×

ค่าเงินเยนเจอแรงเทขาย หลังธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี แนวโน้มค่าเงินจะเป็นอย่างไรต่อไป

24.03.2024
  • LOADING...
ค่าเงินเยน

ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น (BOJ) ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 17 ปี และปิดฉากประเทศสุดท้ายของโลกที่ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับความท้าทายอีกมากมายที่อาจขัดขวางความหวังของธนาคารกลางในการสร้างอัตราเงินเฟ้อที่ยั่งยืน รวมถึงค่าเงินเยนที่ยังคงอ่อนค่าลงใกล้ระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ญี่ปุ่นสิ้นสุดยุค ‘อัตราดอกเบี้ยติดลบ’

 

การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่แดนบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ หลังจากที่มีการเจรจาขึ้นค่าจ้างครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1992 สำหรับบริษัทชั้นนำในประเทศ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะส่งผลกระทบทั่วทั้งเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใช้จ่ายมากขึ้นแทนที่จะออมเงิน อาจกระตุ้นอัตราเงินเฟ้ออย่างช้าๆ แต่ดำเนินต่อไป และเป็นสัญญาณของเศรษฐกิจที่ดีของประเทศ

 

นโยบายของ BOJ แตกต่างไปจากธนาคารกลางอื่นๆ ที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด สงครามยูเครน และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ทางด้าน คาซุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น กล่าวในงานแถลงข่าวหลังการประชุมนโยบายว่า ดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตจะถูกกำหนดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและราคาค่าเงินเยนยังคงอ่อนค่าลงใกล้ระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ 

 

สาเหตุหลักมาจากช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยในญี่ปุ่นที่ยังคงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ อย่างมาก แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยล่าสุดก็ตาม ถึงกระนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายใหม่ของญี่ปุ่นก็ยังต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยอยู่ในช่วงระหว่าง 0-0.1%

 

ผลกระทบต่อค่าเงินเยนญี่ปุ่น และแนวโน้มค่าเงินในอนาคต

 

โดยทั่วไปแล้ว การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมักจะช่วยสนับสนุนสกุลเงินให้แข็งค่าขึ้น แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่สำหรับประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ สกุลเงินยังเจอกับแรงเทขายเพิ่มเติมหลังจากการตัดสินใจของ BOJ ที่ออกจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นดูเหมือนจะยังคงท่าทีนโยบายที่ผ่อนคลายต่อไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าเงินเยน คาซุโอะ อุเอดะ ย้ำว่า เงื่อนไขทางการเงินจะยังคงผ่อนคลายอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เปราะบาง และ BOJ ยังไม่ได้กำหนดเวลาสำหรับการปรับเปลี่ยนนโยบายในอนาคตไม่ว่าในทิศทางใด

 

สำหรับผลกระทบในระยะสั้น สกุลเงินเยนญี่ปุ่นได้อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรนับตั้งแต่ปี 2008 ในขณะเดียวกัน สกุลเงินเยนญี่ปุ่นก็ซื้อขายที่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ประมาณ 151 เยน ซึ่งในระยะสั้นสิ่งนี้อาจกระตุ้นให้ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงค่าเงินได้ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

 

ส่วนผลกระทบในระยะยาวนั้น สกุลเงินเยนมักถูกซื้อขายแบบ ‘Carry Trade’ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ของโลก นักลงทุนจึงนิยมกู้ยืมในสกุลเงินที่มีต้นทุนในการกู้ยืมต่ำและนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าในที่อื่น ดังนั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่น ทำให้การซื้อขายแบบดั้งเดิมที่เคยมีมา และตลาดตราสารหนี้ในประเทศอาจทำให้เกิดความผันผวนในวงกว้างได้  

 

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นไม่น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุก และจะใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเพิ่มเติม สิ่งนี้อาจลดโอกาสที่ส่วนต่างของผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น (JGB) จะลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปีนี้ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ได้

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X