×

สำรวจนานา-อโศก ผู้คนและน้ำใจที่ยังเหลือในสภาวะยากลำบาก

โดย THE STANDARD TEAM
30.07.2021
  • LOADING...
นานา-อโศก

คนไทยและคนทั่วโลกต้องเผชิญกับโควิดมาเกือบ 2 ปี และไทยเองก็เผชิญโควิดมาหลายระลอก โดยเฉพาะระลอกเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมากว่า 4 เดือนแล้ว แต่สถานการณ์ยังไม่มีท่าทีจะคลี่คลาย ทั้งตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ระบบสาธารณสุขที่ค่อนข้างจะเต็มศักยภาพ ยังไม่นับรวมถึงปัญหาปากท้อง และการเยียวยาที่ยังมาไม่ถึงมือประชาชน

 

ช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจย่านนานา-อโศก ซึ่งอดีตเคยเป็นย่านที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวและร้านค้า วันนี้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความเงียบเหงา เหลือเพียงผู้คนที่ยังคงทำมาหากินเลี้ยงชีพ เพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ยังคงมีแง่มุมของน้ำใจที่เหลืออยู่ แม้ในสภาวะที่ยากลำบาก

 

*คลิกอ่านคำบรรยายในแต่ละภาพ

 

พนักงานร้านตัดสูทย่านนานา แจกอาหารให้กับผู้ที่สัญจรบนถนนสุขุมวิท โดยเจ้าของร้านทำการเหมาร้านข้าวแกงรถเข็นที่ขายประจำอยู่บริเวณนั้น เนื่องจากเห็นว่าในแต่ละวันร้านข้าวแกงขายไม่หมด ทำให้ต้องอยู่ขายจนใกล้เวลาเคอร์ฟิว ตนจึงเหมามาแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

 

เจ้าของร้านตัดสูทย่านนานา แจกอาหารให้กับผู้ที่สัญจรบนถนนสุขุมวิท โดยทำการเหมาร้านข้าวแกงรถเข็นที่ขายประจำอยู่บริเวณนั้น เนื่องจากเห็นว่าในแต่ละวันร้านข้าวแกงขายไม่หมด ทำให้ต้องอยู่ขายจนใกล้เวลาเคอร์ฟิว ตนจึงเหมามาแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

 

ไรเดอร์หญิงนำลูกน้อยออกมาทำงานด้วย โดยเธอหยุดแวะรับอาหารที่เจ้าของร้านตัดสูทย่านนานา เหมาร้านข้าวแกงรถเข็นที่ขายประจำอยู่บริเวณนั้น มาแจกให้กับผู้ที่สัญจรไปมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

 

เจ้าของร้านข้าวแกงรถเข็นที่ขายประจำอยู่ย่านนานา ถนนสุขุมวิท บอกว่าตนขายข้าวแกงเพียงกล่องละ 25 บาท โดยแต่ละวันไม่สามารถจะขายได้หมด ทำให้ต้องอยู่ขายจนใกล้เวลาเคอร์ฟิว ซึ่งเจ้าของร้านขายสูทเห็น จึงเหมามาแจกจ่ายเพื่อช่วยเหลือตนเองและคนอื่นๆ

 

ปัญญา ชนะสงคราม อาชีพรับทำเบาะมอเตอร์ไซค์มากว่า 20 ปี กำลังเปลี่ยนเบาะรถให้วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างย่านอโศก ซึ่งตนเองต้องตระเวนขี่มอเตอร์ไซค์เพื่อหาลูกค้าตามจุดจอดมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพฯ คิดราคาตามขนาดรถ เริ่มต้นที่ 160 บาท  

 

ปัญญา ชนะสงคราม อาชีพรับทำเบาะมอเตอร์ไซค์มากว่า 20 ปี กำลังเปลี่ยนเบาะรถให้วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างย่านอโศก ซึ่งตนเองต้องตระเวนขี่มอเตอร์ไซค์เพื่อหาลูกค้าตามจุดจอดมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพฯ คิดราคาตามขนาดรถ เริ่มต้นที่ 160 บาท

 

คนขับแท็กซี่ ใช้เวลาว่างระหว่างคอยผู้โดยสารย่านอโศก ทำการติดตั้งฉากกั้นพลาสติกภายในรถ เพื่อป้องกันตัวเองจากการแพร่ระบาดของโควิด

 

คนขับแท็กซี่ ใช้เวลาว่างระหว่างคอยผู้โดยสารย่านอโศก ทำการติดตั้งฉากกั้นพลาสติกภายในรถ เพื่อป้องกันตัวเองจากการแพร่ระบาดของโควิด

 

แม่ค้าขายผักผลไม้นั่งคอยลูกค้าบริเวณทางเท้าย่านอโศก ที่แทบจะไม่มีคนเดิน โดยก่อนโควิดระบาด เธอประกอบอาชีพขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยวในย่านนั้น เธอเพิ่งจะเริ่มขายผักผลไม้เมื่อ 7 เดือนที่ผ่านมา เธอบอกว่าในแต่ละวันรายได้จากการขายของได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำอีก

 

แม่ค้าขายลูกชิ้นปิ้งย่านนานา บอกว่าช่วงนี้ต้องมาตั้งร้านเร็วกว่าปกติ เนื่องจากมีเคอร์ฟิว รายได้จากการขายลูกชิ้นของบางวันไม่ถึง 100 บาท แต่จะทำอย่างไรได้ ก็ต้องขายแบบนี้ต่อไป

 

คนขับสามล้อรับจ้าง แวะพักกินข้าวย่านนานา ขณะที่บรรยากาศริมถนนสุขุมวิทค่อนข้างเงียบเหงา

 

คนไร้บ้านนอนบนทางเท้า ด้านหน้าร้านที่ปิดกิจการย่านนานา โดยกิจการหลายแห่งในย่านนี้ต้องปิดตัวลง เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด

 

ร้านค้ากิจการต่างๆ ย่านนานาต้องปิดตัวลงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด

 

ร้านตัดผมย่านนานาเขียนป้ายประกาศปิดร้าน 1 เดือน จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising