×

นักวิเคราะห์ดาวเทียมออสเตรเลียชี้ หลักฐานความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนใหญ่กัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มยกระดับ

25.07.2025
  • LOADING...
cambodia-military-satellite-thailand

นายนาธาน รูเซอร์ (Nathan Ruser) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมจากสถาบันวิเคราะห์นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของออสเตรเลีย (Australian Strategic Policy Institute : ASPI) ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ขัดแย้ง อาทิ ยูเครนและเมียนมา ได้โพสต์ข้อความผ่าน X พร้อมภาพแผนที่ความร้อน (Heat Map) แสดงข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์สู้รบในพื้นที่ชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา 

 

โดยเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการยกระดับสถานการณ์ความขัดแย้ง ก่อนการปะทะระหว่างไทยและกัมพูชาวานนี้ (24 กรกฎาคม) ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูล พบว่าการยกระดับสถานการณ์ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะมาจากกัมพูชา โดยกองกำลังทหารกัมพูชาได้เสริมกำลังในหลายภาคส่วน ตั้งแต่ก่อนเหตุปะทะเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม และได้เพิ่มกำลังพลเชิงยุทธศาสตร์ทันทีหลังจากนั้น

 

จากการตรวจสอบข้อมูลการยกระดับสถานการณ์ของรูเซอร์ พบว่ามี

 

  • เหตุการณ์ที่ถูกยกระดับโดยกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน 33 เหตุการณ์
  • เหตุการณ์ที่ถูกยกระดับโดยไทยเป็นฝ่ายเริ่มก่อน 14 เหตุการณ์
  • เหตุการณ์ที่ลดระดับความรุนแรงร่วมกัน 9 เหตุการณ์

 

ขณะที่เขาระบุไทม์ไลน์ ที่ชี้ให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ได้แก่

 

  1. มีการก่อสร้างและเสริมกำลังในฐานที่มั่น Phomn Phrasitthi ใกล้ปราสาทพระวิหาร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวหน้าและการเสริมกำลังเชิงยุทธศาสตร์นั้นเกิดขึ้นข้ามพรมแดน (ตั้งแต่ก่อนวันที่ 28 พฤษภาคม) และไม่ใช่แค่ที่ช่องบก

 

  1. การส่งกำลังพลระดับสูงและหน่วยยุทธศาสตร์ไปยังแนวหน้าอย่างรวดเร็วและเข้มข้นในวันรุ่งขึ้นหลังจากการปะทะเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ซึ่งรวมถึงรถถัง ปืนใหญ่ และระบบป้องกันทางอากาศ สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า กองบัญชาการทหารกัมพูชาน่าจะเตรียมพร้อมรับมือกับการปะทะที่ทวีความรุนแรงขึ้นและตอบสนองได้ทันที

 

  1. การยึดครองตำแหน่งชั่วคราว (90 นาที) ภายในกัมพูชาโดยกองร้อยไทย (ซึ่งมีการจัดระเบียบและมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยลาดตระเวนที่ออกนอกเส้นทาง) เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน แสดงให้เห็นว่าการยกระดับสถานการณ์นั้นมาจากหลายฝ่าย

 

  1. หน่วยลาดตระเวนกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ “ปิดกั้น” หน่วยลาดตระเวนของไทยในวันที่ 30 มิถุนายน และยังคงลาดตระเวนต่อไปในจุดที่ไทยอ้างว่าเป็นดินแดนของตน

 

  1. มีการส่งกระสุนปืนขนาดใหญ่มายังชายแดนกัมพูชาในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งน่าสนใจว่ากองทัพไทยกำลังเตรียมการอย่างไรในขณะนั้น แต่เขาไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ โดยอาจจะเทียบเท่ากัน

 

  1. การระบุว่าหัวหน้าหน่วยอารักขาส่วนตัวของฮุนเซนเป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังที่แนวหน้า เรื่องนี้เห็นได้ชัดว่าฮุนเซนเป็นผู้นำ และดำเนินการด้วยเหตุผลส่วนตัว (ที่ไม่ชัดเจน) ของเขาเอง ซึ่งยิ่งทำให้ข้อกล่าวอ้างนี้มีน้ำหนักมากขึ้น

 

อ้างอิง :

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising