×

ธนาคารกลางเร่งตุนทองคำใน Q3 สิ้นปีมีลุ้นทุบสถิติซื้อมากที่สุดในรอบ 55 ปี

โดย
02.12.2022
  • LOADING...
ธนาคารกลาง

“อุปสงค์ทองคำในภาคธนาคารกลางคิดเป็นสัดส่วนเพียง 10% ของอุปสงค์ทองคำทั้งหมด อย่างไรก็ดี แรงซื้อทองคำจากภาคธนาคารกลางถือว่ามีบทบาทสำคัญ เพราะจะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อการลงทุนทองคำในสายตาของธนาคารกลางทั่วโลกได้เป็นอย่างดี”

 

ล่าสุดสภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางทั่วโลกถือครองทองคำเพิ่มขึ้นเกือบ 400 ตันในไตรมาสที่ 3 (+115%q-o-q) นี่เป็นการเข้าซื้อภายในไตรมาสเดียวที่มากที่สุดนับตั้งแต่ WGC มีการเริ่มบันทึกของมูลในปี 2000 และเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากสถิติก่อนหน้าที่ 241 ตันในไตรมาสที่ 3 ปี 2018 นอกจากนี้ยังถือเป็นการซื้อสุทธิเป็นไตรมาสที่ 8 ติดต่อกัน และทำให้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันธนาคารกลางถือครองทองคำเพิ่ม 673 ตัน ซึ่งสูงกว่ายอดรวมทั้งปีของปีอื่นๆ นับตั้งแต่ปี 1967

 

ธนาคารกลาง

 

ระดับความต้องการทองคำของธนาคารกลางในไตรมาสที่ 3 คือการรวมกันของรายงานการเข้าซื้อของธนาคารกลาง และการประมาณการสำหรับการเข้าซื้อที่ยังไม่ได้รายงาน อย่างไรก็ดี WGC ระบุว่า ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะธนาคารกลางบางแห่งไม่ได้รายงานการถือครองทองคำของตนต่อสาธารณะ หรืออาจรายงานแต่มีความล่าช้า โดย Metals Focus ระบุว่า ธนาคารกลางบางแห่งอาจเริ่มเข้าซื้อในช่วงต้นปี

 

เมื่อพิจารณาสำหรับกิจกรรมที่ถูกรายงานในระดับประเทศพบว่า แรงซื้อและขายมีเพียงธนาคารในตลาดเกิดใหม่ไม่กี่ประเทศ นำโดยธนาคารกลางตุรกี ซึ่งยังคงเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดในปีนี้ โดยถือทองเพิ่ม 31 ตันในไตรมาสที่ 3 ทำให้ทองคำสำรองของตุรกีเพิ่มขึ้นเป็น 489 ตัน (29% ของทุนสำรองทั้งหมด) และตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน YTD ตุรกีถือทองคำเพิ่ม 95 ตันในปี 2022 ตามมาด้วยธนาคารกลางของอุซเบกิสถานถือทองคำสำรองเพิ่มอีก 26 ตันในไตรมาสที่ 3 และเป็นผู้ซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยยอดซื้อสุทธิของตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 28 ตัน ด้านธนาคารกลางกาตาร์ก็เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ในไตรมาสที่ 3 เช่นกัน โดยในเดือนกรกฎาคมธนาคารกาตาร์ซื้อทองคำ 15 ตัน ซึ่งเป็นการซื้อรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1967 ทำให้ทองคำสำรองของกาตาร์เพิ่มขึ้นเป็น 72 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนธนาคารกลางอินเดียยังคงเข้าซื้อทองคำมาต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 โดยเข้าซื้อทองคำ 13 ตันในเดือนกรกฎาคม และ 4 ตันในเดือนกันยายน ทำให้ทองคำสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 785 ตัน

 

ทางด้านผู้ขายพบว่า ธนาคารกลางคาซัคสถานเป็นผู้ขายสุทธิรายใหญ่ที่สุดในไตรมาสนี้ โดยขายทองคำสำรองลง 2 ตัน และนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันธนาคารกลางคาซัคสถานขายทองสุทธิ 21 ตัน ทำให้การถือครองทองคำลดลงเป็น 381 ตัน (63% ของทุนสำรองทั้งหมด)

 

“Goldman Sachs ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า แรงซื้อทองคำจากธนาคารกลาง โดยเฉพาะธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่จะช่วยสร้าง Floor ให้กับทองคำ และช่วยชดเชยแรงขายที่เกิดจากกองทุน ETF ทองได้ ดังนั้นแรงซื้อจากธนาคารกลางที่ยังคงแข็งแกร่งจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับทองคำในระยะยาวได้ และทำให้ทองคำยังคงมีความน่าสนใจในปี 2023 เนื่องจากสะท้อนความเชื่อมั่นของเหล่าธนาคารกลางที่มีต่อทองคำได้เป็นอย่างดี”


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising