×

รู้จักและเข้าใจ สำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยในแต่ละช่วงวัย เจนไหน ทำอะไร ใช้เวลาเท่าไร ในรอบปีที่ผ่านมา [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
23.01.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 Mins. Read
  • ปีที่ผ่านมา คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยถึงวันละ 10 ชั่วโมง 5 นาที คิดเป็น 42% ของชีวิตในแต่ละวันเลยทีเดียว
  • เมื่อมองแยกตามเจเนอเรชันพบว่า Gen Z และ Gen Y นิยมใช้อินเทอร์เน็ตในด้านความบันเทิง ส่วน Gen X และ Baby Boomer เลือกใช้อินเทอร์เน็ตไปกับการพูดคุยในสังคมออนไลน์มากกว่า
  • แน่นอนว่า สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหา Generation Gap หรือความไม่เข้าใจกันในระหว่างแต่ละเจน ปัญหานี้จะแก้ไขได้อย่างไร คำตอบอยู่ในบทความนี้

เมื่อโลกหมุนเร็ว แน่นอนว่า เราเองก็ต้องหมุนตามโลกกันให้ทัน ในโลกที่ทุกคนเชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ยักษ์ ไซส์เดียวกันกับโลกใบนี้อย่าง ‘อินเทอร์เน็ต’ เราค้นพบว่า ไม่ว่าจะช่วงวัยไหนก็ตาม ล้วนแล้วแต่ต้องมีอินเทอร์เน็ต เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตั้งแต่ลืมตาตื่น ไปจนกระทั่งหลับตานอน แม้แต่ในระหว่างนอนหลับก็มี

 

มาที่ประเทศไทย จากการสำรวจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ประจำปี 2561 พบว่า โดยเฉลี่ยทุกเพศและทุกช่วงวัย คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยถึงวันละ 10 ชั่วโมง 5 นาที คิดเป็น 42% ของชีวิตในแต่ละวันเลยทีเดียว!

 

 

ทีนี้มาลองแยกตามช่วงวัยกันบ้าง โดยเราจะแบ่งออกเป็นช่วงวัย ดังนี้ Gen Z (อายุน้อยกว่า 18 ปี) Gen Y (อายุ 18-37 ปี) Gen X (38-53 ปี) และ Baby Boomer (54-72 ปี)

 

จากการสำรวจพบว่า Gen Y คือช่วงวัยที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวันมากที่สุด ซึ่งไม่ต่างกันนักกับชาว Gen Z ทั้งสองเจนต่างก็อยู่ในกลุ่มที่มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในระดับที่แทบเป็นส่วนหนึ่งกับชีวิต

 

แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าจะหมายถึงการที่พวกเขานั้นติดโซเชียลเน็ตเวิร์กเยอะเกินไปหรือเปล่า? เพราะจากการสำรวจยังพบว่า ทั้งสองเจนใช้อินเทอร์เน็ตในการทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น รับ-ส่งอีเมล ค้นหาข้อมูล ดูวิดีโอ ฟังเพลง ซื้อสินค้าและบริการ อ่านหนังสือหรือบทความทางออนไลน์ เรียนออนไลน์ จองตั๋วและจองโรงแรม รวมไปถึงบริการเรียกแท็กซี่ บริการสั่งอาหาร และบริการรับ-ส่งพัสดุเอกสาร อีกด้วย

 

 

ที่น่าสนใจก็คือ ในกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ มีหลายกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือหรือข่าวออนไลน์มากขึ้น ที่ส่งผลโดยตรงต่อหนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร อีกทั้งยังเป็นช่วงปีที่ผู้คนหันมาซื้อขาย สินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ตอกย้ำการเข้าสู่ยุคอีคอมเมิร์ซอย่างแท้จริง รวมไปถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในการใช้บริการเรียกแท็กซี่ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 มากเช่นเดียวกัน

 

 

เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของแต่ละช่วงวัยให้มากขึ้น เราขอลงลึกอีกนิด ไปเจาะกันที่โซเชียลมีเดียที่แต่ละเจนนิยมใช้งานมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่า ใน Gen Y และ Gen Z นั้น จะเป็นเจนที่ชอบความบันเทิงมากๆ เพราะนิยมดูวิดีโอทาง YouTube มาเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยการแชตออนไลน์ผ่าน LINE ตามมาด้วย Facebook, Massenger และ Instagram

 

ในขณะที่คนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของเรา Gen X และ Baby Boomer พวกเขานิยมการพูดคุยมากกว่า แพลตฟอร์มยอดนิยมที่สุดของคนทั้งสองเจนจึงเป็น LINE และที่น่าสนใจก็คือ ทั้งสองเจนแทบไม่ได้มีความสนใจในโซเชียลมีเดียประเภทโพสต์รูปและวิดีโออย่าง Instagram ที่มีความเป็นวัยรุ่นสูง แต่พวกเขากลับชอบชุมชนออนไลน์แบบเวรี่ไทยอย่างเว็บไซต์ Pantip มากกว่า

 

 

เมื่อมีความแตกต่างระหว่างช่วงวัยกันแบบนี้ แน่นอนว่า ก็จะต้องมีปัญหาเรื่องของ Generation Gap เข้ามาเกี่ยวข้อง วัยรุ่นวัยทำงานชาว Gen Z และ Gen Y ก็ต้องมีเรื่องราวไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตในโลกอินเทอร์เน็ตและโลกโซเชียลฯ ของรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายอย่าง Gen X และ Baby Boommer อย่างแน่นอน

 

ปัญหาที่เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ วัยรุ่นและวัยทำงานเริ่มมองหาโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น  Twitter เพื่อใช้เป็นที่หลบหนี และหลบการจับจ้องมองถึงพฤติกรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตของเหล่าผู้ใหญ่รุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่เริ่มหันมาสนุกและเรียนรู้การใช้งาน Facebook มากขึ้น

 

วัยรุ่นและวัยทำงานส่วนใหญ่มองว่า การใช้อินเทอร์เน็ตถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหลบหนีจากโลกแห่งความเป็นจริง แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียคือสถานที่ในการให้ความบันเทิงและการพักผ่อนหย่อนใจ จึงไม่แปลกอะไรที่ Gen Z และ Gen Y ต่างเอือมระอากับการคอมเมนต์ Facebook ไม่เข้าท่า ของเหล่า Gen X และ Baby Boomer เช่นเดียวกับกรณีการส่งภาพ ‘สวัสดีวันจันทร์’ รัวๆ ใน LINE นั่นเอง

 

แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร?

 

CAT มองว่า ในขณะที่โลกทั้งใบต่างก็กำลังคิดค้นเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความสะดวกสบายให้ได้มากที่สุดนั้น มันก็คงไม่มีความหมายใดๆ ถ้าเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ได้จริงๆ

 

ที่ CAT เราจึงเชื่อว่า เทคโนโลยีที่ดีนั้น ไม่ใช่เพียงแค่ต้องดีที่สุด แต่ต้องเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากความเข้าใจที่สุด จึงจะสามารถสร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับคนไทยได้อย่างแท้จริง

 

CAT ทำอย่างไร คำตอบอยู่ในภาพยนตร์โฆษณาชุด สำคัญกว่าเทคโนโลยีคือความเข้าใจ นี้

 

 

ภาพประกอบ: Thiencharas W.

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X