×

‘วิลาสินี ภาณุรัตน์’ ซีอีโอหญิงคนแรกของ บาจา ประเทศไทย ที่สลัดภาพลักษณ์เดิมๆ ของบาจาให้ทันสมัย และทำให้คนไทยจดจำว่า บาจาคือ ‘Shoes for All – รองเท้าของทุกคน’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
05.07.2023
  • LOADING...
วิลาสินี ภาณุรัตน์

HIGHLIGHTS

  • ถ้าพูดถึงรองเท้าเน้นฟังก์ชัน หรือกลุ่มตลาดรองเท้านักเรียน ‘บาจา’ ถือครองเค้กก้อนใหญ่ในตลาด แต่จุดแข็งที่ว่ากลายเป็นโจทย์ยากในวันที่บาจาอยากจะสลัดภาพแบรนด์รองเท้าคุณภาพดีแต่เชย สู่แบรนด์รองเท้าทันสมัยที่สามารถสวมใส่ได้ทุกวัน และใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย 
  • โจทย์ท้าทายถูกส่งต่อให้กับ วิลาสินี ภาณุรัตน์ ประธานกรรมการบริหารหญิงคนแรกของ บาจา ประเทศไทย แม้เธอจะถูกยกให้เป็นมือหนึ่งด้านการรีแบรนดิ้งแห่งวงการบิวตี้ แต่ธุรกิจรองเท้าคือโลกใบใหม่ แถมยังเต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย 
  • แต่เคล็ดวิชาการรีแบรนด์ของเธอยังขลัง เพราะหลังจากขับเคลื่อนแคมเปญ ‘Surprisingly Bata’ สามารถสร้าง Share of Voice and Engagement บนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น พร้อมกวาดยอดขายปี 2565 พุ่งสูงกว่าปี 2564 ถึง 75% ทำให้ได้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น และสามารถทำผลกำไรเติบโตมากกว่าปี 2562 ก่อนโควิดได้ถึง 10%
  • ปีนี้บาจาดันแคมเปญ ‘Sneakers for All’ ตอกย้ำจุดยืนและวิสัยทัศน์ของแบรนด์ ที่ต้องการให้รองเท้าที่ดีมีคุณภาพเข้าถึงได้ทุกคน พร้อมเตรียมขยายฐานลูกค้าเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มคนเมือง เปิดเพิ่ม 5 สาขา บุกห้างสรรพสินค้าใหญ่ระดับท็อปในเมือง

“ผู้บริหารหลายท่านของ บาจา ประเทศไทย แค่จับรองเท้าก็บอกได้เลยว่าคู่นี้ขายได้หรือขายไม่ได้” แม้จะเป็นเรื่องที่หลายคนอาจคิดว่าไม่เห็นจำเป็นต้องรู้ แต่นั่นก็ทำให้เข้าใจทันทีว่า เพราะเหตุใดบาจาจึงได้ฉายา ‘บาจา (Bata) รู้เฟื่องเรื่องรองเท้า’ 

 

Bata (บาจา) แบรนด์รองเท้าที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 90 ปี และเด็กไทยเกือบค่อนประเทศจะต้องมีรองเท้านักเรียนบาจาอย่างน้อย 1 คู่ ด้วยความคุ้นเคยทำให้หลายคนคิดว่าบาจาเป็นแบรนด์ของไทย แต่ก็น่าจะมีคนไม่น้อยที่รู้ว่า แท้จริงแล้วบ้านเกิดบาจาอยู่ที่เชโกสโลวาเกีย หรือสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบัน โดย โทมัส บาจา (Tomáš Baťa) และพี่น้องของเขา ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตรองเท้าชื่อ T. & A. Baťa Shoe Company ขึ้นในปี 2437 จนถึงวันนี้ก็มีอายุเกือบ 130 ปี 

 

บาจาเดินทางมาถึงเมืองไทยเมื่อปี 2472 สาขาแรกอยู่ที่ถนนเจริญกรุง เริ่มต้นจากการผลิตรองเท้านักเรียนเป็นสินค้าเปิดตลาด โดยยึดคอนเซปต์ผลิตรองเท้าที่สวมสบาย ทนทาน และราคาไม่แพง 

 

จุดเด่นข้างต้นทำให้รองเท้านักเรียนบาจาชิงเค้กก้อนโตในตลาดมาอย่างง่ายดาย แต่นั่นก็กลายเป็นโจทย์ยากในวันที่บาจาอยากจะสลัดภาพแบรนด์รองเท้านักเรียน สู่แบรนด์รองเท้าที่สามารถสวมใส่ได้ทุกวัน ที่สำคัญใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย เพราะแท้จริงแล้วบาจามีสินค้าอื่นๆ ในพอร์ตอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าทำงานผู้ชาย, รองเท้าออกกำลังกาย, รองเท้าแฟชั่นผู้หญิง, รองเท้าใส่สำหรับเด็ก ไปจนถึงสินค้าอื่นๆ อย่างกระเป๋า ถุงเท้า ตลอดจนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลรองเท้า 

 

 

การจะก้าวข้ามเส้นบางๆ ระหว่างความผูกพันกับภาพจำของแบรนด์รองเท้าที่ ‘ใส่สบายแต่ดูเชย’ สำหรับ วิลาสินี ภาณุรัตน์ ประธานกรรมการบริหารหญิงคนแรกของ บาจา ประเทศไทย จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย แม้เธอจะถูกยกให้เป็นมือหนึ่งด้านการรีแบรนดิ้งแห่งวงการบิวตี้ แต่ธุรกิจรองเท้าคือโลกใบใหม่ แถมยังเต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย 

 

“ตอบตรงๆ ตอนแรกที่เข้ามาดำรงตำแหน่งคิดว่าน่าจะต้องปรับเปลี่ยนเกือบทั้งหมด” วิลาสินีบอกว่านั่นคือความคิดที่มองจากสายตาคนนอกอย่างเธอ ซึ่งมีภาพจำว่าบาจาเป็นรองเท้าคุณภาพ เหมาะกับวัยเรียน รับปริญญา หรือคนสูงวัยที่ต้องการรองเท้าใส่สบาย

 

“ปรากฏว่าพอเข้ามาเซอร์ไพรส์มาก หลายเรื่องควรรักษาไว้ และบางเรื่องคนภายนอกต้องรู้ เรื่องความเชี่ยวชาญในการทำรองเท้าอันนี้ต้องยอมรับ เพราะแบรนด์นี้เกิดจากคนทำรองเท้าจริงๆ ที่สืบทอดการทำรองเท้าหนังแบบเย็บมือที่เก่าแก่ยาวนานถึง 8 ช่วงอายุคน จนมาถึงยุค โทมัส บาจา ที่รับช่วงต่อธุรกิจของครอบครัว และสร้างแบรนด์บาจาขึ้นมา ความเชี่ยวชาญนี้ทำให้สินค้าของแบรนด์แข็งแกร่งและมีตัวตนชัดเจนในเรื่องคุณภาพ ความทนทาน และราคาจับต้องได้ ดังนั้น สินค้าเราแทบไม่แตะเรื่องการผลิตเลย จะเป็นการทำงานเสริมที่ช่วยสกรีนว่าจะหยิบสินค้าไหนไปขาย” 

 

แต่จุดที่เธอสนใจและหยิบมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างแรกคือเรื่องราว “จุดอ่อนอย่างหนึ่งของแบรนด์คือ สินค้าดีแต่ไม่เล่าเรื่อง บาจามีนวัตกรรมการผลิตรองเท้าที่ล้ำสมัยมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านรองเท้าไม่หยุดค้นหาวัสดุใหม่ๆ รวมไปถึงสร้างสรรค์รองเท้าใหม่ๆ อยู่เสมอ เป็นเรื่องที่คนภายในองค์กรรู้แต่ไม่เคยเล่าให้ใครฟังว่าสินค้าแต่ละตัวดีอย่างไร ทำไมแบบใกล้เคียงกันแต่ราคาต่างกัน คนผลิตรู้ว่าใช้วัสดุอะไร แค่คนซื้อไม่รู้ หรือถ้ารู้แค่ว่าใช้วัสดุอะไรก็จบ ลูกค้าไม่แคร์ มันต้องเล่าเรื่อง” 

 

ถ้าพูดถึงรองเท้าเน้นฟังก์ชัน บาจาถือครองเค้กก้อนใหญ่ในตลาดอยู่แล้ว วิลาสินีบอกว่านั่นคือจุดแข็ง แต่ถ้าอยากจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ต้องเล่นท่าใหม่ๆ บ้าง 

 

 

“สิ่งที่เราทำคือการบอกเล่าตัวตนที่หลายคนไม่รู้ให้รู้เพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้เวลาพูดถึงบาจาทุกคนนึกถึงแค่รองเท้านักเรียน รองเท้าแตะสีเบสิก ไม่ใช่แค่เฉพาะเมืองไทย บาจาในทุกประเทศถูกแปะป้ายว่าเป็นแบรนด์รองเท้าคุณภาพก็จริง แต่ไม่หวือหวา ขาดสีสัน ในเมื่อฟังก์ชันเราถือพระเอก เล่าเรื่องนี้ก่อน อย่าง Comfit เมื่อก่อนไม่มีการวางป้าย POP คนซื้อลองใส่แล้วนุ่มแต่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจ่ายราคานี้ เราเริ่มทำป้ายเพื่อสื่อสารว่าจุดเด่นของมันคือเทคโนโลยีคุชชัน เสริมแผ่นรอง 2 ชั้น ใช้วัสดุคุณภาพดี Memory Foam ช่วยรองรับเท้าตามหลักสรีรศาสตร์ แน่นอนว่าสินค้าดีขายตัวมันเองได้ แต่อย่าลืมว่าตอนนี้คู่แข่งเยอะ ลูกค้ามีทางเลือกเยอะ ถ้าเราไม่คุยกับเขา โดยเฉพาะกลุ่มใหม่ๆ ต่อให้สินค้าดีแค่ไหนเราก็ไม่มีทางเป็น Top of Mind ได้” 

 

เมื่อลงดีเทลแล้ว สเต็ปต่อไปคือการแตกไลน์สินค้าเพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบรนด์ “เรามีรองเท้าที่เป็น Rising Category อยู่เยอะ อย่างสนีกเกอร์ ‘North Star by Bata’ เราเลือกจับไลน์สินค้านี้ก่อนเพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราเสียไป ซึ่งเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายกับกลุ่มเป้าหมายของบาจากลาง ที่ผ่านมาบาจาไม่ได้จับตลาดนี้ทั้งๆ ที่มันเป็นตลาดที่โตมาก เลยคิดว่าเราต้องทำแคมเปญเพื่อคุยกับพวกเขา”

 

 

‘Sneakers for All’ คือแคมเปญที่เธอพูดถึง ทำขึ้นเพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของแบรนด์ในการผลิตรองเท้าผ้าใบที่มีสไตล์และสวมใส่สบายสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือลักษณะเฉพาะอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายรองเท้าสนีกเกอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น 4 เท่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทั้งในกลุ่มรองเท้า North Star (Street Sneakers) และ Power (Performance Sneakers)

 

“ตอนทำแคมเปญ Surprisingly Bata ซึ่งเป็นแคมเปญแรกที่ทำตอนเข้ามารับตำแหน่ง ตอนนั้นต้องการให้คนมองบาจามุมใหม่ ลบภาพบาจาคือรองเท้าสำหรับนักเรียนที่พอเรียนจบก็จากกัน แล้วกลับมาอีกทีตอนรับปริญญาหรือตอนแก่ พอประสบความสำเร็จเราก็ทำ ‘Sneakers for All’ ต่อทันที โดยมีเป้าหมายคือการจับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น ด้วยการนำสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้เข้ามาเพิ่มเติม และเพิ่มช่องทางการสื่อสารไปสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่นี้มากขึ้น” 

 

 

นอกจากจะคุยกับคนกลุ่มใหม่ แคมเปญ ‘Sneakers for All’ ยังเป็นกลยุทธ์ที่เธอนำมาปิดช่องว่างช่วงโลว์ซีซันของรองเท้านักเรียน 

 

“ปกติบาจาจะมีซีซันของแบรนด์ว่าช่วงไหนรองเท้านักเรียนขายดี สิ่งที่มองข้ามคือเด็กโต เลยใช้ภาพ Key Visual ของแคมเปญขึ้นทุกสาขา แทนภาพนักเรียนถือกระเป๋านักเรียนเหมือนที่คุ้นเคย เพื่อบอกว่าเราไม่ได้มีแค่รองเท้านักเรียนนะ เรามีสนีกเกอร์สำหรับเด็กโตด้วย ยิ่งตอนนี้โรงเรียนหลายแห่งยืดหยุ่นเรื่องรองเท้าผ้าใบมากขึ้น เราเองมีรองเท้ากลุ่มแคนวาสสีขาวเยอะมาก ปรากฏว่าเวิร์ก เด็กโตเริ่มรับรู้ว่าเรามีอะไรมากกว่าที่เขาคิด” 

 

จังหวะลงตัวเมื่อแคมเปญลากยาวมาถึง Pride Month บาจาเล่นต่อด้วยการเพิ่มความหลากหลายของสีสนีกเกอร์ และเพิ่มเชือกรองเท้าสีๆ เข้าไป เพื่อบอกว่าเราก็เฉลิมฉลองด้วยนะ 

 

บาจาได้ร่วมกับ ‘Feline Agency’ ของ มีมี่-มิลิน ยุวจรัสกุล ผู้คร่ำหวอดในวงการแฟชั่น และมีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน เปิดตัวแคมเปญ ‘Sneakers for All’ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบาจาในการผลิตรองเท้าผ้าใบที่มีสไตล์และสวมใส่สบายสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือลักษณะเฉพาะอื่นๆ เพื่อเฉลิมฉลองความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก ส่งข้อความอันทรงพลังของการอยู่ร่วมกันและการรักตนเอง จึงเกิดแคมเปญนี้ขึ้นมา

 

ส่วนแคมเปญ ‘Surprisingly Bata’ และ ‘Sneakers for All’ จุดยืนหลักของแบรนด์ก็คือ ‘Shoes for All’ ซึ่งเป็นปณิธานของแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลาย ความเสมอภาค และความเท่าเทียม นับตั้งแต่วันก่อตั้งแบรนด์ ถ้าเห็นไลน์รองเท้าของบาจามันชัดเจนอยู่แล้วว่าเราเป็นแบบนี้มาตลอด การที่เราหยิบคำว่า ‘Shoes for All’ มาพูดจึงเป็นเหมือนการตอกย้ำตัวตนและจุดยืนของแบรนด์ในภาษาใหม่ ให้คนเข้าใจว่าบาจาเป็นอย่างไร หรือภาพแคมเปญ ‘Sneakers for All’ ก็ชัดเจนว่านี่คือตัวแทนของเด็กที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เราสนับสนุนและส่งเสริมให้คุณมีความสุขในการเลือกรองเท้าเองได้

 

น้อยแบรนด์มากที่จะผลิตรองเท้าครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย ใส่ได้ทุกวันในทุกโอกาส คำว่า ‘All’ สำหรับบาจาจึงเหมือนคำปฏิญาณว่า จะผลิตรองเท้าคุณภาพในราคาที่จับต้องได้สำหรับทุกคน 

 

 

 

วิลาสินีบอกว่า ตลอดทั้งปีนี้จะมีแคมเปญสำหรับรองเท้าในแต่ละกลุ่มเพิ่มขึ้น เพื่อให้ภาพลักษณ์ของ ‘Shoes for All’ ชัดเจน รวมไปถึงการปรับโฉมหน้าร้านที่ออกแบบจากประสบการณ์ของลูกค้า 

 

น่าจะได้เห็นสินค้า House Band ผลิตออกมาเพื่อเจาะกลุ่มไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างครอบคลุมทุก Segment ออกมาคุยกับกลุ่มลูกค้าด้วยภาษาใหม่ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ‘Power’ แบรนด์รองเท้ากีฬา, ‘BubbleGummers’ แบรนด์รองเท้าสำหรับเด็ก, ‘Weinbrenner’ รองเท้าเอาต์ดอร์สำหรับสายลุย และ ‘Red Label’ รองเท้าส้นสูงหลากสไตล์  

 

 

“ความท้าทายของแบรนด์นี้คือมันเป็นธุรกิจที่มีตลาดทั่วโลก ฐานลูกค้าก็ใหญ่ การจะขยับตัวจึงต้องมองในหลายมิติ ถ้ากระโจนลงไปทำเลยอาจเสียฐานลูกค้ากลุ่มเดิม ต้องค่อยๆ ทำ ค่อยๆ เปิดตัว อะไรผ่านก็ไปต่อ สิ่งที่เราทำแล้วสำเร็จคือการรีโนเวตหน้าร้านใหม่ เราเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ออกแบบร้านจากประสบการณ์ของลูกค้า จากเดิมที่เดินเข้ามาแล้วไม่รู้จะไปโซนไหน ก็แยกว่าลูกค้าที่เดินเข้ามามีกี่กลุ่ม เป็นใครบ้าง แล้วแบ่งตามโซนเลย รองเท้าส้นสูง, รองเท้าผ้าใบ, รองเท้าแตะ, รองเท้าผู้ชาย, รองเท้าเด็ก หรือรองเท้าเพื่อสุขภาพ”  

 

 

“จะสังเกตเห็นว่า บางสาขาเราเลือก Red Label และสนีกเกอร์ไว้หน้าร้านให้เหมือนเป็นป้ายโฆษณา เพราะภาพแรกที่เขาเห็นมันต้องเปลี่ยน เมื่อก่อนรุ่นไหนขายดีก็โชว์หน้าร้าน พอมาทำโฟกัสกรุ๊ป ลูกค้าบอกว่าไม่เห็นบาจาเปลี่ยนไป แค่รู้สึกว่ามีสีเพิ่มขึ้น แบบเพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มเป้าหมายที่เราอยากให้เขาหันมามองก็ไม่เดินเข้ามา จึงต้องทำให้ภาพมันชัดเจนกว่านี้ กลายเป็นว่าพอปรับดีไซน์ร้านแบบนี้แล้ว คนส่วนใหญ่ที่เดินเข้ามาก็จะตรงไปที่ Red Label กับสนีกเกอร์ก่อน ซื้อหรือไม่ซื้อไม่เป็นไร เพราะเราตั้งใจให้มันทำหน้าที่ดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เข้ามา ซึ่งถ้ามองในมุมของการสร้าง Brand Image โมเดลนี้ได้คะแนนเต็ม ลูกค้าเข้าใจมากขึ้นว่าบาจากำลังไปทิศทางไหน เรามีการทำ Social Listening จากเดิมที่ไม่มีบาจาอยู่ในสารบบของออนไลน์ก็ขึ้นมาติดท็อป และเริ่มเห็นว่าคู่แข่งสนใจแล้วว่าเรากำลังทำอะไร นั่นคือสิ่งที่เราต้องการ เป็นตัววัดความสำเร็จเมื่อคนเริ่มหันมา เอ๊ะ! บาจาทำอะไร”

 

 

เครื่องมือทรงพลังอีกชิ้นที่เธอเลือกใช้คือ ‘พรีเซนเตอร์’ ไม่ว่าจะเป็นการดึง เบลล่า-ราณี แคมเปน มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง หรือสร้าง Friend of Bata โดยมี ลี-ฐานัฐพ์ โล่ห์คุณสมบัติ มาถ่ายทอดความเป็นคนยุคใหม่ที่กล้าก้าวออกจากกรอบเดิมๆ มาเลือกสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง พร้อมทั้ง Friend of Bata คู่ใหม่ ซี-พฤกษ์ พานิช และ นุนิว-ชวรินทร์ เพริศพิริยะวงศ์ เพื่อเป็นตัวแทนสื่อสารไปถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ 

 

 

วิลาสินีอธิบายเพิ่มว่า ‘Shoes for All’ ในมิติหนึ่งคือจุดยืนของสินค้า แต่ในมุมที่หลายคนไม่รู้คือวัฒนธรรมองค์กร แม้ว่าที่ผ่านมาภาพจะยังไม่ค่อยชัด แต่หลังจากนี้จะปรับสัดส่วนโครงสร้างให้หลากหลายมากขึ้นทั้งเรื่องเพศและวัย ซึ่งเป็น KPI ในทุกประเทศว่าแต่ละเลเวลต้องมีผู้หญิงในสัดส่วนเท่าไร 

 

“ข้อดีอย่างหนึ่งขององค์กรนี้คือ คนรุ่นเก่าแทบทั้งหมดรักองค์กร เขาจะคิดเสมอว่ามีทุกวันนี้ได้เพราะบาจา เราสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้ เพราะคนเหล่านี้พร้อมจะปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่าไปด้วยกัน ที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าเขาไม่อยากทำ เพียงแต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร จากที่ได้คลุกคลีกับทุกฝ่าย ทุกคนสู้ตายมาก เพราะโดยปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ยากที่สุดคือคนภายในไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเปลี่ยน ยึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ แต่โชคดีที่ผู้บริหารเข้าใจว่าถึงเราจะโตแต่ตลาดมันโตยิ่งกว่า เท่ากับว่าเรากำลังช้ากว่าคนอื่น ทำให้องค์กรมันทรานส์ฟอร์มไปได้ง่ายขึ้น” 

 

นั่นทำให้บาจาสามารถคว้ารางวัล ‘Brand Transformation of the Year’ จาก Retail Asia Awards 2023 และรางวัล ‘Most Trusted Footwear Retail Brand’ จาก Global Brand Awards 2023 ได้สำเร็จ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงและก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง  

 

 

กลยุทธ์ต่อจากนี้ บาจามุ่งรักษาฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งในต่างจังหวัดและหัวเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันก็จะขยายฐานลูกค้าใหม่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มคนเมือง วางแผนขยายสาขาเพิ่มอีก 5 สาขา เริ่มต้นที่ Silom Complex ในเดือนกรกฎาคม และ Siam Square ในช่วงสิ้นปี เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าคนรุ่นใหม่ หวังกวาดรายได้ทะลุ 3,000 ล้านบาท ให้สูงที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา 100 ปี

 

“สาขาใหม่ที่ Silom Complex จะฉีกสโตร์รูปแบบเดิมๆ เพราะเราต้องการสร้างภาพจำให้กับเจ้าของพื้นที่ด้วย ถ้าคอนเซปต์นี้เวิร์กจะใช้เป็นโมเดลสำหรับสาขาอื่นๆ ภายในห้างสรรพสินค้าใหญ่ระดับท็อปในเมือง”

 

ส่วนแกนของ Omni Channel ที่เชื่อมโยงช่องทางการขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการ วิลาสินีจะเพิ่มประสบการณ์หน้าร้านให้ว้าวยิ่งขึ้น จบปัญหาไซส์ไม่มี รุ่นที่ชอบหมด

 

“ธุรกิจรองเท้าใช้โมเดล Omni Channel ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องไปกับสถานการณ์และ Pain Point ของลูกค้า เพราะพอโควิดจบคนกลับมาที่ร้านค้า 100% เราจะทิ้งออนไลน์ไปเลยก็คงไม่ได้ ก็ปรับวิธีคิดใหม่ เอาแกนออฟไลน์เป็นหลัก โดยเฉพาะเรามีร้านอยู่ 233 สาขา จึงเน้นสร้างประสบการณ์หน้าร้านเป็นหลัก เริ่มจากการเทรนพนักงาน แล้วดึง In-Store Sale มาเป็นเครื่องมือ ซึ่งแพลตฟอร์มนี้รวมสต๊อกของทุกสาขาและคลังสินค้าเอาไว้ มันจะมาช่วยแก้ Pain Point ลูกค้าเวลาไปซื้อรองเท้าแล้วสาขานั้นๆ ไม่มีไซส์ หรือไม่มีแบบที่เคยเห็นจากสาขาอื่น จากนี้ไปทุกสาขาสามารถเช็กได้ว่าสินค้ามีที่สาขาไหน และส่งเรื่องไปที่สาขานั้นเพื่อให้เขาส่งสินค้าให้ลูกค้าถึงบ้าน” 

 

 

นอกจากนั้นยังเดินหน้าลุยระบบ CRM เพื่อสร้างรอยัลตี้กับกลุ่มลูกค้าด้วยบัตร Bata Club นำเสนอโปรโมชันพิเศษตลอดทั้งปี ผ่านการเปิดตัวสินค้าและเทคโนโลยีใหม่ “ก่อนหน้านี้ไม่มีใครรู้ว่า Bata Club คืออะไร แต่เรามีฐานสมาชิกอยู่มากถึง 2 ล้านคน เชื่อว่าเกินครึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็นสมาชิก สมัครครั้งแรกเพราะมีส่วนลด ซื้อ 1,000 บาท ได้ส่วนลด 200 บาท ใช้อีกทีก็ตอนเดือนเกิดที่ซื้อสินค้าลด 20% หลังจากนั้นก็หายไป ไม่มีใครรู้ว่าสามารถสะสมแต้มได้ ปีนี้ถือโอกาสเปิดตัว Bata Club โฉมใหม่ ที่จะพบกับประสบการณ์ใหม่ๆ และสิทธิพิเศษมากมายไปพร้อมกัน และจะถูกย้ายไปทำบน LINE ทั้งหมด ตั้งแต่การสมัครสมาชิก ดูแต้ม และรับคูปอง พร้อมกันนี้ยังเตรียมพัฒนาระบบเพื่อรองรับ ‘Pocket Franchise’ ระบบแฟรนไชส์ที่ต่อยอดมาจากโมเดล Franchise Stores ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2565 เปิดโอกาสให้นักธุรกิจหรือผู้ที่สนใจร่วมลงทุนเปิดร้านสาขาบาจา  

 

“‘Pocket Franchise’ จะเป็น Pilot Project ที่จะเปิดตัวได้ในไตรมาส 3 ตอบโจทย์คนที่อยากทำธุรกิจรองเท้าแต่ยังไม่พร้อมลงทุนก้อนใหญ่ หลังจากสมัครเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์แล้ว เราจะมี Virtual Store และส่งลิงก์ให้ คุณก็แค่เอาไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดียของตัวเอง ถ้ามีคนซื้อรองเท้าก็ได้เงินไปเลย”  

 

ทั้งหมดนี้คือเป้าหมายและกลยุทธ์ที่จะได้เห็นต่อจากนี้ แต่เมื่อถามถึงเป้าหมายระยะยาวเธอบอกว่า “อยากให้บาจาเป็นเบอร์หนึ่งในวงการรองเท้า

 

“ท้าทายแต่ต้องทำให้ได้ และเชื่อว่าบาจาขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งได้อย่างแน่นอน เพราะมีจุดเด่นหลายอย่าง ทั้งคุณภาพ ความหลากหลาย และราคา ซึ่งถือเป็น Magic ซื้อเมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องรอเซลล์ และแทบจะไม่เห็นบาจาลงเล่นในสงคราม Sale เลย จะบอกว่าเป็นกลยุทธ์ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว แต่พอดีว่าเราเริ่มต้นมาด้วยการตั้งราคาที่จับต้องได้ สมเหตุสมผล เพราะจุดยืนของเราคือ ‘Shoes for All’ รองเท้าสำหรับทุกคนในราคาที่จับต้องได้” ซีอีโอหญิงคนแรกของ บาจา ประเทศไทย กล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X