เกิดอะไรขึ้น:
SCBS ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 2Q22 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ภายใต้การวิเคราะห์ของ SCBS
กระทบอย่างไร:
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร (SETBANK) ปรับตัวลดลง 1.99%MoM ขณะที่ SET Index ปรับตัวลดลง 5.72%MoM
พรีวิวผลประกอบการ 2Q22:
SCBS คาดการณ์กำไรสุทธิ 2Q22 ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ในระดับทรงตัว QoQ และเพิ่มขึ้น 2%YoY แต่กำไรปกติ (ไม่รวมกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้น TIDLOR ใน 2Q21 ของ BAY) จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 22%YoY ทั้งนี้กำไรสุทธิที่อยู่ในระดับทรงตัว QoQ จะได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และ NIM ในระดับทรงตัว ซึ่งจะช่วยชดเชยการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่กำไรสุทธิที่ฟื้นตัว YoY ส่วนใหญ่จะเกิดจากการตั้งสำรองลดลง และ NII ที่เพิ่มขึ้น โดยจะถูกฉุดรั้งบางส่วนจาก Non-NII ที่ลดลง โดยสรุปประเด็นสำคัญจากพรีวิว 2Q22 ได้ดังนี้
- การตั้งสำรอง: คาดว่ากลุ่มธนาคารจะตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ (เพื่อเฝ้าระวังแรงกดดันเงินเฟ้อ) แต่จะลดลง YoY ขณะที่คาดว่า NPL จะเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะสั้น แต่จะยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้
- การเติบโตของสินเชื่อ: สินเชื่อของกลุ่มธนาคารเติบโต 0.2%MoM 5.5%YoY และ 1.5%YTD ในเดือนพฤษภาคม โดยได้แรงหนุนส่วนใหญ่จากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อรายย่อย
- NIM: คาดว่า NIM จะลดลงเล็กน้อย QoQ เนื่องจากคาดว่าผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อจะได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากโครงการปรับโครงสร้างหนี้ในระยะยาว
- Non-NII: คาดว่า Non-NII จะลดลง QoQ โดยมีสาเหตุมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับตลาดทุนที่ลดลง และกำไรจากเครื่องมือทางการเงินและเงินลงทุนที่ลดลง และ YoY โดยมีสาเหตุมาจากกำไรที่เกิดขึ้นครั้งเดียวที่ลดลง
- OPEX: คาดว่า OPEX จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ และ YoY
นอกจากนี้ ธปท. ยกเลิกการจำกัดอัตราจ่ายเงินปันผล โดยเมื่อวานนี้ (30 มิถุนายน) ธปท. ได้ประกาศยกเลิกการจำกัดอัตราจ่ายเงินปันผล จากเดิมที่จำกัดอัตราการจ่ายไม่เกิน 50% ของกำไรสุทธิประจำปี เนื่องจากผลการทดสอบระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ภายใต้ภาวะวิกฤตชี้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่ง มีเงินกองทุนและเงินสำรองเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงในระยะข้างหน้า ซึ่ง SCBS คาดว่าธนาคารส่วนใหญ่จะปรับเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2022 แต่จะยังไม่กลับคืนสู่ระดับปี 2019
แนวโน้มผลประกอบการในปี 2022:
SCBS ประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะฟื้นตัว 13% ในปี 2022 (17% หากตัดกำไรจากการขายหุ้น TIDLOR ของ BAY ออกไป) โดยได้รับการสนับสนุนจากการคาดการณ์ว่า Credit Cost จะลดลง 24 bps พร้อมกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวแย่ลงในระดับที่สามารถจัดการได้ โดยที่ปัญหานี้จะบรรเทาลงได้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวแบบเบ็ดเสร็จ
สินเชื่อที่เติบโต 5%, NIM ในระดับทรงตัว (ผลกระทบเชิงลบจากการปรับโครงหนี้ระยะยาวแบบเบ็ดเสร็จจะได้รับการชดเชย จากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนสินเชื่อมามีสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ให้ผลตอบแทนสูงมากขึ้น), Non-NII ที่ลดลง (กำไรที่เกิดขึ้นครั้งเดียวลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมค่อนข้างทรงตัว) และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลงเล็กน้อย (รายได้ดีขึ้น และสามารถควบคุม OPEX ได้)
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีแนวโน้มปรับขึ้นเร็วกว่าคาด SCBS ได้ปรับประมาณการเพื่อสะท้อนการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้น 50 bps เป็น 1% ใน 2H22 และปรับขึ้น 100 bps เป็น 2% ในปี 2022 เรียบร้อยแล้ว
โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นบวกเล็กน้อยต่อ NIM ของธนาคารขนาดใหญ่ แต่จะเป็นลบต่อ NIM ของธนาคารที่มีเงินให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ (สินเชื่อเช่าซื้อ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล) ในสัดส่วนสูง และเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ (CASA) ในสัดส่วนต่ำอย่าง TISCO, KKP และ BAY ซึ่งคาดว่าธนาคารต่างๆ จะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยการปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 23 bps กลับสู่ระดับปกติที่ 0.46%
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันราคาหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มี Valuation ไม่แพง โดยเทรดที่ P/BV ระดับ -1SD ถึง -2SD เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต โดย SCBS เลือกหุ้นเด่นของกลุ่มคือ BBL ซึ่งมีความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำที่สุด และเป็นหุ้น Laggard Play และ KBANK ซึ่งเป็นผู้นำด้านดิจิทัลแบงกิ้ง และสินเชื่อเติบโตโดดเด่น
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
- Twitter: twitter.com/standard_wealth
- Instagram: instagram.com/thestandardwealth
- Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP