วานนี้ตามเวลาท้องถิ่น จุดสำคัญของการเฉลิมฉลองการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) คือบริเวณ Parliament Square ใจกลางกรุงลอนดอน ที่ซึ่งผู้สนับสนุน Brexit จำนวนมากออกมาเฉลิมฉลองและนับถอยหลังสู่เวลา 23.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเริ่มต้น Brexit อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังมีการเฉลิมฉลองของผู้สนับสนุน Brexit ตลอดจนการจัดกิจกรรมอำลาของผู้ไม่เห็นด้วยกับ Brexit คู่ขนานกันไปทั้งสหราชอาณาจักรเช่นกัน
ผู้สื่อข่าว THE STANDARD ลงพื้นที่ Parliament Square และเก็บภาพการเฉลิมฉลองที่จุดดังกล่าว ตลอดจนวินาทีประวัติศาสตร์ กับการนับถอยหลังเพื่อเริ่มต้น Brexit อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ความรู้สึกของผู้คนในงานนี้มาฝากกัน
เจมี กอร์ดอน ชาวสหราชอาณาจักร บอกกับเราว่า เขารู้สึกวิเศษมาก และสำหรับเขา นี่คือค่ำคืนที่ยอดเยี่ยม และแม้เขาเชื่อว่า ในระยะสั้น การถอนตัวจาก EU จะส่งผลเสียด้านการค้า แต่ในระยะยาว สหราชอาณาจักรน่าจะสามารถกลับมาทำข้อตกลงการค้ากับยุโรปได้ รวมถึงทำข้อตกลงการค้ากับนานาประเทศได้อีกด้วย
และเมื่อถามว่า พอใจกับข้อตกลง Brexit ของ บอริส จอห์นสัน หรือไม่ เขามองว่า ข้อตกลงดังกล่าวมีข้อด้อยจำนวนมาก แต่เขาก็เชื่อว่า จอห์นสันได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว
ขณะที่ ทอม ไบรท์ (ซ้าย) ระบุว่า นี่เป็นค่ำคืนที่เต็มไปด้วยอารมณ์และมีความสุขที่สหราชอาณาจักรได้เป็นอิสระจาก 47 ปีในสหภาพยุโรป เขาบอกว่า เขาต้องการเลือกตั้งเพื่อให้ตัวแทนที่เขาเลือกมาเป็นผู้ออกกฎหมาย ไม่ใช่คนจากฝั่งสหภาพยุโรป
“เราต้องการกำหนดชะตาของเราเอง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต มันคือตัวเลือกของเรา” เขากล่าว
เขายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มางานนี้กับเพื่อนที่มีแนวคิดโหวต Remain หรือให้สหราชอาณาจักรอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป แต่เพื่อนของเขามีความสุขที่ได้เห็นว่า ประเด็น Brexit มีข้อสรุปเสียที และเขาหวังว่า ต่อจากนี้รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาการค้ากับสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ ต่อไป
ส่วน เมล ฮิกกีย์ ระบุว่า เธอไม่สนับสนุนกระบวนการลงประชามติรอบสอง เพราะเธอมองว่า ไม่ยุติธรรมเมื่อมีการลงคะแนนเสียงไปแล้วครั้งหนึ่ง
ขณะที่ แพทริเซีย ทิมม์ส ระบุว่า สาเหตุที่เธอต้องการ Brexit เพราะเธอรู้สึกว่า ประเทศของเธอต้องจ่ายเงินจำนวนมากให้กับสหภาพยุโรป แต่ในประเทศกลับยังมีปัญหาสำคัญ เช่น ปัญหาระบบสาธารณสุข (NHS) เธอจึงเชื่อว่า ถึงเวลาที่สหราชอาณาจักรจะต้องนำเงินกลับมาดูแลประชาชนของตนเอง
เจมี กอร์ดอน ชาวสหราชอาณาจักร บอกกับเราว่า เขารู้สึกวิเศษมาก และสำหรับเขา นี่คือค่ำคืนที่ยอดเยี่ยม และแม้เขาเชื่อว่า ในระยะสั้น การถอนตัวจากอียูจะส่งผลเสียด้านการค้า แต่ในระยะยาว สหราชอาณาจักรน่าจะสามารถกลับมาทำข้อตกลงการค้ากับยุโรปได้ รวมถึงทำข้อตกลงการค้ากับนานาประเทศได้อีกด้วย
และเมื่อถามว่า พอใจกับข้อตกลง Brexit ของ บอริส จอห์นสัน หรือไม่ เขามองว่า ข้อตกลงดังกล่าวมีข้อด้อยจำนวนมาก แต่เขาก็เชื่อว่า จอห์นสันได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว
———————————————
ทอม ไบรท์ (ซ้าย) ระบุว่า นี่เป็นค่ำคืนที่เต็มไปด้วยอารมณ์และมีความสุขที่สหราชอาณาจักรได้เป็นอิสระจาก 47 ปีในสหภาพยุโรป เขาบอกว่า เขาต้องการเลือกตั้งเพื่อให้ตัวแทนที่เขาเลือกมาเป็นผู้ออกกฎหมาย ไม่ใช่คนจากฝั่งสหภาพยุโรป
“เราต้องการกำหนดชะตาของเราเอง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต มันคือตัวเลือกของเรา” เขากล่าว
เขายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มางานนี้กับเพื่อนที่มีแนวคิดโหวต Remain หรือให้สหราชอาณาจักรอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป แต่เพื่อนของเขามีความสุขที่ได้เห็นว่า ประเด็น Brexit มีข้อสรุปเสียที และเขาหวังว่า ต่อจากนี้รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาการค้ากับสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ ต่อไป
ส่วน เมล ฮิกกีย์ (ขวา) ระบุว่า เธอไม่สนับสนุนกระบวนการลงประชามติรอบสอง เพราะเธอมองว่า ไม่ยุติธรรมเมื่อมีการลงคะแนนเสียงไปแล้วครั้งหนึ่ง
———————————————
แพทริเซีย ทิมม์ส (คนกลาง) ระบุว่า สาเหตุที่เธอต้องการ Brexit เพราะเธอรู้สึกว่า ประเทศของเธอต้องจ่ายเงินจำนวนมากให้กับสหภาพยุโรป แต่ในประเทศกลับยังมีปัญหาสำคัญ เช่น ปัญหาระบบสาธารณสุข (NHS) เธอจึงเชื่อว่า ถึงเวลาที่สหราชอาณาจักรจะต้องนำเงินกลับมาดูแลประชาชนของตนเอง