อาคารสำนักงานและพื้นที่รีเทลเป็นส่วนหนึ่งของเมืองยุคใหม่ โดยสามารถสร้างผลกระทบต่อบริบทของสิ่งแวดล้อมและสังคมได้มากกว่าที่คิด และหลายคนอาจยังไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างเต็มที่ แต่ในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมผู้บริโภค หรือปัญหาสภาพภูมิอากาศ ล้วนผลักดันให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์โฟกัสกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น
เรื่องนี้ได้สะท้อนผ่านการขับเคลื่อนของ FPCT ใน 3 ด้าน ทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) ในประเทศไทย ตัวอย่างยอดเยี่ยมที่สามารถยกเป็นเคสตัวอย่างได้คือ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ FPCT ซึ่งดำเนินงานสอดรับกับนโยบายของแบรนด์เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ที่วางเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050
โดยคำนึงถึงการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับน้อยที่สุด เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ ครอบคลุมการออกแบบอาคารตามมาตรฐานสากล การเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในอาคาร รวมถึงการสร้างระบบพลังงานหมุนเวียน โดยอาคารเชิงพาณิชย์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นใหม่ ทั้งปาร์คเวนเชอร์, เอฟวายไอ เซ็นเตอร์, สาทรสแควร์ และมิกซ์ยูสสามย่านมิตรทาวน์ และสีลมเอจ ล้วนได้รับการรับรองจากมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นมาตรฐานอาคารเขียวระดับสากลทั้งในระดับ Gold และ Platinum ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
เหล่านี้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในอาคาร ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืน เช่น การใช้ระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ ที่สามารถปรับการใช้ไฟฟ้าและอากาศภายในอาคารให้เหมาะสมกับจำนวนคนในอาคาร ลดปริมาณของพลังงานที่ถูกใช้โดยไม่จำเป็น
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า การออกแบบอาคารและพื้นที่ค้าปลีกที่เน้นความยั่งยืนสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจได้ หนึ่งในผลวิจัยที่น่าสนใจคือการศึกษาของ Journal of Corporate Real Estate ในปี 2019 ที่พบว่าอาคารที่ได้รับการออกแบบเพื่อความยั่งยืนมีค่าเช่าและอัตราการเช่าที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับอาคารที่ไม่เน้นความยั่งยืน
วิทวัส คุตตะเทพ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายโครงการเชิงพาณิชยกรรม บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) กล่าวย้ำว่า อาคารสำนักงานของเราคำนึงถึงความต้องการของผู้เช่าและผู้ใช้บริการเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งเราถ่ายทอดความใส่ใจตลอดกระบวนการออกแบบ การพัฒนา และการให้บริการ เพื่อให้การใช้งานอาคารเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามมาตรฐานสากล พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเป็นต้นแบบของธุรกิจอาคารสำนักงานสมัยใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
อีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นความสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่รีเทลและสังคม ซึ่งมีผลต่อความยั่งยืนในระดับชุมชน ตามรายงานของ The International Council of Shopping Centers (ICSC) ในปี 2020 พบว่าพื้นที่รีเทลที่ใช้แนวคิดความยั่งยืนในการบริหารจัดการสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างงานหรือการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น เช่น ในมิติของสังคม เราสร้างสรรค์โคเลิร์นนิ่งสเปซ ‘C asean Samyan CO-OP’ ที่ขนาดใหญ่กว่า 1,400 ตารางเมตร ให้บริการฟรีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง
ในด้านการช่วยเหลือสังคม สามย่านมิตรทาวน์ได้จัดพื้นที่สำหรับโครงการ ‘มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน’ ระดมโลหิตเพื่อส่งต่อให้กับสภากาชาดไทย ซึ่งจัดมาแล้ว 12 ครั้ง สามารถระดมโลหิตได้เกือบ 4 ล้านซีซี และระหว่างการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง ยังได้จัดโครงการ ‘มิตร ปัน มิตร’ โดยใช้พื้นที่ภายในอาคารเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมอาหารจากพันธมิตรร้านค้าส่งต่อให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อลดค่าครองชีพ
นอกจากนั้น FPCT ให้การยอมรับและเห็นถึงคุณค่าของความแตกต่างของบุคคล โดยสนับสนุนความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ ด้วยการจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องความเสมอภาคระดับองค์กรและระดับสังคม ทั้งในวันสตรีสากล และ Pride Month รวมถึงด้านการดูแลพนักงาน บริษัทยังได้อัปเกรดสิทธิการลาของพนักงาน เพื่อรองรับการสมรสเท่าเทียมและความต้องการผ่าตัดแปลงเพศ
ธีรนันท์ กรศรีทิพา รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจรีเทล บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) ได้ย้ำว่า นอกจากด้านสิ่งแวดล้อม ยังให้ความสำคัญในมิติของสังคม ซึ่งในสายงานพัฒนาธุรกิจรีเทลได้ผสานแนวคิด Placemaking หรือการส่งมอบพื้นที่สร้างสรรค์ที่พร้อมสนับสนุนให้ชุมชนรอบข้างได้เติบโตไปด้วยกัน โดยใช้ประโยชน์จากพื้นที่รีเทลและพื้นที่อเนกประสงค์ของศูนย์การค้าในการทำประโยชน์ให้กับสังคม ที่ผ่านมาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่หลากหลาย รวมไปถึงการส่งเสริมความเท่าเทียม และการส่งเสริมการเรียนรู้
จะเห็นได้ว่าการรวมเข้าด้วยกันของหลายปัจจัยนี้สร้างความเชื่อมโยงระหว่างอาคารสำนักงานและพื้นที่รีเทลกับความยั่งยืนในหลายมิติ ประกอบด้วย ประหยัดพลังงาน การลดขยะ การปรับปรุงสุขภาพจิตและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างสังคมที่ยั่งยืน ทั้งนี้ทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นผลมาจากการออกแบบและการบริหารจัดการที่มีการวางแผนและใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
ทั้งหมดนี้ได้ทำให้ FPCT ได้รับรางวัลต้นแบบองค์กรขับเคลื่อนสังคมสู่ความยั่งยืน ประจำปี 2023 จาก Cosmopolitan The Daily สื่อสิ่งพิมพ์ด้านธุรกิจและผู้วิเคราะห์เทรนด์ระดับโลกจากสหราชอาณาจักร ซึ่งเฟ้นหาและประเมินบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกที่มีความโดดเด่นด้านการดำเนินธุรกิจและมีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในทุกมิติ
การที่เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) ให้ความสำคัญในทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม ส่งผลให้ทั้งผู้เช่าและผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ที่ครอบคลุมและยั่งยืน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสร้างค่าสัมฤทธิ์ทางสังคมได้
ต้องยอมรับว่า ‘เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย)’ ไม่ใช่แค่อาคารสำนักงานหรือพื้นที่ค้าปลีก แต่เป็น ‘อนาคต’ ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมีความยั่งยืนและใส่ใจทุกมิติของชีวิต ซึ่งเราสามารถสัมผัสและเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้ได้แล้ว
อ้างอิง:
- American Journal of Public Health, Environmental Psychology
- Journal of Green Building
- Energy and Buildings, Building and Environment