นักวิเคราะห์ของ Barclays ชี้กองทุน ESG ในภูมิภาคเอเชียได้ส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เนื่องจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองและข้อติดขัดด้านกฎระเบียบต่างๆ ในยุโรปและสหรัฐฯ ทำให้เงินทุนที่ต้องการเข้าลงทุนในกองทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในภูมิภาคดังกล่าวหยุดชะงักและไหลเข้าทางฝั่งเอเชียแทน
ทั้งนี้ ข้อมูลของ Barclays พบว่า กองทุนเอเชียมีกระแสไหลเข้าสุทธิ 15% ในปี 2022 เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่มีกระแสทุนไหลเข้าที่เพียง 4% ส่งผลให้ส่วนแบ่งในตลาดกองทุน ESG คือสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลโลกของเอเชียเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจาก 2% ในปี 2020 เป็น 4% ในปัจจุบัน
Dave Dai นักวิเคราะห์ของ Barclays ระบุว่า กระแสทุนไหลเข้าสุทธิในหุ้นกลุ่ม ESG ของเอเชีย และกองทุนตราสารหนี้ มีปริมาณมากกว่า 3 เท่าของกระแสทุนที่ไหลเข้ากองทุนที่ไม่ใช่ ESG ซึ่งมีกระแสทุนไหลเข้าที่ 5% แสดงให้เห็นความต้องการที่แข็งแกร่งของนักลงทุนในการลงทุนเพื่อความยั่งยืน
รายงานระบุว่า การเติบโตของกองทุน ESG ในเอเชียเกิดขึ้นพร้อมๆ กับกระแสต่อต้านการลงทุนเพื่อความยั่งยืนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในสหรัฐฯ โดยสมาชิกพรรครีพับลิกันออกโรงประณามว่าเป็นการสร้างกระแสทุนนิยม
ในขณะเดียวกัน ผู้จัดการกองทุนของยุโรปกำลังต่อสู้กับกฎที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้กองทุนจำนวน 175,000 ล้านยูโร ถูกปรับลดระดับจากหมวด ESG ระดับสูงตามมาตรา 9 เป็นหมวดที่อยู่ในระดับต่ำลง
ท่ามกลางสถานการณ์ท้าทายที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้กองทุน ESG ของเอเชียสามารถไล่ตามมาได้อย่างรวดเร็ว โดยเอเชียมีศักยภาพในการเติบโตสูง ประเทศต่างๆ ในเอเชียต่างกระตือรือร้นที่จะออกมาให้คำมั่นในการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างจริงจัง ขณะที่หน่วยงานที่กำกับดูแลก็มีการมีออกกฎระเบียบใหม่สำหรับ ESG และบรรดาบริษัทเอกชนทั้งหลายก็ตอบรับด้วยการเปิดเผยข้อมูลว่าบริษัทกำลังดำเนินการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของ ESG อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นภูมิทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงในทางบวกที่สนับสนุนการเติบโตของกองทุน ESG
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- 5 กองทุน SSF ที่ผลตอบแทนโดดเด่นในรอบ 3 เดือน และ 1 ปี
- เจาะกองทุน SSF/RMF ดาวเด่นสายฮิต กับ SCBRM4 และ SCBLT1-SSF
- 10 กองทุน RMF ที่ผลตอบแทนดีสุดตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง: