×

เปิดตัวศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ติดตามตรวจสอบข้อมูลสื่อออนไลน์ ตรวจเช็กข่าวปลอมได้ทันทีใน 2 ชั่วโมง

โดย THE STANDARD TEAM
01.11.2019
  • LOADING...
Anti-Fake News Center

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่ากระทรวงดิจิทัลฯ เปิดตัวศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) วันนี้ (1 พฤศจิกายน) เน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชน คาดหวังให้เกิดการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเผยแพร่ต่ออย่างรู้เท่าทันสื่อ และเป็นโอกาสดีที่มีการเปิดตัวศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกด้วย

 

กระทรวงดิจิทัลฯ ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้ดูแล กลั่นกรอง ตรวจสอบ หรือกำจัดข่าวปลอม เน้นว่าเป็นข่าวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และจะมีการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในข่าวที่ถูกต้อง เพื่อประชาชนทุกคนให้เข้าใจ และรู้เท่าทันว่าข่าวไหนปลอมข่าวไหนจริง ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ จะใช้กลไกการขับเคลื่อนโดย คณะกรรมการประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประชาชน ที่จะมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ สื่อมวลชน ทำหน้าที่วางแผนกำกับการดำเนินงาน และแผนการเผยแพร่ตามขั้นตอนการพิจารณาข่าวปลอม การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารออนไลน์ ข่าวที่เป็นกระแสในโลกโซเชียล อย่างรู้เท่าทันของภาครัฐ

 

Anti-Fake News Center

Anti-Fake News Center

 

โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข่าวปลอมที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เน้นย้ำว่าข่าวปลอมที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนโดยตรง เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติ เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม ข่าวที่สร้างความแตกแยกในสังคม ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคม ตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ และสิ่งที่สำคัญเรายึด code-of-principles ดังนี้ 

 

  1. ความเที่ยงธรรมและความปราศจากอคติในการคัดเลือกข่าว
  2. ความเป็นส่วนบุคคลกับสิทธิเสรีภาพของการนำเสนอข่าว
  3. การขัดกันด้านผลประโยชน์ และผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง
  4. ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายที่ถูกพาดพิง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเท่าเทียมกัน
  5. สามารถอธิบายกระบวนการการพิสูจน์ การตรวจสอบ แหล่งที่มาของบทความและข้อเท็จจริงต่างๆ ได้
  6. มีความรู้เกี่ยวกับข่าวนั้นๆ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในด้านต่างๆ ได้อย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ และโปร่งใส และสุดท้าย 
  7. เป็นหน่วยงานที่อิสระ ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ

 

Anti-Fake News Center

Anti-Fake News Center

 

รัฐมนตรีดีอี กล่าวด้วยว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) หน้าที่หลักจะมีการติดตาม ตรวจสอบ ข้อมูลที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์และระบบอินเทอร์เน็ต พร้อมวิเคราะห์แนวโน้ม และบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อมูล ผลิตข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งจัดส่งข้อมูลต่อหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเรื่องประกอบการดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ และข้อสำคัญ ขั้นตอนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อประชาชนและสาธารณชน จะผ่านกลไกภาคสื่อสารมวลชน เช่น สำนักข่าวไทย สมาคมนักข่าว หรือสื่อหน่วยงานอื่นๆ เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน  

 

อีกบทบาทสำคัญของการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม คือ ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ สร้างจิตสำนึก รอบรู้เท่าทันเพื่อให้ประชาชนสามารถปกป้องตนเองจากปัญหาข่าวปลอม ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือระบบตรวจสอบข่าวปลอมให้มีประสิทธิภาพ  

 

Anti-Fake News Center

Anti-Fake News Center

 

ข่าวปลอมที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนโดยตรง เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติ เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม ข่าวที่สร้างความแตกแยกในสังคม ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคม ตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ หลักๆ จะมี 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. ข่าวกลุ่มภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว เขื่อนแตก สึนามิ ไฟไหม้) 2. ข่าวกลุ่มเศรษฐกิจ การเงินการธนาคารหุ้น 3. ข่าวกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย และ 4. ข่าวกลุ่มนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ

 

เป้าหมายหลักคือ เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน มีช่องทางเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ป้องกันการแชร์เนื้อหาข่าวที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนสามารถรู้เท่าทันข่าวปลอม โดยกระทรวงดิจิทัลฯ เตรียมพิจารณาจัดทำเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวก อาทิ แอปพลิเชัน เว็บไซต์ 

 

Anti-Fake News Center

 

Anti-Fake News Center มีการทำงานในลักษณะ Online และ Offline เป็นไปตามมาตรฐานสากลของ International Fact Checking Network หรือ IFCN วิธีการแจ้งก็จะแบ่งหมวดการแจ้งตาม 4 กลุ่มหลักตามที่กล่าวข้างต้น ศูนย์ทำหน้าที่รับแจ้งข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ และส่งต่อเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วแจ้งผลการตรวจสอบกลับมา ประชาชนจะสามารถตรวจเช็กข่าวปลอมได้ทันที เบื้องต้นคาดว่าภายใน 2 ชั่วโมง และได้เน้นการมีส่วนร่วมให้กับประชาชน จึงพัฒนาเว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com เพื่อเป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบข่าวสาร หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ ข้อมูลหรือข่าวที่มีการตัดต่อข้อมูล เนื้อหา การนำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยปราศจากข้อเท็จจริง พร้อมทั้ง ชี้แจงเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับภาคประชารัฐ (หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สมาคม เครือข่ายต่างๆ และภาคประชาชน) สามารถตรวจสอบ สอบถาม และร่วมมือในแก้ไขการเผยแพร่ข่าวสาร หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ

 

นอกจากนี้กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงาน กับเครือข่ายสังคมออนไลน์รายหลักๆ และจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่วมกับหน่วยงาน ทุกกระทรวง กรม รัฐวิสากิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจร่วมกัน อีกทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ภายในเดือนพฤศจิกายน 2562 นี้ เพื่อสร้างแนวปฏิบัติร่วมกัน และเป็นการสร้างเครือข่ายอีกทาง ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ได้มีการแต่งตั้งผู้แทนประสานงานกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลร่วมกับศูนย์ฯ และต้องได้คำตอบที่ถูกต้อง ชัดเจน และจะดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising