×

‘อาคม’ ชี้ไทยต้องปฏิรูปโครงสร้างจัดเก็บรายได้ เพื่อตุนทรัพยากรเสริมภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจรองรับอนาคต

18.10.2021
  • LOADING...
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ ‘นโยบายเศรษฐกิจจาก Pandemic สู่ Endemic’ ว่า ในภาวะวิกฤต นโยบายการเงินและนโยบายการคลังต้องทำหน้าที่สอดประสานกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจใน 3 ระดับ คือ 

 

  1. ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจระดับมหภาค ซึ่งถือเป็นบทบาทโดยตรงของทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

 

  1. ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจระดับหน่วยธุรกิจ คือ ต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้ภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่รอดปลอดภัย 

 

  1. ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจระดับประชาชน โดยที่ประชาชนต้องมีรายได้เพียงพอในการประทังชีวิต ที่นอกเหนือจากการช่วยเหลือจากภาครัฐ

 

“ทั้ง 3 ภูมิคุ้มกันจะโยงมาถึงปริมาณการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยสิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ การหารายได้ของรัฐซึ่งจะมาจากการปฏิรูปโครงสร้างการจัดเก็บรายได้ที่ต้องคิดเรื่องนี้ว่าจะมีวิธีการอย่างไรให้ระดับรายได้ของรัฐมีความมั่นคง เพื่อที่รัฐจะมีทรัพยากรเพียงพอสำหรับอนาคต”

 

อาคม กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลในหลายๆ ประเทศใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาลเพื่อดูแลเศรษฐกิจที่เป็นผลจากโรคโควิด ในส่วนของประเทศไทยก็ได้ออก พ.ร.ก. กู้เงิน 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อดูแลปัญหาดังกล่าว ถือเป็นการกู้เงินที่มากกว่าภาวะปกติ จึงทำให้ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ปรับขึ้นสูงกว่ากรอบวินับการคลังเดิมซึ่งกำหนดไว้ที่ 60% อย่างไรก็ตาม การกู้เงินดังกล่าวก็เพื่อป้องกันปัญหา ระงับการแพร่ระบาด และเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดสิ้นสุดลง

 

นอกจากนี้อาคมยังกล่าวถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญว่าภาครัฐและเอกชนต้องปรับวิธีการทำงานใหม่เพื่อให้สอดรับกับเศรษฐกิจในยุคที่ไม่ปกติ ซึ่งจะทำธุรกิจแบบเดิมไม่ได้แล้ว ควรต้องนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น

 

ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยต้องปรับตัวโดยให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นด้วย เพื่อจะไม่ได้รับคำตำหนิจากทั่วโลก เพราะสิ่งที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change) ดังนั้นในทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจควรต้องคำนึงถึงมิตินี้ด้วย 

 

นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างประชากร เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยในอีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุพุ่งขึ้น 20-24% ของประชากรทั้งหมด

 

“การลงทุนด้านการแพทย์ สุขอนามัย สาธารณสุข หรือ Wellness จึงเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งที่ควรต้องสร้างขึ้นมาเพื่อความยืนยาวของชีวิต”

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising