×

ออสเตรเลียเดิมพันครั้งใหม่! รัฐบาลทุ่ม 4 แสนล้านบาทวิจัยแร่หายาก หวังชนะในสมรภูมิ Geopolitics สู่ผู้นำซัพพลายเชน ‘ชิป-EV-แบตเตอรี่’ ระดับโลก

08.01.2024
  • LOADING...
ออสเตรเลีย

นานาประเทศเริ่มแสวงหาทรัพยากรแร่กันมากขึ้น เช่นเดียวกับรัฐบาลออสเตรเลียที่ยอมทุ่มกว่า 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 4 แสนล้านบาท ในการวิจัยแร่หายาก เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมต้นน้ำป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ พลังงานสะอาด หรือนี่อาจเป็นจังหวะช่วงชิงโอกาสจากปัญหา Geopolitics สู่การเป็นประเทศผู้ผลิตระดับโลกในอนาคตหรือไม่ 

 

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียจัดสรรเงิน 22 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (หรือ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับการวิจัยแร่หายากและแร่ธาตุที่สำคัญ โดยแผนดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลประเทศในการเป็นจัดหาผู้ผลิตและจัดหาห่วงโซ่อุปทานพลังงานสะอาดของโลก และเพื่อเดินหน้าไปสู่การเป็นประเทศที่ลดคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 

 

โดยงานวิจัยใหม่นี้จะช่วยให้ออสเตรเลียพัฒนาแร่หายาก ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อป้อนให้กับการผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ไฟฟ้า (EV), แบตเตอรี่ หรือการผลิตกังหันลม

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

นอกจากนี้แพ็กเกจการลงทุนมหาศาลครั้งนี้มี 2 เป้าหมายหลัก คือ การเดิมพันในการเป็นประเทศผู้ผลิตห่วงโซ่อุปทานของโลก ที่นานาประเทศรวมถึงออสเตรเลียต่างกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การลงทุนอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว และเพื่อลดการพึ่งพาจีนซึ่งเป็นทั้งซัพพลายเออร์ทรัพยากรแร่รายหลักและเป็นรายใหญ่ของโลก 

 

อย่างไรก็ตาม การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากจีนกลับมาเข้มงวดการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีที่ใช้ในการเปลี่ยนแร่หายากให้เป็นแม่เหล็กถาวร ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องยนต์ EV และกังหันลมอีกด้วย

 

ทั้งนี้ การลงทุนวิจัยรัฐบาลออสเตรเลียจะแบ่งออกเป็น 3 โครงการ ดังนี้ 

 

ส่วนแรก มูลค่ากว่า 14 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียจะมอบให้กับองค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งออสเตรเลีย (ANSTO) สำหรับการทำวิจัยเพื่อเร่งการค้นพบ การสกัด และการแปรรูปธาตุหายากจากแหล่งสะสมคุณภาพต่ำ

 

ส่วนอีก 5 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียจะมอบให้กับองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม (CSIRO) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐบาล โดยจะพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาและองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมปลายน้ำสำหรับโลหะ ซึ่งนอกจากแร่หายากแล้วยังรวมถึงลิเทียมและทังสเตนด้วย  

 

และส่วนสุดท้ายมูลค่า 2.7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียจะมุ่งไปที่การสำรวจการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศสำหรับแกลเลียม เจอร์เมเนียม และอินเดียม ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีองค์ประกอบสำคัญในการผลิตชิป และเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่จีนควบคุมการส่งออกเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศโลก ประกอบกับแร่ธาตุที่สำคัญและแร่หายากได้กลายมาเป็นประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยจีนยังคงประเทศมหาอำนาจด้านการจัดหา การแปรรูป และการกลั่น ขณะเดียวกันประเทศแถบตะวันตกและประเทศอื่นๆ ก็เริ่มมองหาทางเลือกอื่นเพื่อลดการพึ่งพาจีน

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายประเทศจะพยายามลดช่องว่างกับจีน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งหรือเป็นไปไม่ได้ โดยนักวิเคราะห์ระบุว่า ประเทศจีนครองสัดส่วนการผลิตถึง 70% ของอุปทานแร่หายากทั่วโลก และ 85% จีนเป็นผู้แปรรูปแร่หายาก ยังไม่นับรวมอีก 90% ที่จีนก็เป็นผู้ผลิตแม่เหล็กหายาก

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X