‘โรคหัวใจ’ ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขล่าสุดพบว่า ปี 2566 มีผู้ป่วยสะสมด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2.5 แสนราย และเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 4 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 5 คน
ในขณะที่อุบัติการณ์โรคหัวใจยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นวัตกรรมการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจเพื่อลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด และลดอัตราการเสียชีวิตก็ไม่หยุดพัฒนาเช่นกัน โดยเฉพาะนวัตกรรมการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก
นพ.เกรียงไกร เฮงรัศมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เผยว่า “ผู้ป่วยยุคใหม่โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ ผู้มีโรคซับซ้อน รวมไปถึงกลุ่ม Medical Tourism ต้องการลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดใหญ่ จึงมองหานวัตกรรมการรักษาที่ให้ความแม่นยำและปลอดภัยสูง เจ็บแผลน้อย พักรักษาตัวสั้นและฟื้นตัวเร็ว”
นพ.เกรียงไกร เฮงรัศมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
‘โรงพยาบาลกรุงเทพ’ โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคหัวใจและทรวงอกแห่งแรกของไทย จึงทุ่มงบใหญ่ยกระดับขีดความสามารถการผ่าตัดโรคหัวใจแผลเล็กครบวงจร เดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ ‘Our 20-Year Heart Journey 2025’ ปักธงสู่การเป็น ‘ศูนย์กลางนวัตกรรมหัวใจระดับโลก’ และ ‘ศูนย์กลางการผ่าตัดหัวใจแผลเล็กแห่งเอเชีย’ (Minimally Invasive Cardiac Surgery – MICS) สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบาย Medical Hub ของรัฐบาล ในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ภายใต้หลักการ ‘Minimal Access. Maximum Recovery’ แผลเล็ก ผลลัพธ์ยิ่งใหญ่ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย
กางแผนยุทธศาสตร์ ‘Our 20-Year Heart Journey 2025’
งบลงทุนใหญ่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ‘Our 20-Year Heart Journey 2025’ จะถูกนำไปเพิ่มขีดความสามารถการผ่าตัดโรคหัวใจแผลเล็กครบวงจร ครอบคลุมการพัฒนา 3 มิติหลัก ได้แก่
- พัฒนาบุคลากรเฉพาะทาง ทั้งแพทย์และพยาบาลผู้ชำนาญการในเทคนิคผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจแผลเล็ก ‘MICS CABG’ และผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจแผลเล็กผ่านกล้อง 3 มิติ ‘Totally 3D Endoscopic Valve Surgery’ รวมถึงทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดูแลส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยแบบองค์รวม
- ลงทุนในเทคโนโลยีและอุปกรณ์การผ่าตัดล้ำสมัยที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการผ่าตัดแผลเล็ก
- ปรับปรุงห้องผ่าตัด (Operating Theater) ทั้งด้านสถานที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์เฉพาะสำหรับ ‘MICS CABG’ และ ‘Totally 3D Endoscopic Valve Surgery’ ให้มีมาตรฐานสูงสุด
นพ.เกรียงไกร เผยว่า การเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ยังตอกย้ำความแข็งแกร่งของโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพในฐานะผู้นำภูมิภาคอาเซียน และสอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็น ‘ศูนย์กลางนวัตกรรมหัวใจระดับโลก’ โดยมีเทคโนโลยีการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจแผลเล็ก ‘MICS CABG’ และการผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจแผลเล็กผ่านกล้อง 3 มิติ ‘Totally 3D Endoscopic Valve Surgery’ มาต่อยอดจุดแข็งของโรงพยาบาล
“เราวางตัวเองเป็น ‘Medical Cardiac Center of Excellence’ ศูนย์กลางเทคโนโลยีการแพทย์และบุคลากรคุณภาพระดับโลก ที่มีความเป็นเลิศด้านโรคหัวใจในเอเชียด้วยเทคนิคการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก Minimally Invasive ครบวงจร ทำให้เราสามารถเสนอ ‘Minimal Access. Maximum Recovery’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
“และด้วยศักยภาพของทีมแพทย์เฉพาะทางที่ผ่านการฝึกอบรมจากต่างประเทศ พร้อมห้องผ่าตัดที่ติดตั้งเทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการผ่าตัดหัวใจแผลเล็กโดยเฉพาะ ผนวกกับการลงทุนในบุคลากรสหสาขา อุปกรณ์และเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย ไปจนถึงคุณภาพการรักษาระดับพรีเมียมพร้อมการดูแลแบบองค์รวม ภายใต้มาตรฐานสากลด้วยความใส่ใจแบบไทย ข้อได้เปรียบนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ให้ประเทศไทยในฐานะ Medical Hub ที่เป็นทั้งจุดหมายในการมารับการรักษาโรคหัวใจที่ซับซ้อน และเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีการแพทย์และบุคลากรคุณภาพระดับสากล สร้างความไว้วางใจให้ผู้ป่วยคนไทยและผู้ป่วยจากต่างประเทศทั่วโลกสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และแม่นยำ”
“ประเทศไทยได้เปรียบด้านความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย อัตราค่ารักษาที่เหมาะสม และการบริการที่อบอุ่น ที่ผ่านมา โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ก็ได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยต่างชาติทั้งจากอาเซียน ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆ เรายังมุ่งต่อยอดสู่โอกาสทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรม Medical Tourism พร้อมเป้าขยายบริการในอนาคตไปยังโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์หัวใจขนาดใหญ่ในเครือ BDMS ที่มีศักยภาพรองรับ MICS ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยในภูมิภาคต่างๆ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี นี้ได้อย่างสะดวกมากขึ้น โดยจะมีการถ่ายทอดความรู้และมาตรฐานการรักษาจากโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ”
‘MICS CABG’ และ ‘Totally 3D Endoscopic Valve Surgery’ คืออะไร? ทำไมถึงเป็นกุญแจสำคัญยกระดับการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก
‘MICS CABG’ หรือ Minimally Invasive Cardiac Surgery Coronary Artery Bypass Grafting เป็นนวัตกรรมการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจแผลเล็ก โดยไม่ต้องตัดกระดูกหน้าอกออก มีขนาดของแผลที่เล็กลง ช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด อีกทั้งยังฟื้นตัวได้เร็ว และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
‘MICS CABG’ การผ่าตัดรักษาบายพาสหลอดเลือดหัวใจแผลเล็ก
“การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจแผลเล็ก MICS CABG แพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษเปิดแผลขนาดเล็กบริเวณซี่โครง หรือใต้ราวนมด้านซ้าย แทนการผ่าตัดเปิดกระดูกหน้าอกแบบเดิม จากเดิมขนาดแผล 15-30 ซม. จะเหลือเพียง 7-10 เซนติเมตร โดยใช้เทคนิค ‘แผลเล็ก’ จะทำการผ่าตัดบริเวณซี่โครงด้านซ้ายและไม่ต้องใช้เครื่องหัวใจ-ปอดเทียม (Off-Pump) ลดความเสี่ยงจากการเสียเลือดและอาการแทรกซ้อน แต่ให้ผลลัพธ์ทางคลินิกที่เทียบเท่าการผ่าตัดแบบเปิดอก ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องพักฟื้นนาน เหมาะที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน”
เทคนิค ‘Totally 3D Endoscopic Valve Surgery’ การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจแผลเล็กผ่านกล้อง 3 มิติ
“อีกหนึ่งเทคนิคที่ตอบโจทย์ ‘แผลเล็ก ผลลัพธ์ยิ่งใหญ่’ คือ ‘Totally 3D Endoscopic Valve Surgery’ ซึ่งเป็นเทคนิคที่พัฒนาโดยทีมแพทย์ของโรงพยาบาล เป็นการผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจแผลเล็กผ่านกล้อง 3 มิติ ที่ให้ภาพคมชัดในพื้นที่แคบ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ยากต่อการผ่าตัดเมื่อมองด้วยตาเปล่า ผ่านแผลเล็กเพียง 4-5 ซม. ช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ต้องผ่าเปิดกระดูกหน้าอก ผู้ป่วยจะฟื้นตัวไว ลดภาวะแทรกซ้อนและผลข้างเคียงจากการผ่าตัด และให้ผลลัพธ์ที่เทียบเท่าการผ่าตัดแบบเปิดอก”
นพ.เกรียงไกร ยังบอกด้วยการผ่าตัดแบบ ‘MICS CABG’ และ ‘Totally 3D Endoscopic Valve Surgery’ เป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดระยะเวลาในการพักฟื้นให้สั้นลง และเป็นมิตรกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น แต่จำเป็นต้องดำเนินการโดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่ผ่านการฝึกอบรมและมีประสบการณ์การผ่าตัดหัวใจแผลเล็กมาโดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตามทั้ง 2 เทคนิคไม่ได้แทนที่การผ่าตัดแบบเดิมทั้งหมด แต่เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ป่วยลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (ASD) ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในหัวใจที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดกระดูกอกตรงกลาง รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจากการผ่าตัดใหญ่ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยมีโรคซับซ้อน และผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นตัวและกลับมาทำกิจกรรมประจำวันได้เร็ว ต้องการแผลผ่าตัดเล็กและสวยงาม
“กลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่มผู้ป่วยไทยที่ต้องการการรักษาที่ให้ ‘แผลเล็ก ผลลัพธ์ยิ่งใหญ่’ และกลุ่ม Medical Tourism ที่มองหานวัตกรรมการรักษาล้ำสมัย เจ็บน้อย พักสั้น คุณภาพการรักษาระดับพรีเมียม พร้อมการดูแลแบบองค์รวม แม้ว่าค่ารักษาจะสูงกว่าการผ่าตัดแบบเดิมเล็กน้อย แต่เมื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้ ระยะเวลาพักฟื้นที่สั้นกว่า และคุณภาพชีวิตที่ได้หลังการผ่าตัดอย่างไรก็คุ้มค่ากว่าแน่นอน ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับต่างประเทศราคาในการรักษาของเราแข่งขันได้” นพ. เกรียงไกร กล่าว
ก้าวต่อเพื่อ ‘ยกระดับความไว้ใจ’ เรื่อง ‘โรคหัวใจ’ ในฐานะผู้นำตัวจริง
เมื่อถามถึงแผนการตลาดต่อจากนี้ นพ. เกรียงไกร เผยว่ากำลังเดินหน้าแผนการตลาดเชิงรุกในกลุ่มประเทศเป้าหมาย โดยเน้นการสื่อสาร ‘Minimal Access. Maximum Recovery’ และความเป็นเลิศในการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรทางการแพทย์ การจัดกิจกรรมทางวิชาการ และการประชาสัมพันธ์ในงานแสดงสินค้าทางการแพทย์ระดับนานาชาติ และตัวแทนของเราในต่างประเทศ
สำหรับแผนการลงทุนในอนาคต ยังคงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมการแพทย์เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับผู้ป่วยทั้งชาวไทยและช่างต่างชาติ อีกไม่นานเราอาจได้เห็นการผ่าตัดหัวใจโดยใช้หุ่นยนต์ (Robotic-Assisted Heart Surgery) เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
ขาดไม่ได้เลยคือ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการฝึกอบรมในต่างประเทศ การเชิญผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้ และการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับแพทย์จากภูมิภาค เพื่อยกระดับมาตรฐานการผ่าตัดหัวใจแผลเล็กในภูมิภาคเอเชีย
ทำความรู้จัก การผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก Minimally Invasive Cardiac Surgery (MICS) เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ bangkokhospital.com/MICS