จากหนุ่มสาวผู้รับหน้าที่ฟื้นฟูวอลล์เปเปอร์ในพระราชวังเก่าแก่หลายแห่งในฝรั่งเศส จนหลงใหลในงานหัตถศิลป์ของกระดาษด้วยเทคนิค ‘Domino’ หนึ่งในเทคนิคโบราณของงานศิลปะจากแผ่นกระดาษเพื่อใช้ตกแต่งตกแต่งในศตวรรษที่ 18 แปรเปลี่ยนความชอบจนเกิดเป็นสถาบัน Antoinette Poisson ที่ก่อตั้งในปี 2012
ชื่อของ Antoinette Poisson มาจากชื่อกลางของ ฌานน์ อ็องตัวเนต ปัวซง หรือ มาดาม เดอ ปงปาดูร์ หญิงสาวผู้มีความงดงามและเป็นสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เธอมีความโดดเด่น ควรค่าแก่การยกย่องและเชิดชู เรื่องราวของเธออยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์เล่มหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า
“เธอมีรูปร่างงดงาม สูง แต่ไม่สูงเกินไป ใบหน้ากลมได้สัดส่วน ผิวพรรณผุดผ่องทั้งมือและแขน ดวงตาเปล่งประกาย ทว่าดูสดใส มีไหวพริบ และเป็นประกายที่สุดเท่าที่เคยเห็น ทุกสิ่งเกี่ยวกับเธอดูเพียบพร้อม รวมทั้งกิริยาอาการด้วย เธอโดดเด่นอย่างแท้จริงจากหญิงสาวในราชสำนักทั้งปวง แม้หญิงบางคนจะสวยงามมากก็ตาม ที่สำคัญเธอเป็นผู้หญิงแห่งศิลปะ เธอรักการออกแบบตกแต่งภายใน ดั่งจะเห็นได้จากเรื่องราวของเธอ” และนี่เป็นข้อพิสูจน์และเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เหตุใดแบรนด์จึงเลือกใช้ชื่อนี้
หญิงสาวนามว่า ฌานน์ อ็องตัวเนต ปัวซง หรือ มาดาม เดอ ปงปาดูร์ สนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ถูกนำมาเป็นชื่อของแบรนด์ Antoinette Poisson
โดยทั้งสามผู้ก่อตั้งนามว่า จูลี สตอร์ดิอู, ฌอง แบ็ปติสต์ มาร์ติน และ วินเซนต์ ฟาร์เรลลี มีเจตจำนงหลักที่ว่า สถาบัน Antoinette Poisson ต้องการนำเทคนิคการทำวอลล์เปเปอร์ในศตวรรษที่ 18 ที่ถูกลืมเลือนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Dominos คือการทำลวดลายบนกระดาษตามเทคนิคในสมัยศตวรรษที่ 18 ขึ้นลายแพตเทิร์นด้วยขนาด 45×35 ซม. ด้วยการวาดรูปด้วยลวดลายเรขาคณิตหรือดอกไม้ผสมผสานกันลงบนแผ่นสลัก และใช้สีธรรมชาติเพนต์ด้วยมือด้วยเทคนิคที่ซับซ้อน แต่คงไว้ซึ่งความประณีต
สามผู้ก่อตั้งนามว่า จูลี สตอร์ดิอู, ฌอง แบ็ปติสต์ มาร์ติน และ วินเซนต์ ฟาร์เรลลี มีเจตจำนงหลักที่ว่า Antoinette Poisson ต้องการนำเทคนิคการทำวอลล์เปเปอร์ในศตวรรษที่ 18 ที่ถูกลืมเลือน ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
โดยหัวใจหลักคือ การทำแผ่นกระดาษซึ่งใช้เทคนิคแบบดั้งเดิมนั่นคือ การนำเศษผ้าลินินและผ้าป่านที่เคยใช้ในยุคศตวรรษที่ 18 และ 19 มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วทุบซ้ำๆ จนกลายเป็นเยื่อ แล้วจึงใส่ลงไปในน้ำ เพื่อกรองเยื่อในเฟรมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วอัดจนเป็นแผ่นเกิดเป็นกระดาษที่มีความเรียบและเนื้อบางอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการสร้างสรรค์ต่อไปคือ การพิมพ์กระดาษด้วยวิธีการสร้างเฟรมโลหะที่แกะสลักขึ้นรูป โดยใช้เวลาประมาณ 1 วัน ในการพิมพ์ 100 แผ่น และใช้เวลาประมาณ 1 หรือ 2 นาทีต่อสีและต่อแผ่น ในการทาสีเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มรายละเอียดที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หนังสือลวดลายเก่าจากวอลล์เปเปอร์ในศตวรรษที่ 18 ที่ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Dominos
กระบวนการสร้างสรรค์ต่อไปคือ การพิมพ์กระดาษด้วยวิธีการสร้างเฟรมโลหะที่แกะสลักขึ้นรูป โดยใช้เวลาประมาณ 1 วัน ในการพิมพ์ 100 แผ่น
และใช้เวลาประมาณ 1 หรือ 2 นาทีต่อสีและต่อแผ่น ในการทาสีเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มรายละเอียดที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
กระดาษจากเทคนิคการทำด้วยวิธีที่เรียกว่า Dominos
ปัจจุบัน สถาบัน Antoinette Poisson ได้รับการยอมรับและได้ร่วมงานกับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมากมาย อาทิ บรรจุภัณฑ์ลวดลายเครื่องหอม Diptyque ขนมและมาการองสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง Ladurée และล่าสุดกับการออกแบบลวดลายเพื่อใช้ตกแต่งร้านบูติกของ Gucci ที่นิวยอร์ก ในคอลเล็กชันฤดูร้อนที่ผ่านมา นอกจากนี้ลวดลายต่างๆ ที่สถาบัน Antoinette Poisson ออกแบบ ก็ได้รับความนิยมจนเกิดเป็นสินค้าประเภทอื่นๆ ตามมาอีกด้วย
ผลงานลวดลายของ Antoinette Poisson ได้รับการยอมรับและได้ร่วมงานกับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมากมาย อาทิ บรรจุภัณฑ์ลวดลายเครื่องหอม Diptyque ขนมและมาการองสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง Ladurée
ล่าสุดกับการออกแบบลวดลายให้กับเสื้อผ้าตกแต่งร้านบูติกของ Gucci ที่นิวยอร์ก ในคอลเล็กชันฤดูร้อนที่ผ่านมา
หนึ่งในผู้ก่อตั้งอย่าง จูลี สตอร์ดิอู กล่าวว่า “เรามีจิตวิญญาณที่เชื่อว่า ความเจริญของโลกทุกวันนี้ จะหล่อหลอมให้คนหันกลับไปหารากเหง้าของวัฒนธรรมที่เคยหล่อเลี้ยงชาติ และสร้างสรรค์วัฒนธรรมเหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้น และเชื่อว่า อย่างน้อยเราก็เป็นจุดเล็กๆ บนโลกใบนี้ที่ได้ทำแล้ว”
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล
อ้างอิง: