 2 ของปี 2564 พุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด มีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 162% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แน่นอนว่าสรยุทธมีส่วนสำคัญ แต่เบื้องหลังตัวเลขแสนเซอร์ไพรส์มีความน่าสนใจอื่นๆ ซ่อนอยู่

 

รายได้หลักๆ ของช่อง 3 ยังคงมาจากการขายโฆษณาคิดเป็น 81.2% ของรายได้ทั้งหมด เป็นเงินราวๆ 1,222.3 ล้านบาท (รายได้รวมทั้งหมดอยู่ที่ 1,504.7 ล้านบาท) จากอานิสงส์การปรับปรุงคอนเทนต์ทั้งรายการข่าวและละคร รวมถึงมีการเพิ่มเวลาออกอากาศรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ อีก 25 นาที ทำให้มีเวลาในการขายโฆษณามากขึ้น อีกทั้งเมื่อสรยุทธกลับมา ยังขายโฆษณาได้เพิ่มขึ้นเป็น 75% 

 

สรยุทธ สุทัศนะจินดา 

 

กรรชัย กำเนิดพลอย พิธีกรรายการ โหนกระแส 

 

ส่วน เรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ก็ขายโฆษณาได้มากขึ้นจากไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 75% เป็น 95% ซึ่งก็ต้องยอมรับการว่า การกลับมาของสรยุทธทำให้เนื้อหาข่าวมีความน่าสนใจ จนกลุ่มแฟนคลับที่เคยเปิดผ่านเริ่มกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง เสริมทัพด้วยรายการข่าวที่โดดเด่นอยู่แล้ว เช่น โหนกระแส ที่มียอดโฆษณา 100% มาตลอด รวมถึงรายการอื่นๆ ในครอบครัวข่าวก็มีทิศทางที่ดีขึ้นด้วย 

 

ส่วนยูนิคอร์นที่เคยถูกมองข้ามไปอย่างคอนเทนต์ละครเย็นก็ทำเรตติ้งแซงหน้าละครค่ำไปเรียบร้อย หลายๆ เรื่องทำเรตติ้งได้ในระดับกู้หน้ากู้ตาสถานีได้ เช่น สะใภ้เจ้าสัว มีเรตติ้งรวมอยู่ที่ 4.87 ส่วนตอนจบอยู่ที่ 7.2 (เป็นรองก็แค่ วันทอง ของช่อง one31 เรตติ้ง 7.9) แม่ครัวคนใหม่ 5.7 และ แก่นแก้ว 5.3 ฯลฯ ซึ่งช่วยดึงเม็ดเงินโฆษณาได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ถ้าลองวัดกันที่เรตติ้งแล้ว ละครค่ำของช่องก็ยังอยู่ในภาวะลุ่มๆ ดอนๆ ยังไม่มีเรื่องไหนได้รับเมกะฮิตเลย 

 

ภาพจากละครเรื่อง Dare To Love ให้รักพิพากษา

 

ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่า นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ในการวางตำแหน่งละครแต่ละช่วงสำหรับการสร้างรายได้ที่แตกต่างกัน อย่างละครเย็นก็เน้นไปที่ละครเบาสมอง กรุ่นกลิ่นท้องทุ่ง จับกลุ่มคนที่ยังชมทีวี ในขณะที่ละครค่ำตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีหลากหลายแนวทาง เหมือนทดลองให้โดนใจคนรุ่นใหม่ และไม่ได้แคร์แค่คนรุ่นเก่าที่ชมผ่านทางทีวี แต่หวังให้เตะตาคนในแพลตฟอร์มออนไลน์ 

 

ถ้าลองสังเกตดู ละครคำ่ของช่อง แม้เรตติ้งอาจจะไม่สวย แต่ยอดชมทางออนไลน์ก็ถือว่าไม่น้อยหน้าใครเหมือนกัน อย่างเช่น ให้รักพิพากษา ที่เพิ่งจบไป มีเรตติ้งอยู่ราวๆ 3.2 แต่มียอดชมผ่านทางแอปพลิเคชัน CH3 Plus สูงถึง 67 ล้านวิว และขึ้นอันดับ 1 แบบเรียลไทม์ใน Netflix อยู่บ่อยๆ นอกจากเรื่องนี้แล้วยังจะมีละครอีก 5 เรื่องที่ Simulcast กับ Netflix เช่น ดวงตาที่สาม, พิศวาสฆาตเกมส์, Help Me คุณผีช่วยด้วย, เกมล่าทรชน และ คุณหมีปาฏิหาริย์ โดยจะทยอยออกอากาศหลังจากนี้ 

 

ภาพจากละครเรื่อง สะใภ้เจ้าสัว

 

และที่น่าตื่นเต้นอีกอย่างก็คือ การเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ซีรีส์เรื่อง Doctor Foster จากทาง BBC อังกฤษ หรือ A World of Married Couple เวอร์ชันเกาหลี มารีเมกเป็นละครไทย โดยก่อนหน้านี้ในปี 2020 ซื้อลิขสิทธิ์ละครตุรกีมาทำเป็นละครเรื่อง บาปอยุติธรรม ซึ่งแม้จะออกมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็เป็นก้าวใหม่ที่สร้างความหลากหลายให้กับแวดวงละครเหมือนกัน

 

ภาพจากละครเรื่อง สะใภ้เจ้าสัว

 

อีกหนึ่งช่องทางที่เป็นเหมือนอนาคตของช่องก็คือ แอปพลิเคชัน CH3 Plus แพลตฟอร์มที่มีคอนเทนต์ของช่อง 3 ให้ดูฟรี และเพิ่งเปิดตัว CH3 Plus Premium ที่เน้นขาย Exclusive Content ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตรงนี้เป็นการนำจุดแข็งเรื่องนักแสดงในสังกัดมาสร้างรายได้ ขยายกลุ่มแฟนๆ และเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังเข้าถึงผู้ชมในเมืองและตามหัวเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของทางช่องได้อีกด้วย ปัจจุบัน CH3 Plus และการขายลิขสิทธิ์ละครไปยังต่างประเทศคิดเป็น 20% ของรายได้ โดยตั้งใจให้สร้างรายได้เป็น 1ใน 3 ของทั้งหมดในอนาคต 

 

ถึงแม้ทุกอย่างจะดูไปได้สวย แต่อย่าลืมว่าการพลิกมาทำกำไรในครั้งนี้ของช่อง 3 ก็เกิดจากการลดต้นทุน ทั้งการปรับลดพนักงานและการนำละครเก่ามารีรัน รวมทั้งการได้เวลาโฆษณารายการ เรื่องเล่าเช้านี้ คืนจาก BEC Tero ที่ถอนการลงทุนออกไป อย่างไรก็ดี นี่เป็นข้อพิสูจน์แรกว่า การปรับองค์กรครั้งใหญ่จากสถานีโทรทัศน์ให้กลายเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ สร้างรายได้จากหลายแพลตฟอร์ม ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจในยุคดิสรัปชันเหมือนกัน  

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising