ในขณะที่โลกกำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าทุกวัน มีนักศึกษาก้าวเท้าเข้าสู่ระบบการศึกษามหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ตัวเลขนักศึกษาที่จบแล้วไม่มีงานทำก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงและมีนัยยะสำคัญ
จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปว่างงาน 253,000 คน ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วถึง 57,000 คน ในจำนวนนั้นเป็นบัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษามากกว่า 1 แสนคน ถ้าเทียบกับจำนวนบัณฑิตจบใหม่ทั้งประเทศประมาณ 4 แสนคนต่อปี นั่นเท่ากับว่าหากเดินไปคุยกับบัณฑิตจบใหม่ 4 คน 1 ในนั้นจะไม่มีงานทำ
คำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ ทั้งๆ ที่เรากำลังประกาศตัวว่ากำลังจะเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 แน่นอนว่า ‘บัณฑิตจบใหม่’ คือกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน แต่เพราะเหตุใดพวกเขาเหล่านี้จึงยังไม่มีแม้แต่โอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาตรงนั้นด้วยซ้ำ
นอกจากเรื่อง ‘ระบบ’ และ ‘โครงสร้าง’ การของการศึกษาที่คงต้องพูดกันอีกยาวเหยียด เราขอโฟกัสไปที่ฟันเฟืองสำคัญอย่างตัว ‘นักศึกษา’ เป็นอันดับแรก ไม่ใช่เรื่องความสามารถ แต่เป็นเรื่อง ‘ความต้องการ’ หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า ‘ความฝัน’ กับเส้นทางที่จะเลือกเดินในอนาคต
มีคำพูดให้ได้ยินมาตลอดเวลาทำนองว่า “เด็กไทยไร้หลักแหล่ง ค้นหาตัวตนไม่พบ ไม่รู้จักความชอบของตัวเอง” แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปกว่านั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่พวกเขาอาจไม่ต้องค้นหาความชอบหรือถนัด พวกเขารู้จักตัวเองมาตลอด เพียงแต่ยังไม่มีที่ไหนสามารถซัพพอร์ตความชอบของเขามากกว่า
เหมือนที่อาจารย์เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดไว้อย่างน่าสนใจว่า “มีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล อาชีพที่คนเป็นพ่อแม่รุ่นเราไม่เคยได้ยินมาก่อน ยุคนี้เป็นยุคที่ลูกหลานของเราจะเติบโตไปทำงานใช้ชีวิต มหาวิทยาลัยต้องตอบสนองความต้องการในจุดนี้
“และคนรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องเดินทางตามรอยเท้าในอดีต” นี่คือสิ่งที่เขาเชื่อมั่นมาตลอดและพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้มหาวิทยาลัยของเขาทำอย่างนั้นได้จริง
เราพูดกันอยู่ซ้ำๆ ว่า ผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ชอบ แต่ตัดภาพมาในโลกความจริง จะมีสักกี่แห่งที่สามารถช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ความฝันอยากเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักออกแบบเกมอันดับหนึ่ง อยากเป็นสุดยอดคนทำ 3D Animation อยากทำธุรกิจเจาะตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ อยากเป็นนักวางแผนการเงินการลงทุนที่เฉียบขาด อยากทำงานออนไลน์ร่วมกับกูเกิล หรืออยากเป็นเชฟที่โด่งดังไปถึงระดับโลก และอีกสารพัดเส้นทางในอนาคตที่แทบไม่มีใครสอน นอกจากพวกเขาต้องไปลองผิดลองถูกด้วยตัวเองจนบอบช้ำ และอาจถึงขั้นปล่อยมือจากความฝันนั้นไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่ความต้องการของพวกเขานั้นสอดคล้องกับทิศทางที่โลกกำลังหมุนไปสู่อนาคต
หน้าที่ของผู้ใหญ่และระบบการศึกษาในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล จึงไม่ใช่การ ‘วางกรอบ’ ให้พวกเขาเลือกเดิน แต่เป็นการ ‘สนับสนุน’ และสร้างทางเลือกที่หลากหลายและมีคุณภาพเพื่อทำให้นักศึกษามี ‘อาวุธ’ ทางความรู้ที่เพียงพอในการนำความชอบของเขาไปประกอบอาชีพและพัฒนาประเทศต่อไป
เมื่อพูดถึงโครงสร้างใหญ่ไปแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต่อมา คือปัจจัยพื้นฐานที่ต้องสอดรับไปกับการศึกษายุคใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เพราะจะมีประโยชน์อันใดที่เราจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล แต่นักศึกษายังต้องเรียนจากตำราฝุ่นเขรอะ การให้ความรู้แบบเน้นยกมือจด มากกว่ายกมือถาม เน้นการพูดให้ฟัง มากกว่าช่วยกันถกเถียงวิเคราะห์ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีน้อย ตกยุค และไร้ประสิทธิภาพ ก่อนจะจบที่การวัดผลด้วยข้อสอบแบบปรนัยที่ตัวเลือกแค่ 5 ข้อ ทั้งที่ในชีวิตจริงนักศึกษาทุกคนจะต้องเจอกับทางเลือกที่หลากหลายและกว้างกว่านั้นอีกหลายเท่าตัว
ถ้าพิจารณาดูให้ดี จะเห็นว่ามีอะไรมากมายเหลือเกินที่นักศึกษารุ่นใหม่ควรจะได้รับ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานสู่โลกแห่งความเป็นจริง นอกเหนือจากใบปริญญาแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆ ที่ถูกแขวนไว้ข้างฝา
อาจจะเหมือนกับที่อาจารย์เพชรได้พูดไว้อีกครั้งว่า “อย่ามาเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อเอาแค่ใบปริญญา แต่จงเรียนเพื่อเพิ่มความรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ เพื่อไปให้ถึงงานที่อยากจะทำ”
และเขากำลังทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น ในมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่เขาดูแลด้วยตัวเอง
8 คณะใหม่ เพื่อปั้นนักศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
1. คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ เจาะลึกเรื่อง 3D Animation, Visual Effects, Digital Photography, Sound & Music Production for Digital Media ที่ได้ร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับสถาบันด้านภาพยนตร์ระดับโลก Vancouver Film School
2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงตอบโต้ มีศูนย์บ่มเพาะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โมบายล์แอปพลิเคชัน และออกแบบเกม เรียนรู้ร่วมกับบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น Garena
3. คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชา Innovative Media Production หลักสูตรนานาชาติ เรียนรู้การผลิตคอนเทนต์แนวใหม่สำหรับสื่อออนไลน์ เตรียมพร้อมให้ก้าวไปสู่การเป็น Media Entrepreneur
4. คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (มุ่งเน้นธุรกิจจีน) เป็นหลักสูตรมุ่งสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญธุรกิจจีน การเรียนการสอนเน้นฝึกปฏิบัติจริงและลงมือทำธุรกิจจริงในประเทศจีน
5. คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน หลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย และร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรียนจบมีงานทำ 100%
6. คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาดดิจิทัล เป็นมหาวิทยาลัยแรกของไทยที่เปิดสอนด้านการตลาดดิจิทัลโดยตรงในระดับปริญญาตรี ปฏิบัติงานจริงกับภาคธุรกิจ และดิจิทัลเอเจนซีชั้นนำ
7. คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีความร่วมมือกับ Babson มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งด้านการสร้างเจ้าของธุรกิจระดับโลก
8. คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว สาขาวิชา Culinary Arts & Design หลักสูตรนานาชาติปั้นเชฟระดับโลก
ผู้ที่สนใจติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.bu.ac.th