หากพูดถึงตลาดหุ้นยอดนิยม นักลงทุนหลายๆ ท่านอาจนึกถึงประเทศยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกอย่างสหรัฐฯ หรือจีน แต่จะว่าไปแล้วตลาดหุ้นเอเชียก็มีความน่าสนใจไม่น้อยเช่นเดียวกัน โดยการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย นักลงทุนบางท่านอาจจะผ่านตากับดัชนีหุ้นเอเชียแปซิฟิกที่ไม่รวมญี่ปุ่น (Asia ex Japan) และบางท่านก็อาจมีคำถามว่า เอเชียแล้วทำไมไม่รวมญี่ปุ่นด้วย แล้วจะดีไหม และมีประเทศอะไรบ้าง เช่นนั้นเราลองดูต่อกันว่าตลาดนี้มีความน่าสนใจอย่างไร บางทีเราอาจจะเริ่มมีมุมมองที่เปลี่ยนไป และหันมาทำความเข้าใจและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนหุ้น Asia ex Japan ในพอร์ตของเราก็เป็นได้
เนื่องจากตลาดญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) โดยมีขนาดตลาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (รองจากสหรัฐฯ และจีน) จึงแยกตลาดญี่ปุ่นออกมา ทำให้เกิดตลาดหุ้นเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า ‘ตลาด Asia ex Japan’ เพราะคำว่า ex นั้นย่อมาจาก ‘Exclude’ ที่แปลว่า ‘ไม่รวม’ นั่นเอง
โดยตัวชี้วัดจะใช้ดัชนี MSCI All Country Asia Pacific Ex Japan ซึ่งตลาดหุ้นฝั่งเอเชียส่วนใหญ่นั้นก็มักจะอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) และเป็นที่สนใจของนักลงทุนที่มองหาโอกาสการลงทุนที่มีการเติบโตสูง โดยจะเรียงน้ำหนักกระจายลงทุนทั้งในประเทศ/ดินแดนพัฒนาแล้ว และประเทศ/ดินแดนกำลังพัฒนา 10 ประเทศ/ดินแดน ได้แก่ จีน, ไต้หวัน, อินเดีย, เกาหลีใต้, ฮ่องกง, สิงคโปร์, ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
ทำไมตลาด Asia ex Japan ถึงน่าสนใจ
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะเติบโตอยู่ที่ 5.2% ในปี 2565 และ 5.3% ในปี 2023 รวมถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคหลายแห่ง รวมทั้งเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ที่ได้กลับสู่อัตราเดิมก่อนจะเกิดการระบาดของโควิด จากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของอุปสงค์ในประเทศ และการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้เริ่มกลับมาฟื้นตัว จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียจะได้ประโยชน์จากการที่หลายประเทศเริ่มเปิดเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมีรายงานว่ายอดการจองตั๋วเดินทางท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งรวมถึงไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนแล้วเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว
ถึงแม้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาประกาศว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียในปี 2022 จะขยายตัว 4.9% น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมกราคม 0.5% แต่ Valuation ของหุ้นก็ยังคงอยู่ในระดับที่น่าสนใจ และเศรษฐกิจก็มีแนวโน้มเติบโตต่อไปได้ในระยะยาว และยังมีโอกาสในการลงทุนในบริษัทชั้นนำที่หลากหลายในอุตสาหกรรมระดับโลก ประกอบกับตลาดเอเชียมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้นโยบายการเงินในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ก็ยังมีแนวโน้มผ่อนคลายมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จึงเป็นจังหวะเหมาะที่นักลงทุนจะสามารถทยอยลงทุนในหุ้นสำหรับตลาด Asia ex Japan ได้
อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักลงทุนควรจับตามองคือ ความไม่แน่นอนจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างรุนแรงต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย โดยเห็นได้จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างเช่นน้ำมัน ทั้งภาวะสงครามยังทำให้ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ก็ยังคงส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ และบางประเทศยังคงมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอยู่ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่นักลงทุนยังคงต้องคอยเฝ้าระวังสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นโลก
สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนประเภทนี้ หนึ่งในกองทุนแนะนำ ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ดัชนีหุ้น Asia ex Japan – SCBAXJ (ความเสี่ยงระดับ 6) และสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ขอแนะนำกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ดัชนีหุ้น Asia ex Japan (ชนิดเพื่อการออม) – SCBAXJ(SSF) (ความเสี่ยงระดับ 6) โดยทั้งสองกองทุนจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน iShares Core MSCI Asia ex Japan ETF ซึ่งจะลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง หลากหลายอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับเทรนด์และประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
มาถึงตรงนี้แล้วหลายท่านคงเห็นความน่าสนใจของตลาดเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่นกันบ้างแล้ว เพราะการกระจายการลงทุนที่ถูกทิศ ถูกทาง ถูกตลาด และไม่หวั่นไหวแม้ตลาดเผชิญความผันผวนในช่วงสั้น จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถสร้างโอกาสจากการลงทุนได้ ดังนั้นเราไม่ควรกลัวที่จะลงทุนในช่วงตลาดผันผวน เพียงแค่รู้ทันตลาด คัดสรรผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เหมาะสม และเลือกการลงทุนที่ถูกจังหวะ ก็จะสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสการลงทุนได้เช่นกัน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
อ้างอิง:
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
- Twitter: twitter.com/standard_wealth
- Instagram: instagram.com/thestandardwealth
- Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP