×

ทำไมต้อง ‘ลูกบอลสีเงิน’ ค้นหาความหมายเบื้องหลังการออกแบบ AP WORLD Pavilion ที่สร้างมุมมองใหม่ให้คุณภาพชีวิต [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
23.07.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • AP WORLD Pavilion คือผลงานสถาปัตยกรรมครั้งแรกในเมืองไทยของสถาปนิกหัวก้าวหน้าชาวญี่ปุ่น เท็ตสึโอะ คนโดะ ร่วมกับ Transsolar นักวิศวกรรมภูมิอากาศระดับโลก และ Supermachine ดีไซน์สตูดิโอแถวหน้าของไทย
  • ลูกบอลสีเงินนับร้อยที่ทำจากวัสดุอลูมิเนียมซึ่งปกคลุม AP WORLD Pavilion มีคุณสมบัติในการป้องกันและหักเหความร้อนจากแสงแดด ช่วยสร้างร่มเงาและความเย็นสบาย ทั้งยังสะท้อนภาพบรรยากาศที่เกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ของคนในพาวิเลียนซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาในแต่ละวัน ก่อให้เกิดประสบการณ์ความรู้สึกร่วมที่แปลกใหม่เป็นครั้งแรกของเมืองไทย

ภาพเหล่าลูกบอลอลูมิเนียมสีเงินแวววาวไซส์น้อยใหญ่ลอยละล่องเป็นกลุ่มก้อนอยู่ท่ามกลางท้องฟ้าสีสดใสเหนือเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูงหนาแน่น คือภาพที่ปรากฏเป็นวิชวลหลักของ AP WORLD พื้นที่ของโลกใบใหม่ที่เปิดโอกาสให้คุณได้ร่วมสัมผัสกับประสบการณ์การอยู่อาศัยในโลกของ AP

 

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครสงสัยเหมือนเราไหมว่าทำไมต้องเป็น ‘ลูกบอลสีเงิน’ และโลกใบใหม่ของ AP จะแปลกใหม่สักแค่ไหน ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างโลกใบนั้นขึ้นมา ลองมาหาคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้เลย

 

 

 

AP WORLD Pavilion คือผลงานสถาปัตยกรรมครั้งแรกในเมืองไทยของสถาปนิกหัวก้าวหน้าชาวญี่ปุ่น เท็ตสึโอะ คนโดะ ผู้มักเชื่อมโยงธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในผลงานสถาปัตยกรรม โดยพยายามกำจัดเส้นแบ่งของมิติต่างๆ ออกไป

 

เท็ตสึโอะ คนโดะ

 

หลายคนอาจรู้จัก เท็ตสึโอะ คนโดะ ผ่านผลงานศิลปะชิ้นเด่นที่ร่วมมือกับ Transsolar อย่าง Cloudscapes บันไดเหล็กที่ทอดยาวจากพื้นคอนกรีตสู่มวลเมฆสีขาว เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้สัมผัสความชื้นและอุณหภูมิของอากาศที่แตกต่างกันถึง 3 ระดับ หรือบ้างอาจรู้จักเขาจากผลงานที่มีเรื่องราวต่อเนื่องกันอย่าง A Path in the Forest ทางเดินเหล็กสีขาวโปร่งบางที่ถูกจัดวางคดเคี้ยวไปท่ามกลางต้นไม้ในป่าของประเทศเอสโตเนีย โดยชิ้นส่วนของทางเดินยึดติดกับต้นไม้ด้วยสายรัดคล้ายใส่เข็มขัดเท่านั้น ไม่มีการตัดหรือสร้างความเสียหายให้ต้นไม้ เพื่อแสดงความเคารพสภาพแวดล้อมดั้งเดิมและส่งต่อประสบการณ์ใกล้ชิดธรรมชาติไปสู่ผู้ชมให้มากที่สุด  

 

Cloudscapes

Photo: Tetsuo Kondo Architects

 

 

A Path in the Forest

Photo: Tetsuo Kondo Architects

 

ในการออกแบบ AP WORLD Pavilion คราวนี้ เท็ตสึโอะ คนโดะ ไม่ได้มาคนเดียว เขาจับมือกับ Transsolar นักวิศวกรรมภูมิอากาศระดับโลกที่เชื่อว่าความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการออกแบบ และ Supermachine ดีไซน์สตูดิโอแถวหน้าของไทยผู้อยู่เบื้องหลังงานโปรดักชันสนุกๆ ในอีเวนต์และคอนเสิร์ตระดับประเทศมากมาย 

 

เมื่อเป็นการรวมพลังของ 3 ผู้เชี่ยวชาญ AP WORLD Pavilion จึงไม่ได้เป็นสิ่งปลูกสร้างที่โดดเด่นแค่ด้านดีไซน์หรือความใกล้ชิดธรรมชาติ แต่ยังน่าสนใจในแง่ฟังก์ชันและการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้เข้าชม โดยด้านบนพาวิเลียนจะถูกปกคลุมด้วยลูกบอลสีเงินนับร้อยที่ทำจากวัสดุอลูมิเนียม มีคุณสมบัติในการป้องกันและหักเหความร้อนจากแสงแดดเมืองไทยอันเจิดจ้าไม่เป็นรองใครในโลก ช่วยสร้างร่มเงาและความเย็นสบายคล้ายกับการนั่งเล่นใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ในขณะเดียวกันรูปทรงโค้งกลมและความแวววาวของลูกบอลสีเงินเหล่านี้ก็ช่วยสะท้อนภาพบรรยากาศแสนรื่นรมย์ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาและสภาพอากาศในแต่ละวัน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ นวัตกรรม และความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกันอย่างแนบเนียน

 

AP WORLD Pavilion

Photo: Tetsuo Kondo Architects

 

ด้วยแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบโครงสร้างเช่นนี้ AP WORLD Pavilion จึงเปรียบเสมือน Experiential Architecture ใจกลางเมืองที่จะมอบประสบการณ์ใหม่ของการใช้ชีวิตที่ผสมผสานทั้งฟังก์ชันการใช้สอย ความเป็นมนุษย์ และนวัตกรรม

 

ร่วมสัมผัสประสบการณ์การอยู่อาศัยในโลกของ AP พร้อมกันได้ที่งาน AP WORLD วันที่ 1-7 สิงหาคมนี้ ณ ลานพาร์ค พารากอน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/events/396504230990391 

 

พิเศษ! สำหรับผู้ที่กด Going ในเพจของอีเวนต์ รับฟรี AP Clear Tote Bag ได้เลยที่งาน AP WORLD

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

FYI
  • พบกับ 4 บทสนทนาสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมไปด้วยแนวคิดแบบ Grow, Joy และ Flow จากผู้คนหลากหลายแวดวงใน The Conversation by AP x THE STANDARD ครั้งแรกของการเปิดบทสนทนาเพื่อเป้าหมายแห่งการมีคุณภาพชีวิตที่ดีครบทุกมิติ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมชมแบบสดๆ ได้แล้วที่ thestandard.co/apworld-theconversation/register/ 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising