วันนี้ (24 ตุลาคม) กลุ่มราษฎรแถลงข่าวในชื่อ ‘ราษฎรประสงค์ ยกเลิก 112’ ที่บริเวณหน้าลานศาลฎีกา โดยมีแกนนำกลุ่มราษฎร เช่น มายด์-ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล, รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, สมยศ พฤกษาเกษมสุข และ ลูกนัท-ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย มาร่วมกันแถลง
ใจความสำคัญของการแถลงวันนี้คือการอ่านแถลงการณ์ที่ระบุว่าเป็นการชี้ถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 10 ข้อ ดังนี้
- มาตรา 112 ใครแจ้งความก็ได้ เนื่องจาก มาตรา 1 12 อยู่ในหมวดความนั่นคงแห่งรัฐ ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเป็นผู้กล่าวโทษในคดีได้ และนำไปสู่การฟ้องกลั่นแกล้งกัน
- มาตรา 112 มีอัตราโทษสูง เนื่องจาก มาตรา 112 กำหนดอัตราโทษจำคุกไว้ที่ 3 ถึง 15 ปี ซึ่งเป็นอัตราโทษเดียวกับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา และมีโทษสูงสุดสูงกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทบุอคลธรรมดาหลายเท่า
- มาตรา 112 ไม่มีชอบเขตชัดเจน เนื่องจาก มาตรา 112 ได้รวมทั้งการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย เข้ามาเป็นความผิดในมาตราเดียวกัน ทำให้ยากต่อการตีความขอบเขต
- มาตรา 112 ไม่คุ้มครองการติชมโดยสุจริต เนื่องจาก มาตรา 112 ไม่มีการคุ้มครองการแสดงความคิดเห็นที่เป็นการติซมสุจริต หรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งโดยหลักแล้วต้องได้รับการคุ้มครอง
- มาตรา 112 มีการบังคับใช้อย่างความกว้างขวาง เนื่องจากมาตรา 112 มีบทบัญญัติที่ไม่ได้ให้ขอบเขตที่ชัดเจน ทำให้เกิดการตีความบังคับใช้อย่างกว้างขวาง
- มาตรา 112 ทำให้เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ เนื่องจาก มาตรา 12 อยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐ ทำให้กระบนการยุติธรรมไม่กล้าปกป้องสิทธิผู้ต้องหา เช่น การให้สิทธิ์ในการประกันตัว
- มาตรา 112 ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้ เนื่องจาก จำเลยคดีมาตรา 112 จำบวนมากจะไม่ได้ประกันตัวในระหว่างการพิจารณาแล้ว การแสวงหาพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมักเป็นไปได้ยาก และนำไปสู่ภาวะจำยอมรับสารภาพ
- มาตรา 112 มีโทษหนักเบาตามสถานการณ์การเมือง เนื่องจากมาตรา 112 เป็น ‘คดีนโยบาย’ ที่แปรผันตามผู้มีอำนาจรัฐ ซึ่งชัดต่อหลักการปกครองด้วยกฎหมาย หรือหลักนิติธรรม
- มาตรา 112 สร้างผลกระทบต่อสังคม เนื่องจาก ปัญหาของตัวบทและการบังคับใช้มาตรา 112 ได้นำไปสู่บรรยากาศการแห่งความกลัวในการใช้เสริภาพในการแสดงออก
- มาตรา 112 สร้างผลกระทบต่อสถาบันฯ เนื่องจากปัญหาของตัวบทและการบังคับใช้มาตรา 112 จึงส่งผลให้การวิพากษ์วิจารณ์หรือการติชมโดยสุจวิตต่อสถาบันทำไม่ได้ หรือตรวจสอบไม่ได้
“ภาคประชาชนในนามกลุ่มราษฎร จึงมีความประสงค์ในการเชิญชวนประชาชนให้มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์และขับเคลื่อนให้มีการยกเลิกมาตรา 112 เพื่อสร้างบรรทัดฐานสิทธิเสรีภาพตาม หลักประชาธิปไตยสากล โดยทางกลุ่มราษฎรจะใช้สิทธิตามรัฐรรมนูญ ทำกิจกรรมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือการลงลายมือชื่อของสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอร่างกฎหมายยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อสภา” ส่วนหนึ่งของแถลงการระบุ
ปนัสยา กล่าวทิ้งท้ายว่า ในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ที่แยกประสงค์ จะเป็นวันเริ่มต้นก้าวแรกของการรณรงค์เพื่อยกเลิก มาตรา 112 และกฎหมายหมิ่นประมาทอื่นๆ ที่มีโทษจำคุก จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมกันที่แยกราชประสงค์และเข้าชื่อยกเลิกมาตราดังกล่าว