วันนี้ (30 กรกฎาคม) อรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ 7 มาตรการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอ ประกอบด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ประมงสมุทรสาครปล่อยปลากะพงนักล่า 20,000 ตัวสุดท้ายลงคลองไปกำจัดปลาหมอคางดำ ขอประชาชนอย่าล่าปลากะพง
- วาโย ก้าวไกล แจงไทม์ไลน์ปลาหมอคางดำ ชี้ ปลาที่เอกชนนำเข้า-เลิกวิจัย จนพบระบาดครั้งแรกสอดคล้องกัน
- กำจัดออกจากระบบนิเวศให้มากที่สุด
- ใช้วิธีธรรมชาติบำบัดด้วยการใช้ปลานักล่า
- นำปลาที่จับได้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยตั้งเป้าว่าตั้งแต่ขณะนี้จนถึงกลางปีหน้า จะจับให้ได้ไม่ต่ำกว่า 4,000 ตัน หรือ 4 ล้านกิโลกรัม
- เฝ้าระวังไม่ให้มีการขยายพื้นที่แพร่ระบาด
- ทำความเข้าใจกับประชาชน
- ใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการทำให้ปลาเป็นหมัน และใช้เทคโนโลยีล่อให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันเพื่อง่ายต่อการจับ
- การฟื้นฟูระบบนิเวศ
ส่วนที่มีนักวิชาการเสนอการใช้ไซยาไนด์เพื่อกำจัดปลาหมอคางดำนั้น อรรถกรระบุว่า เป็นข้อเสนอของนักวิชาการที่ไม่ได้สังกัดอยู่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกระทรวงไม่ได้ปิดโอกาสแสดงความคิดเห็น แต่ในการใช้ยาแรงจะต้องคิดไตร่ตรอง ว่าระบบนิเวศจะได้รับผลกระทบจากมาตรการต่างๆ อย่างไร ดังนั้นมาตรการหลักคือทำงานร่วมกับชาวประมง ซึ่งถือเป็นนักล่ามือหนึ่ง ส่วนมาตรการอื่นๆ จะค่อยๆ พิจารณาตามสถานการณ์ต่อไป