×

สัญญาณ Central Banks Pivot เริ่มชัด ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ควรลงทุนอย่างไร?

15.01.2024
  • LOADING...
Central Banks Pivot

บรรดานักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างฟันธงว่า ปี 2024 จะเป็นจุดกลับของนโยบายการเงิน (Pivot) กล่าวคือ หลังจากธนาคารกลางทั่วโลกเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2022-2023) ในปีนี้ ธนาคารกลางหลายแห่งน่าจะเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ค่อยๆ สงบลง

 

โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็ส่งสัญญาณในรายงานการประชุม (Minutes) เดือนธันวาคม 2023 ว่า จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้

 

ส่วนธนาคารกลางอื่นๆ เช่น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แม้ยังไม่ส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่นักเศรษฐศาสตร์บางสำนักก็คาดการณ์ว่า การปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกของรอบนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจริงในเดือนมิถุนายน เช่นเดียวกับธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่ตลาดก็กำลังเดิมพันว่าจะปรับลดดอกเบี้ยในเดือนเดียวกัน

 

แนวโน้มเหล่านี้คาดว่าจะส่งผลดีต่อตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากมูลค่าของตราสารหนี้มักจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำลง มูลค่าของตราสารหนี้จะสูงขึ้น และในทางตรงกันข้าม เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น มูลค่าของตราสารหนี้จะลดลง

 

แม้มีสัญญาณ Pivot แต่เศรษฐกิจโลกก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง

ปี 2024 เป็นอีกปีที่สถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์น่าจะยังร้อนระอุ เนื่องจากสถานการณ์ในยูเครน อิสราเอล และทะเลแดง ยังไม่ทันคลี่คลาย กว่า 40 ประเทศทั่วโลกก็เตรียมเปิดคูหาเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ รวมไปถึงไต้หวัน สหรัฐอเมริกา อินเดีย และรัสเซีย 

 

นอกจากนี้ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Global Recession) ก็ยังไม่หมดไป โดยจะเห็นได้ว่า หลายประเทศปีนี้น่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า รวมไปถึงสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น โดยความเสี่ยงเหล่านี้ย่อมหนุนให้นักลงทุนวิ่งไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยต่างๆ รวมไปถึง ‘ทองคำ’ และ ‘เงินฝาก’ ของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ 

 

UOB Privilege Banking มองเห็นถึงโอกาสแสวงหาผลตอบแทนจากทองคำทั้งขาขึ้นและขาลงผ่าน ‘กองทุนเปิด UGLDC1Y2’ และกองทุน USMF3 ที่ลงทุนในตลาดเงิน (Money Market) และเงินฝากธนาคารต่างประเทศที่มีคุณภาพสูงและความเสี่ยงต่ำ 

 

ทำความรู้จัก ‘กองทุนเปิด UGLDC1Y2’ 

กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลด์ คอมเพล็กซ์ รีเทิร์น ฟันด์ 1Y2 หรือUGLDC1Y2 เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนแบบเงินต้นปลอดภัย มีผลตอบแทนขั้นต่ำ และทำผลตอบแทนได้ทั้งขาขึ้นและขาลงของทองคำ มีกลยุทธ์การลงทุนแบบครั้งเดียว (Buy-and-hold) เสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 11-22 มกราคม 2567 โดยมีนโยบายการลงทุน ดังนี้ 

 

  • ส่วนที่ 1: ประมาณ 95-99% ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย 
  • ส่วนที่ 2: กองทุนจะแบ่งเงินลงทุนประมาณ 0.10-5.00% ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับระดับราคาของสินทรัพย์อ้างอิง คือ SPDR Gold Shared ETF โดยมี Participation Rate 35% ส่งผลให้ผลตอบแทนสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้คือ 7%* (ราคาทอง บวกหรือลบ 20% PR 35% = 7%)

 

ตัวอย่างโครงสร้างการลงทุนของกองทุน และตัวอย่างโครงสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน 

 

Central Banks Pivot

 

ความน่าสนใจของการลงทุนใน UGLDC1Y2

  1. UOB ยังมีมุมมองบวกต่อราคาทองคำหลังจากยืนเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ โดยทองคำยังมีปัจจัยหนุนหลักในปี 2024 คือ โอกาสและความคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed และเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ประกอบกับอุปสงค์ยังแข็งแกร่งจากการเข้าลงทุนทองคำของภาครัฐและธนาคารกลางในเอเชียและตลาดประเทศเกิดใหม่ และการลงทุนในทองคำของนักลงทุนรายย่อยเพิ่งฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด และในระยะยาวทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการกระจายความเสี่ยงให้พอร์ต จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้เราคงมุมมองเชิงบวกต่อทองคำ 
  2. เปิดโอกาสสร้างผลตอบแทนทั้งขาขึ้นและขาลง แม้ว่าเราจะมีมุมมองบวกและเห็นปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำ แต่ราคาทองคำเป็นสินทรัพย์ที่คาดการณ์ทิศทางได้ยาก การลงทุนใน UGLDC1Y2 จะสามารถสร้างผลตอบแทนให้ได้ทั้งขาขึ้นและขาลงของราคาทองคำ กรอบ +/- 20% และมีผลตอบแทนขั้นต่ำที่ 0.7%*
  3. ความเสี่ยงการขาดทุนของเงินต้นต่ำ เนื่องจากเงินลงทุนส่วนใหญ่ 95-99% ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย และเงินทุนส่วนนี้จะเติบโตขึ้นมาเป็นส่วนเงินต้นเมื่อครบกำหนด 

 

*ผลตอบแทนในรูปแบบสกุลเงินบาทจะแปรผันตามอัตราแลกเปลี่ยนสกุล USD

 

ทำความรู้จักกองทุน ‘USMF3’

กองทุน United Short Maturity Fund 3 หรือ USMF3 เป็นกองทุนที่ลงทุนตรงในต่างประเทศ (Offshore Fund) บริหารงานโดย บลจ.ยูโอบี สิงคโปร์ โดยจะเน้นการลงทุนในตลาดเงิน (Money Market) ที่มีคุณภาพสูง และเงินฝากของสถาบันการเงิน และเป็นการลงทุนแบบ Buy-and-hold เป็นหลัก 

 

ทั้งนี้ แม้ว่า USMF3 จะกำหนดระยะเวลาการลงทุนที่ 6 เดือน แต่ก็เปิดโอกาสด้านสภาพคล่องไว้ คือหากเกิดความจำเป็นในการใช้กระแสเงินสด ผู้ลงทุนสามารถขายคืนกองทุนก่อนครบกำหนดได้ และการลงทุนจะลงทุนเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ USMF3 เสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 11-22 มกราคม 2567 

 

Central Banks Pivot

 

เปิดจุดเด่น ‘กองทุน USMF3

  1. ลงทุนระยะสั้นเพียง 6 เดือน
  2. ลงทุนในสินทรัพย์ที่ผันผวนต่ำ ทั้งเงินฝากและสินทรัพย์กลุ่ม Money Market
  3. Credit Rating แข็งแกร่ง โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์และสถาบันการเงินที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade เท่านั้น และคาดการณ์ Credit Rating เฉลี่ยของกองทุนคือ P-1 (Moody’s) เทียบเท่ากับ Credit Rating ระยะยาวของ S&P ที่ AAA
  4. เปิดโอกาสการลงทุนในนักลงทุนรายย่อย เนื่องจากเงินฝากของสถาบันการเงินบางกลุ่ม เช่น Wholesale Banks, Merchant Banks ถูกกำหนดว่าต้องลงทุนในนามสถาบันเท่านั้น กองทุนนี้จึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าไปเก็บเกี่ยวผลตอบแทน
  5. มีประมาณการผลตอบแทนด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบ Buy-and-hold ส่งผลให้กองทุนสามารถล็อกอัตราผลตอบแทนของตราสารและเงินฝากไว้ได้ จึงสามารถประมาณการผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดได้

 

ลงทุนผ่าน USMF3 ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

  1. เข้าถึงการลงทุนในเงินฝากของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้ลงทุนได้เฉพาะสถาบัน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าทั่วไป
  2. กระจายความเสี่ยง ผ่านการกระจายการลงทุนทั้ง Money Market และเงินฝากในหลายๆ ธนาคาร แม้ว่าจะเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำและไม่ผันผวน แต่การกระจายความเสี่ยงและกระจายโอกาสในการสร้างผลตอบแทนย่อมดีกว่า
  3. สภาพคล่อง แม้ว่ากองทุน USMF3 จะเป็นกองทุนที่มีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน แต่ระหว่างทางหากเกิดความจำเป็น นักลงทุนสามารถขายคืนกองทุนก่อนกำหนดได้ ซึ่งยืดหยุ่นกว่ากองทุน Term Fund แบบทั่วไปที่มักจะไม่มีสภาพคล่อง โดยสามารถส่งคำสั่งขายได้ทุกวันศุกร์ (มีค่าธรรมเนียม Realisation Fee ที่ 1%) 
  4. ดอกเบี้ยสะสม กองทุนมีการคำนวณราคาโดยใช้ดอกเบี้ยสะสมเข้ามารวมด้วย ซึ่งจะสร้างเสถียรภาพของราคาให้ดีขึ้น และนักลงทุนไม่ต้องเผชิญกับความผันผวนจากการ Mark to Market ราคาตราสาร*

 

ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking

 

Central Banks Pivot

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X