ผมคิดว่าพวกเราคงไม่ต่างกัน ทุกวันมีพาดหัวข่าวและข้อมูลมากมายถาโถมเข้ามาแค่เห็นหัวข้อข่าวแล้วเราก็อาจจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ปีนี้จะต่างจากปีที่แล้วไหมนะ”
อัตราการติดเชื้อทุบสถิติใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า มาตรการจำกัดการเดินทางเข้มงวดขึ้นอีก อัตราการว่างงานกำลังเป็นตัวเลขน่ากังวล ประเด็นภูมิศาสตร์การเมืองสร้างความปวดหัวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ในภาวะที่วันๆ มีแต่ข่าวชวนเครียด เราอาจจะมองข้ามความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มีนัยซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไปกันนะ… ผมกำลังพูดถึงทวีปเอเชียครับ
มีเหตุผลหลายประการที่เราเชื่อมั่นในทวีปเอเชีย ซึ่งมีประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลกอยู่ในทวีปนี้ และเป็นภูมิภาคที่ชนชั้นกลางกำลังเติบโต สถานการณ์โควิด-19 และภูมิศาสตร์ทางการเมือง เป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งให้เกิดการพลิกโฉมธุรกิจของภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปรับตัวในเรื่องของโครงสร้างและการอยู่รอด กระแสโลกาภิวัฒน์ปูทางมาสู่กระแสการรวมกลุ่มกันในภูมิภาค (Regionalisation) การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นฐานกำลังเกิดขึ้นในสายห่วงโซ่อุปทาน ข้อตกลงความร่วมมือทางการค้า รูปแบบระบบดิจิทัลและการบริโภค และนวัตกรรมทางการเงิน
แม้ว่าโควิด-19 ทำให้การเดินหน้าสะดุดลง แต่เราได้เห็นผู้บริหารประเทศต่างๆ ในภูมิภาคดำเนินการอย่างเฉียบขาดในการจำกัดผลกระทบจากโควิด-19 โดยพยายามปกป้องเศรษฐกิจจากวิกฤตที่รุนแรงที่สุดในครั้งนี้ แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ยังคงอยู่ แต่เศรษฐกิจเอเชียฟื้นตัวกลับมาได้เร็วกว่าทุกแห่งในโลก คาดกันว่าการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียจะอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปี 2564 โดยมีประเทศจีนและประเทศอินเดียเป็นตัวขับเคลื่อนหลักด้วยการเติบโตร้อยละ 8 และร้อยละ 10 ตามลำดับ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่คาดว่าจะกลับมามีบทบาทอย่างรวดเร็วคือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของยอดค้าขายในเอเชีย
ด้วยมาตรฐานการค้าที่สอดคล้องกัน การเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นมาของอาร์เซ็ปจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การยกระดับห่วงโซ่อุปทานเร่งตัวขึ้นจากความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ผนวกกับแรงส่งจากฐานผู้บริโภคที่เติบโตขึ้นของภูมิภาคเอเชีย จะก่อให้เกิดสมดุลเชิงโครงสร้างต่อเขตการค้าทั่วโลก ทวีปเอเชียจะผลิตให้กับทวีปเอเชียมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษโครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า และทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน จะยิ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับทวีปเอเชีย
การยกเครื่องของเอเชีย
ถึงกระนั้น เอเชียแตกต่างไปจากปีที่แล้ว โควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง แต่ด้วยเหตุนี้เองที่แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ซ่อนอยู่สำหรับภาคธุรกิจ
ถ้ามองให้กว้างขึ้น ผมเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสายห่วงโซ่อุปทานใหม่ที่มีการปรับตัวตลอดเวลา และนวัตกรรมดิจิทัลกำลังสร้างงาน ปฏิรูปทักษะอันเป็นที่ต้องการ และฟื้นเศรษฐกิจอีกครั้ง
จากความเปราะบางในการเติบโตของห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศในปีที่แล้ว การปรับตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจเหล่านั้นได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานเพื่อรักษาการเติบโต ตอนนี้สินค้ามีค่าเท่ากับต้นทุน และการต้องส่งให้ทันเวลา ผู้ให้บริการในห่วงโซ่อุปทานต้องปรับสมดุลการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ใหม่ เน้นไปที่โครงสร้างธุรกิจแบบ ‘มีสต๊อกเผื่อไว้’ โดยที่ตนเองมีเพียงพอ และพอให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
การระบาดในครั้งนี้ยังเปิดทางให้ระบบดิจิทัลได้มีบทบาทโดดเด่นในทุกวงการ กระตุ้นให้ผู้ประกอบการทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ต่างต้องน้อมเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับตัวให้เดินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การเลือกซื้อสินค้า อาหาร และการดูแลสุขภาพ ต่างปรับตัวสู่โลกออนไลน์
ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียแซงหน้าอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกไปแล้วในแง่ของสัดส่วนยอดขายค้าปลีกแบบอี-คอมเมิร์ซ โดยการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดมาจากประเทศอินเดีย จีน และอินโดนีเซีย รัฐบาลต่างๆ ล้วนเร่งการเชื่อมโยงระหว่างกันผ่านระบบดิจิทัล สกุลเงินดิจิทัลของจีน แพลตฟอร์มการบริหารข้อมูลทางการค้าแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียวของประเทศสิงคโปร์ และระบบ eTradeConnect ของฮ่องกง ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นเพื่อการเชื่อมโยงที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การการค้าและการชำระเงิน
ลงมือตอนนี้ ทำให้เฉียบขาด
จากนี้ไปอีกหนึ่งปี โลกอาจจะเปลี่ยนไปอย่างมากจากวันนี้ก็เป็นได้ อย่างที่โลกเคยเปลี่ยนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยที่ ณ ศูนย์กลางของการฟื้นตัว ทวีปเอเชียจะเป็นตัวขับเคลื่อนทางดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางบริบทที่มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับผู้ที่กล้าและเด็ดขาดในการตัดสินใจ คุณสมบัติเหล่านี้ในเอเชียที่นำเสนอโอกาสที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเปิดกว้างและน่าสนใจ ถึงแม้จะเป็นเค้กที่แตกชิ้นย่อยก็ตาม
ไม่มีผู้ประกอบการรายใดครองตลาดในอุตสาหกรรมไหนในภูมิภาคเอเชีย เฉกเช่นอย่างที่ Google, Amazon และ Apple ครองตลาดในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่นแอปฯ ส่งข้อความต่างๆ Line ครองตลาดในประเทศไทย ไต้หวันและญี่ปุ่น ในขณะที่ Telegram, WeChat, Signal และ WhatsApp เป็นที่นิยมในประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ แอปฯ ให้บริการยานพาหนะ และระบบชำระเงินออนไลน์ทั้งหลาย
การมองเห็นช่องว่างตรงนี้คือกุญแจสำคัญ นี่คือตัวบ่งชี้ถึงโอกาสที่มีศักยภาพที่มีอยู่ ธุรกิจที่คว้าโอกาสในเอเชียในวันนี้จะได้เปรียบในการเติบโตเป็นผู้นำตลาดในอนาคต ตรงจุดนี้ตอกย้ำอีกองค์ประกอบหนึ่ง นั่นคือเวลาไม่รอใคร และใครเริ่มก่อนมีโอกาสก่อน
ดังนั้น ผู้ประกอบการที่สนใจจำเป็นต้องเข้าหาตลาดนี้อย่างห้าวหาญ มีบทบาทในตลาด และมีทัศนคติล้ม ได้เรียนรู้จากบทเรียนอย่างรวดเร็ว บริษัททั้งหลายที่กำลังคิดจะปรับกลยุทธ์ในตอนนี้โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอันลึกซึ้งนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้
การจะประสบความสำเร็จในเอเชียไม่มีสูตรสำเร็จ ส่วนมากจะยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงของภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนระยะเวลาที่จะสามารถควบคุมการระบาดนี้ได้ และการดำเนินนโยบายสาธารณะของรัฐบาล
นอกจากนี้ ทวีปเอเชียยังประสบกับความเสี่ยงสำคัญในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งความสามารถของทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนใจพิจารณาเรื่องความยั่งยืน เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง
ในเวลาเดียวกัน ทวีปเอเชียยังเป็นหัวใจหล่อเลี้ยงของโลก และผมไม่สงสัยเลยว่าเอเชียจะสามารถฟื้นความมีชีวิตชีวากลับมาสู่เศรษฐกิจของโลกได้ ดังนั้น ประเด็นสำคัญของผมมีอยู่สั้นๆ ว่าจับตาดูภูมิภาคนี้ได้ดี แต่อย่าตั้งท่ารอนานเกินไปกว่าจะลงมือ
โอกาสในเอเชียมาถึงแล้ว อย่ามัวแต่คอย!
พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล