เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ได้มีรายงานต่อ อาจิธ นิวาด ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศศรีลังกา (Central Bank of Sri Lanka: CBSL) ให้สัมภาษณ์ถึงผลการทดสอบระบบ KYC (Know Your Customer) ที่ประสบความสำเร็จบนระบบ proof-of-concept (PoC) เป็นที่เรียบร้อย
ในโครงการที่นำ KYC มาใช้งานบนรูปแบบบล็อกเชนของศรีลังกานั้นได้ริเริ่มมาตั้งแต่ช่วงกรกฎาคมปี 2019 และได้ทำการทดสอบระบบ กับ 10 ธนาคาร อันได้แก่ Amana Bank, Bank of Ceylon, Commercial Bank of Ceylon, Cargills Bank, DFCC Bank, Hatton National Bank, HSBC, National Development Bank, People’s Bank และ Standard Chartered Bank ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกรอบนโยบายระยะยาว ‘Vistas of Prosperity and Splendor’ ภายใต้รัฐบาลของศรีลังกา ถัดจากนั้น นามาล ราจาภัคซา รัฐมนตรีด้านการประสานงานและตรวจสอบ ได้ก่อตั้งคณะกรรมการด้านคริปโตเคอร์เรนซีขึ้น เพื่อทำการทดลองและศึกษากรณีใช้งานจริงว่าจะสามารถนำมาปรับใช้กับนโยบายการเป็นสังคมดิจิทัลได้อย่างไรบ้าง
เช่นเดียวกันกับหลายๆ ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด จากข้อมูลของรัฐบาลศรีลังกาเผยว่า ในไตรมาส 2 ปี 2020 นั้น GDP ติดลบไปถึง 16.4% เป็นความเสียหายจากภาคการท่องเที่ยวถึง 1.2 หมื่นล้านบาท ในขณะเดียวกันถึง 4 หมื่นล้านบาทจากการจ้างงานนอกประเทศ
จากประเด็นการชะลอตัวของเศรษฐดิจดังกล่าวเป็นแรงขับเคลื่อนสู่การนำเทคโนโลยีด้านบล็อกเชนมาใช้ในประเทศมากยิ่งขึ้นในปีนี้ โดยปริมาณการซื้อ-ขายคริปโตเคอร์เรนซีในสกุลเงินของศรีลังกาบนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง ‘ Paxful’ นั้นพุ่งขึ้นสูงอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม พื้นที่บนคริปโตเคอร์เรนซีนั้นก็ยังเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจนบางประการที่อาจนำไปสู่การฟอกเงินหรือความเสี่ยงอื่นๆ ทำให้ทาง CBSL เริ่มเคลื่อนไหวด้านประเด็นกำกับดูแลที่เข้มข้นขึ้น จากเดิมที สมัยการประชุม G7 intergovernmental Financial Action Task Force (FATF) ในปี 2016 ได้เคยตั้ง ‘Grey List’ ไว้ ซึ่งจะไม่เข้าไปกำกับดูแล แต่ได้ออกจากข้อตกลงดังกล่าวไปในเดือนตุลาคม ปี 2019
อ้างอิง:
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP