×

บุรีรัมย์แจง ขอความร่วมมือลงทะเบียนประเมินความเสี่ยงฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ส่วนบังคับฉีดเน้นกลุ่มเสี่ยง หวังสร้างภูมิคุ้มกันหมู่

โดย THE STANDARD TEAM
15.05.2021
  • LOADING...
บุรีรัมย์ ฉีดวัคซีน

วานนี้ (14 พฤษภาคม) นพ.พิเชษฐ พืดขุนทด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า กรณีมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประกาศคณะกรรมการควบคุมโรค ฉบับที่ 13/2564 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม มีประชาชนมีความกังวลว่าถ้าหากไม่ได้ฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 จะมีความผิดหรือไม่อย่างไรนั้น สำหรับเจตนาที่ออกประกาศฉบับดังกล่าวคือต้องการส่งเสริมให้ประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป หรือบุคคลที่อาศัยอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าไปบันทึกข้อมูลในระบบ BURIRAM IC ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลบริหารวัคซีนของจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้คนบุรีรัมย์ได้เข้าถึงวัคซีนในการควบคุมโรคครั้งนี้

 

นพ.พิเชษฐ กล่าวด้วยว่า อยากให้ประชาชนชาวบุรีรัมย์เข้าใจว่าสถานการณ์ปัจจุบันโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย มีการแพร่ระบาดยืดเยื้อ ยาวนาน หากยังปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เลือกจะฉีดหรือไม่ฉีดตามใจตัวเอง จะส่งผลให้ไม่สามารถจัดการควบคุมโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว จึงขอความร่วมมือประชนเข้าไปบันทึกข้อมูลในระบบเพื่อประเมินตนเอง แสดงความจำนงหรือไม่จำนงในการฉีดวัคซีนให้ชัดเจน เพื่อให้บริการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ที่แสดงความจำนงก่อนเป็นอันดับแรก ผู้ที่แสดงความจำนงในภายหลังก็จะได้รับวัคซีนตามลำดับให้ครอบคลุมมากที่สุด  

 

“ส่วนในอนาคตเมื่อมีคนส่วนมากฉีดแล้ว และยังเหลือคนส่วนน้อยที่ยังไม่ได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันและมีอาชีพเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง กลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่มเสี่ยง มีความเสี่ยงในการที่จะแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้ในอนาคต จึงอยากให้คนกลุ่มนี้รีบตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโดยเร็วที่สุดหรือไม่ ในอนาคตผู้ที่ไม่ได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันก็จะมีมาตรการต่างๆ ดำเนินการต่อไปในอนาคต เช่น ไม่สามารถไปร่วมทำกิจกรรมในสถานที่ต่างๆ ได้ หรือมีข้อจำกัดในการเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ รวมถึงการดำเนินการตามกฎหมาย” นพ.พิเชษฐ กล่าว

 

นพ.พิเชษฐ กล่าวอีกว่า อยากให้ชาวบุรีรัมย์เข้าใจว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นต้องการให้การควบคุมโรคสิ้นสุดโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ชาวบุรีรัมย์กลับมาใช้ชีวิต ประกอบอาชีพ ตามวิถีปกติสุขให้เร็วที่สุด

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X