×

สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ ชุมนุมเรียกร้องเงินช่วยเหลือจากพิษเศรษฐกิจ ทบทวนข้อพิพาทพนักงาน

โดย THE STANDARD TEAM
12.01.2023
  • LOADING...

วานนี้ (11 มกราคม) สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ นัดชุมนุมบริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สีลม เพื่อเร่งรัดการพิจารณาเงินช่วยเหลือของพนักงานจากพิษเศรษฐกิจและข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับการทำงาน 

 

โดยออกแถลงการณ์ถึงเพื่อนสมาชิกสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ ได้ยื่นข้อเรียกร้องประจำปี 2565 จำนวน 15 ข้อ ต่อ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และต่อมาได้มีการเจรจากับผู้แทนธนาคารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ธนาคารไม่ยินยอมเจรจาในห้องประชุม) จนมาถึงวันนี้มีการเจรจาไปแล้วทั้งสิ้น 18 ครั้ง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้

 

โดยธนาคารพิจารณาข้อเรียกร้องด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่พนักงานที่เกษียณอายุปี 2565 ในอัตรา 200,000 บาทตามหลักเกณฑ์เดิม ไม่ยินยอมเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใหม่ตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ ที่ขอให้ธนาคารกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือแก่พนักงานที่เกษียณอายุในปีถัดไปให้ชัดเจน

 

ต่อมาวันที่ 31 สิงหาคม 2565 สหภาพแรงงานฯ ได้นำปัญหาความเดือดร้อนของพนักงานซึ่งเป็นสมาชิกทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นผลให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ อันเนื่องมาจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ให้ผู้แทนเจรจาธนาคารทราบ พร้อมนำเสนอข้อเรียกร้องเรื่องเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นวาระเร่งด่วน แต่กลับไม่ได้รับสนองตอบเช่นกัน

 

โดยเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2566 ผู้แทนเจรจาของธนาคารแจ้งว่า ข้อเรียกร้องเรื่องเงินช่วยเหลือค่าครองชีพตามที่สหภาพแรงงานฯ ยื่นไว้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของธนาคาร ส่วนข้อเรียกร้องเรื่องเงินช่วยเหลือเดือนมกราคม 2566 ที่ขอให้ธนาคารจ่ายในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้าง ต้องรอประกาศผลประกอบการของธนาคารก่อน

 

จนถึงวันนี้ สหภาพแรงงานฯ ได้เจรจาข้อเรียกร้องกับผู้แทนเจรจาธนาคารครบทั้ง 15 ข้อแล้ว ดังนั้นสหภาพแรงงานฯ จะรอคำตอบจากผู้แทนเจรจาธนาคารว่าธนาคารจะพิจารณาตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ หรือไม่ ประการใดบ้าง 

 

หากข้อเรียกร้องใดธนาคารไม่ตกลง ธนาคารต้องมีเหตุผลอย่างเพียงพอสมเหตุสมผลเป็นที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ในแถลงการณ์ยังระบุในส่วนของข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงานด้วย

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X