×

ครม. เห็นชอบร่างกฎหมายส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ ให้มีองค์กรสภาวิชาชีพ รัฐหนุนงบไม่น้อยกว่า 25 ล้านต่อปี

โดย THE STANDARD TEAM
12.01.2022
  • LOADING...
ประชุมคณะรัฐมนตรี

วานนี้ (11 มกราคม) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบ ในร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. ดังนี้

 

​​1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

​ ​2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ

 

​​ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน

 

โดยกำหนดให้มีองค์กรสภาวิชาชีพเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นอิสระของสื่อมวลชน (ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชนตามมาตรา 35 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งการใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน 

 

รวมทั้งเสนอข่าวนั้นจะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชนด้วย เช่น การเสนอข้อเท็จจริงด้วยความถูกต้อง ครบถ้วนรอบด้าน และเป็นธรรม การให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลซึ่งได้รับผลกระทบจากการเสนอข่าว หรือการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งหากปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชนแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง) 

 

ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนที่ไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชน (ปัจจุบันวิชาชีพสื่อมวลชนยังไม่มีสภาวิชาชีพที่จัดตั้งตามกฎหมาย แต่วิชาชีพอื่นๆ ได้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เช่น สภาทนายความ และสภาวิชาชีพนักบัญชี เป็นต้น) 

 

เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและกรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (9 กุมภาพันธ์ 2564) โดยพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในภาพรวมแล้ว

 

​​สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ  

 

​​1. กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชน แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น  

 

​​2. กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสิทธิปฏิเสธการปฏิบัติตามคำสั่งใดที่จะมีผลให้เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมสื่อมวลชนโดยมิให้ถือว่าเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่การใช้สิทธิดังกล่าวต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ด้วย    

 

​​3. กำหนดให้มี ‘สภาวิชาชีพสื่อมวลชน’ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน และกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาจริยธรรมสื่อมวลชนและมาตรฐานวิชาชีพ และให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล    

 

​​4. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีหน้าที่และอำนาจจดแจ้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ส่งเสริมการคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชน ติดตามดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน องค์กรสื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพ และองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ให้เป็นไปตามจริยธรรมสื่อมวลชน และให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่ภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น

 

5. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีรายได้จากเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม เช่น เงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่าย เป็นต้น ทั้งนี้ ให้มีการจัดสรรเงินของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้แก่สภาเป็นรายปี ไม่น้อยกว่าปีละ 25 ล้านบาท    

 

​​6. กำหนดให้มี ‘คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน’ ประกอบด้วย กรรมการผู้แทนองค์กรเวิชาชีพสื่อมวลชน จำนวน 5 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งสรรหาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านวิชาการสื่อสารมวลชน กฎหมายสิทธิมนุษยชนหรือการคุ้มครองผู้บริโภค และกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์   

 

​​7. กำหนดให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีหน้าที่และอำนาจบริหารกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสื่อมวลชนของสภาซึ่งเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล และพิจารณาการขอจดแจ้งและเพิกถอนการจดแจ้งขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น   

 

​​8. กำหนดให้มี ‘สำนักงานสภาวิชาชีพสื่อมวลชน’ มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาวิชาชีพสื่อมวลชน และคณะกรรมการจริยธรรม รวมทั้งจัดทำงบดุล การเงิน และบัญชีทำการของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนส่งผู้สอบบัญชีภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ตลอดจนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน

 

​​9. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสื่อมวลชน โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับจริยธรรมอย่างน้อยเกี่ยวกับการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และมาตรการที่จะดำเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนหรือองค์กรสื่อมวลชนเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นโดยฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามจริยธรรมสื่อมวลชน 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X