×

จับตาทิศทางธุรกิจของ ‘อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์’ หลังเปลี่ยนชื่อจาก ‘อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง’ ชูกลยุทธ์ Omni Media – Omni Channel ตอกย้ำเบอร์ 1 สื่อที่ครบเครื่องที่สุด [ADVERTORIAL]

26.05.2023
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อเป็น ‘บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)’ (Amarin Corporation Public Company Limited) อย่างเป็นทางการ ตอกย้ำองค์กรอันดับ 1 ด้านการสื่อสารแบบครบวงจร ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยกลยุทธ์ Omni Media – Omni Channel 
  • ปัจจุบันอมรินทร์กรุ๊ปมี 5 ธุรกิจหลัก ได้แก่ Media & Event Business, Publishing Business, Printing & Packaging Business, Amarin Book Center, Amarin Television และ 2 บริษัทร่วมทุน ได้แก่ บริษัท คาโดคาวะ อมรินทร์ จำกัด และบริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด
  • การ Spin-Off ทั้ง 5 ธุรกิจออกจากกัน เพื่อให้แต่ละธุรกิจสามารถขยายธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น โดยที่ยังจับมือทำงานร่วมกันในทุกธุรกิจ 
  • ทิศทางการลงทุนในอีก 3 ปี เน้นลงทุน Infrastructure และเทคโนโลยีอย่าง AI และ MI รวมถึงเครื่องจักรและเทคโนโลยีการพิมพ์ ไปจนถึงพัฒนาคอนเทนต์ทุกด้าน และมองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ 

บิ๊กมูฟในวงการสื่อตอนนี้คงไม่มีความเคลื่อนไหวไหนน่าจับตาเท่าการประกาศเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการ จากบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เป็น ‘บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)’ (Amarin Corporation Public Company Limited) 

 

ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เผยถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนชื่อ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจต่อจากนี้ ไปจนถึงทิศทางการลงทุนในอีก 3 ปีข้างหน้า

 

 

“อมรินทร์ดำเนินธุรกิจมากว่า 40 ปี ที่ผ่านมามีการขยับขยายธุรกิจมาโดยตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ และตอกย้ำให้ทราบโดยทั่วกันว่า อมรินทร์ไม่ได้ทำแค่ธุรกิจด้านโรงพิมพ์หรือธุรกิจด้านสำนักพิมพ์เท่านั้น แต่เราขยายธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านออนไลน์ ธุรกิจด้านอีเวนต์ และธุรกิจด้านดิจิทัล โดยในอนาคตยังมองไปถึงโอกาสในการขยายกิจการด้านอื่นๆ ที่จะทำให้บริษัทเติบโต จึงเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) อย่างเป็นทางการ

 

“วันนี้เราก้าวสู่การเป็นองค์กรอันดับ 1 ด้านการสื่อสารแบบครบวงจร ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยกลยุทธ์ Omni Media – Omni Channel ที่ครอบคลุมสื่อมากที่สุดในประเทศ ผสานกับทุกภาคส่วนในเครือทั้ง On Print, Online, On Ground, On Air และ On Shop โดยแต่ละแพลตฟอร์มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเราอย่างเต็มประสิทธิภาพ” 

 

 

ระรินฉายภาพ 5 กลุ่มธุรกิจหลัก และ 2 ธุรกิจที่ร่วมทุน พร้อมเล่าถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจต่อจากนี้ ได้แก่

 

Printing & Packaging Business (ธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์) 

 

ตั้งเป้าสู่การเป็น ‘Best Solution for Green Printing & Packaging’ มุ่งพัฒนาธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้สัญลักษณ์ AM Green

 

ปัจจุบันโรงพิมพ์ให้บริการตั้งแต่การพิมพ์หนังสือ 1 เล่มไปจนถึงระดับล้านเล่ม รวมไปถึงการผลิตแพ็กเกจจิ้ง พร้อมขยายจาก GMP สู่ BRC เพื่อรองรับการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุสัมผัสอาหาร (Food Contact Materials) เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า

 

“ปีนี้เราจะออกตราสัญลักษณ์ AM Green ซึ่งจะอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่รับรองว่าผลิตจากวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับหลักการความยั่งยืน เช่น ใช้กระดาษรีไซเคิล หรือขั้นตอนการผลิตที่ลดการเกิดมลพิษ เบื้องต้นจะเริ่มจากงานภายใน ไม่ว่าจะเป็นสำนักพิมพ์ของอมรินทร์ สำนักพิมพ์ในเครือ และกลุ่มลูกค้าหลายรายก็ตอบรับมาตรฐานนี้ เพราะหนึ่งในพันธกิจของเราคือ การสนับสนุนลูกค้าให้ร่วมกันสร้างความยั่งยืนร่วมกัน” 

 

Publishing Business (ธุรกิจสำนักพิมพ์) 

 

ปักธงเป็น ‘Best Reading Experience’ ด้วยการสร้าง Multi-Platform และ Multi-Categories เพื่อให้นักอ่านสามารถเลือกรูปแบบการอ่านได้หลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเล่ม สื่อดิจิทัล ไปจนถึงออดิโอ นอกจากนี้ยังตั้งเป้าขยาย Category ของคอนเทนต์ให้หลากหลาย เพื่อเข้าถึงคนทุกเพศ ทุกวัย พร้อมเพิ่มปริมาณคอนเทนต์มากขึ้น

 

“ทิศทางของธุรกิจสำนักพิมพ์ สำหรับหนังสือเล่มช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเติบโตต่อเนื่อง 2 Digit โดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์เทียบกับปี 2564 มีการอัตราการเติบโตสูงถึง 83.4% โดยเป้าหมายของเราคือ การเพิ่มจำนวนการผลิตหนังสือเล่มประมาณ 500 ปก และหนังสือดิจิทัลประมาณ 770 เรื่องต่อปี จะทำให้เรามี Revenue Mix จากเดิมที่มีแต่หนังสืออยู่ที่ 90-100% ในปีนี้คาดว่าจะได้ Mix ในส่วน Digital Growth ขึ้นอีก 25%” 

 

Amarin Book Center (ธุรกิจจัดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์และ Digital Content)

 

ตั้งเป้าสู่การเป็น ‘Reading Book Distribution Network’ โดยบริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ที่มีเครือข่ายร้านพันธมิตรมากกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ และธุรกิจค้าปลีกอย่างร้านนายอินทร์และแพลตฟอร์มดิจิทัล ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 26 ล้านรายต่อปี และมีแพลตฟอร์มใหม่อย่าง MaReads สามารถอ่านนิยายเป็นตอนได้ ซึ่งจะมาช่วยขยายฐานการอ่านและรองรับกลุ่มลูกค้าทั้งในไทยและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

“หน้าที่ของเราคือ กระจายหนังสือทั้งรูปเล่มและดิจิทัลนอกจากจุดจำหน่ายกว่า 700 จุดทั่วประเทศ ธุรกิจค้าปลีกอย่างร้านนายอินทร์ รวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัล ทั้งหมดนี้สามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 26 ล้านรายต่อปี 

 

“นอกจากนี้เรายังร่วมทุนกับบริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด ที่มีฐานลูกค้ากว่า 20 ล้านคนต่อปี การผนึกกำลังกันทำให้เรามีความหลากหลายของกลุ่มผู้อ่านมากขึ้น และมีการสนับสนุน Content Creator ตั้งแต่นักเขียนที่ไม่ได้พึ่งพาสำนักพิมพ์ไปจนถึงนักเขียนจากสำนักพิมพ์ทุกไซส์ให้มีความหลากหลายในตลาด เมื่อเสริมกับการมี Multi-Platform ของเราเอง ทำให้นักอ่านสามารถอ่านได้ทุกรูปแบบ

   

“หนึ่งในโปรเจกต์ที่คาดว่าจะได้เห็นกันในปี 2567 คือ เราจะสร้างร้านหนังสือที่ดีและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยการร่วมมือกับ One Bangkok ขณะเดียวกันก็ไม่หยุดพัฒนาร้านหนังสือที่ดีและมีหนังสือเยอะที่สุดในประเทศไทยบนแอปพลิเคชัน Naiin ปัจจุบันเรามีหนังสืออยู่กว่า 300,000 เล่ม เร็วๆ นี้เตรียมเปิดร้านนายอินทร์ แฟลกชิปสโตร์ ตั้งใจให้เป็นร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดบนพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร”

 

Media & Event Business (ธุรกิจมีเดียแอนด์อีเวนต์)

 

ประตูสู่ยุคของ Oni Media Era เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อนิตยสาร สื่อออนไลน์ ไปจนถึงธุรกิจจัดงานแฟร์และอีเวนต์ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของอมรินทร์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

“ปีนี้เรามีแผนที่จะขยายงานแฟร์ต่อเนื่อง ที่กำลังจัดอยู่ตอนนี้ (24-28 พฤษภาคม 2566) คืองาน Amarin Expo งานแฟร์แห่งความสุข ช้อปสนุกทั้งครอบครัว เป็นการจัดงานร่วมกันของงานบ้านและสวนแฟร์ และ Amarin Baby & Fids Fair ภายในงานจะมีทั้งสินค้าเกี่ยวกับการแต่งบ้าน แต่งสวน สินค้าแม่และเด็ก อาหาร สุขภาพ ท่องเที่ยว และหนังสือรวมอยู่ในงานเดียว 

 

“นอกจากนี้เรายังมีกิจกรรมไฮไลต์จากทุกแบรนด์ในเครืออมรินทร์ รวมทั้ง Amarin TV ไปร่วมแสดงในงานนี้ด้วย” ระรินกล่าว 

 

 

เจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจ Media & Event เสริมว่า “เรามีทีมงานที่ทำสื่อหลากหลายในมือ และมีความชำนาญด้านการจัดงานแฟร์และอีเวนต์ จนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้จัดแคมเปญ วางแผนการตลาด และจัดงานอีเวนต์มากมาย โดยเราใช้ข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้อ่านจากสื่อออนไลน์และผู้เข้าร่วมงานอีเวนต์ในแต่ละปีมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาการจัดงานให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด

 

 

“ที่ผ่านมาเราได้ทำงานร่วมกับบริษัท ซีเจ เวิร์ค จำกัด (CJ WORX) ในการทำให้การเข้าถึงลูกค้ามีประสิทธิภาพผ่านออนไลน์และกิจกรรมออนกราวด์ พาร์ตเนอร์อีกเจ้าที่มีส่วนสำคัญในธุรกิจ Media & Event คือ Tellscore จัดงาน Thailand Influencer Awards 2023 และมีโปรเจกต์อื่นๆ ที่จะตามมา 

 

“โดยงานแฟร์ในปี 2023 ยังคงจัดต่อเนื่อง และจะ Spin-Off งานแฟร์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านและสวน Pets กินดีอยู่ดี หรืองานที่จะจับมือร่วมกัน Dek-D ในรูปแบบ Educational Fair หรือสุดสัปดาห์ ที่จะเริ่มทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟนมีตและคอนเสิร์ตในชื่อ สุดสัปดาห์ Entertainment”

 

Amarin Television (ธุรกิจทีวีดิจิทัล)

 

ปรับแนวคิดใหม่ให้เป็น Real Life Entertainment โดยบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด โดยมี Amarin TV 34HD สื่อทีวีดิจิทัลที่ยังรักษาความนิยมของผู้ชมทั่วประเทศอยู่ใน Top 7 ที่มีครบทุกแพลตฟอร์ม ผลิตรายการคุณภาพครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผ่าน On-Air และ Online ในทุกแพลตฟอร์ม และ 34HD App ที่สามารถรับชมรายการผ่านทุก Device 

 

“ปัจจุบัน Amarin TV 34HD สามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วประเทศเฉลี่ย 10 ล้านคนต่อวัน และมีผู้ติดตามในสื่อออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มมากกว่า 42 ล้านคน แน่นอนว่าเราจะผลิตรายการใหม่ๆ ทั้ง On-Air และ Online นอกจากนี้ยังทำงาน On Ground ร่วมกับธุรกิจในเครือและลูกค้า 

 

“ต่อจากนี้ Amarin TV จะเป็นธุรกิจทีวีและออนไลน์ ให้บริการการขายโฆษณา และ 34HD App จะช่วยให้ผู้ชมดูรายการของเราได้ทุกที่ ทุกเวลา”

 

 

ศิริ บุญพิทักษ์เกศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด เสริมว่า Amarin TV 34HD เป็นสื่อที่จะช่วยเชื่อมโยงในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันและมอบสิ่งดีๆ กลับคืนสู่สังคม เหมือนที่เราได้ทำมาตลอด โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ด้วยการเป็นสื่อกลางช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 การระดมทุนจากผู้ชมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไปจนถึงการนำเสนอคอนเทนต์ที่มีส่วนช่วยคนในสังคมและชุมชน เพื่อที่เราจะเติบโตไปด้วยกันบนเส้นทางหรือสังคมที่ยั่งยืน ภายใต้สโลแกน ‘Sustainable Route’ 

 

การ Spin-Off ทั้ง 5 ธุรกิจออกจากกันอย่างชัดเจนนี้ ก็เพื่อให้แต่ละธุรกิจสามารถขยายธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น โดยภายในองค์กรจะวางแผนทำงานร่วมกันในทุกธุรกิจ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

 

ธุรกิจร่วมทุน เสริมแกร่ง เร่งสปีดการเติบโตแบบก้าวกระโดด 

 

ระรินยังเผยถึงเหตุผลที่เลือกร่วมทุนกับบริษัท คาโดคาวะ อมรินทร์ จำกัด และบริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด ว่า “คาโดคาวะถือเป็นผู้นำด้าน Light Novel และ Manga ที่ผลิตคอนเทนต์กลุ่มนี้เยอะที่สุดในโลก เจาะกลุ่มผู้อ่านทุกทวีปทั่วโลก แนวโน้วการเติบโตสูงต่อเนื่อง และทำ Mix Media ในหลายแพลตฟอร์ม 

 

“เมื่ออมรินทร์ต้องการขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมมากขึ้น การจับมือกับพาร์ตเนอร์ที่แข็งแกร่งจึงเป็นคำตอบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ‘คาโดคาวะ อมรินทร์’ ส่งผลให้ตอนนี้คาโดคาวะ อมรินทร์ เป็นเจ้าตลาดด้าน Light Novel และ Manga ในประเทศไทย และมีแผนที่จะออกหนังสือและคอนเทนต์ดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง

 

“ในขณะที่บริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด เรามองเห็นศักยภาพด้านการเป็น Education Platform อันดับ 1 ของประเทศไทย มีผู้เข้าใช้งานเดือนละกว่า 5 ล้านคน และเข้าถึงผู้คนได้ประมาณ 15 ล้านคนต่อเดือน นอกจากนั้นยังมีแพลตฟอร์มในฝั่งนิยายออนไลน์ ซึ่งมีจำนวนนิยายมากที่สุดร่วม 2 ล้านเล่ม และมีผู้อ่านต่อวันเข้ามาอย่างต่อเนื่อง 

 

“ซึ่งฐานลูกค้ากลุ่มนี้จะเข้ามาเติมเต็มและต่อยอดให้กับอมรินทร์ได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้ามีความหลากหลายตั้งแต่เด็กเล็กไปถึงเด็กโต และกลุ่ม 20 ปีขึ้นไป แต่ในส่วนเด็กวัยรุ่นจะค่อนข้างน้อย ดังนั้นการร่วมทุนกัน มีการทำงานร่วมกัน จัดกิจกรรม และแชร์จุดแข็ง จะเป็นการ Cross Market กันได้”

   

การร่วมทุนครั้งนี้ยังเป็นอีกช่องทางให้อมรินทร์ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่ม Content Creators ได้มากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาอมรินทร์กรุ๊ปทำงานร่วมกับ Publisher กว่า 55,000 รายต่อปี มีหนังสือที่บริหารจัดการอยู่ปีละประมาณ 250,000 เล่ม ขณะที่แพลตฟอร์มของ Dek-D จะเน้นไปที่นักเขียนอิสระซึ่งมีอยู่ประมาณ 400,000 คน มีจำนวน 2,000,000 เรื่อง

 

“เราอยากจะสนับสนุน Soft Power ด้านนี้ ทำอย่างไรให้ตลาดการเขียนของคนไทยมีความแข็งแรงและสามารถเติบโตไปสู่ตลาดโลกได้ หรือในส่วนของการศึกษา เราจะเข้ามาช่วยขยายการจัดงานแฟร์ด้านการศึกษาที่ใหญ่และครบวงจรมากขึ้น รองรับจำนวนคนมากขึ้น คาดการณ์ว่าปี 2567 จะเดินหน้าจัด Education Fair ตามจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูล เพื่อที่จะได้เลือกเรียนหรือเลือกเส้นทางอาชีพได้ชัดเจนขึ้น”

 

สำหรับโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น บริการ Text to Speech และ Audio ที่อยู่บนแอปพลิเคชันของ Naiin ระรินเผยว่า กำลังจะมีแผนงานที่จะทำร่วมกับ Dek-D ต่อยอดไปสู่การขยายลิขสิทธิ์ไปยังซีรีส์ เว็บตูน และขยายลิขสิทธิ์ไปสู่ International Rights ด้วย 

 

“ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้เชี่ยวชาญทุกอย่าง การจับมือร่วมกับพาร์ตเนอร์จะทำให้เกิดการเติบโตแบบก้าวกระโดด ขณะเดียวกันเราก็ยังมองโอกาสใหม่ๆ ต่อจากนี้คงจะได้เห็นการจับมือกันของธุรกิจในเครืออมรินทร์ร่วมกับพาร์ตเนอร์ในหลายๆ ภาคส่วน ที่จะขยายและต่อยอดธุรกิจต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน”   

 

ผลประกอบการปี 2565

 

นอกจากกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจต่อจากนี้ ระรินยังเผยผลประกอบการของบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ปี 2565 ในงาน ‘Amarin Open House’ โดยมีตัวเลขดังนี้

 

รายได้รวม 4,274.45 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปี 2564 เป็นจำนวนเงิน 1,313.84 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 44.4 % แบ่งเป็น 

 

  1. รายได้จากธุรกิจผลิตงานพิมพ์และจำหน่ายหนังสือเติบโต 91.5% เมื่อเทียบกับปี 2564 มาจากการขยายตัวของธุรกิจบรรจุภัณฑ์และการเติบโตของธุรกิจการจัดจำหน่ายหนังสือเล่มผ่านหน้าร้านหนังสือ โดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีการอัตราการเติบโตถึง 83.4% 
  2. รายได้จากธุรกิจมีเดียและอีเวนต์ รวมการให้บริการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ และการจัดงานแสดงสินค้าและอีเวนต์ต่างๆ โดยในปี 2565 เติบโต 72.9% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 โดยเฉพาะรายได้จากการจัดงานแสดงสินค้าที่เติบโตถึง 147.6% 
  3. รายได้จากธุรกิจสื่อทีวีดิจิทัล 1,287.33 ล้านบาท ใกล้เคียงกับรายได้ในปี 2564 ที่มีรายได้ 1,282.36 ล้านบาท

 

ทิศทางการลงทุน ปี 2566-2568

 

ภายใต้งบประมาณการกว่า 2,100 ล้านบาท แบ่งออกเป็น

 

  1. ลงทุน Infrastructure ได้แก่ สร้างสตูดิโอใหม่ เพื่อรองรับการผลิตที่มีคุณภาพ รวมทั้งปรับปรุงและขยายพื้นที่ที่มีอยู่ เพื่อรองรับการทำงานของบริษัท
  2. พัฒนาคอนเทนต์ทุกด้าน ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อดิจิทัล และสื่อโทรทัศน์ โดยการสร้าง Local Content และซื้อลิขสิทธิ์ต่างประเทศ เพื่อพัฒนา Soft Power ให้กับประเทศไทย
  3. ลงทุนด้านเทคโนโลยี AI และ ML เสริมแกร่งให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นงานอีเวนต์ สื่อโทรทัศน์ หรือแอปพลิเคชันในเครือ
  4. โรงพิมพ์ โดยเฉพาะส่วนเครื่องจักรและเทคโนโลยีการพิมพ์ เพื่อรองรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ 
  5. มองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ  

 

กว่า 40 ปีของอมรินทร์ กับพันธกิจ ‘ทำงานเพื่อความสุขและความรุ่งโรจน์ของสังคม’

 

นอกจากการดำเนินกิจการต่างๆ แล้ว สิ่งที่อมรินทร์ทำควบคู่มาตลอดกว่า 40 ปี ตามพันธกิจขององค์กร ‘เราทำงานเพื่อความสุขและความรุ่งโรจน์ของสังคม’ คือการให้ความสำคัญและใส่ใจทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งการที่ตลาดสนับสนุนเรื่อง ESG มากยิ่งขึ้น

 

“เราพยายามทำเรื่อง ESG ให้อยู่ในเนื้องาน เพื่อให้คอนเทนต์หรือสิ่งที่เรามอบให้ผู้บริโภคสร้างผลกระทบเชิงบวกผ่านการรับบริการหรือการเสพสื่อ นี่คือจุดตั้งต้นของอมรินทร์ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เราสามารถแบ่งปันเพิ่มจากสิ่งเหล่านี้ จึงออกมาเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำมาตลอดคือ การส่งเสริมการอ่านผ่านโครงการ ‘อ่านพลิกชีวิต’ ร่วมบริจาคหนังสือจำนวน 150,000 เล่มให้ห้องสมุดโรงเรียนกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ 

 

“และอีกโครงการที่ร่วมมือกับมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, บริษัท ซีเจ เวิร์ค จำกัด (CJ WORX) และค่ายเพลง What The Duck ช่วยกันระดมทุน เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ขาดทุนทรัพย์ในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้กับเด็กในโครงการ ‘หนึ่งหัวใจ สู่ชีวิตใหม่’”  

 

 

ระรินกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาอมรินทร์โฟกัสไปที่การศึกษาและศาสนา แต่ปี 2566 จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องสิ่งแวดล้อมผ่านการดำเนินธุรกิจของอมรินทร์กรุ๊ป รวมไปถึงการสนับสนุนคู่ค้าที่ให้ความใส่ใจเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้วยช่นกัน 

 

“ปีนี้เราได้ติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ทั้งที่โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ และบริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด สามารถใช้งานได้ตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป

 

“อย่างงาน Amarin Expo 2023 เราตั้งเป้าที่จะลดขยะจากการจัดอีเวนต์ จึงให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุที่สามารถรียูสและรีไซเคิลได้ 

 

“อีกส่วนหนึ่งคือเราพยายามสนับสนุนชุมชน ทุกปีและทุกงานแฟร์จะมีพื้นที่ที่จัดไว้ให้สำหรับชุมชนหรือหน่วยงานที่ทำประโยชน์เชิงสังคม เช่น ร้านอาหารชุมชนที่มีคุณภาพ หรือสถานพยาบาลที่มีศาสตร์การนวด 4 แขนง มาให้บริการและคำปรึกษาฟรี เพื่อให้คนที่มาเดินงานได้เข้าถึงองค์ความรู้ในการดูแลตัวเอง ขณะเดียวกันเราก็อยากสนับสนุนองค์กรที่ทำอะไรดีๆ เพื่อสังคมและไม่แสวงหากำไร นี่ก็เป็นตัวอย่างเรื่อง ESG ที่จะเห็นผ่านงานแฟร์ของเรา” 

 

 

ส่งต่อบทเรียนจากเบอร์หนึ่งด้านการสื่อสารแบบครบวงจร

 

อาจกล่าวได้ว่า อมรินทร์คือรุ่นใหญ่ในวงการสื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนและก้าวข้ามการเปลี่ยนผ่านมาหลายยุคหลากวิกฤต ระรินบอกว่า สิ่งที่ทำให้อมรินทร์เติบโตได้อย่างต่อเนื่องคือ การรักษาคุณภาพงาน เพื่อให้ลูกค้าเชื่อใจ

 

“ไม่เพียงรักษาคุณภาพ แต่ต้องพัฒนาไม่หยุดยั้ง ปรับเปลี่ยนตัวเองเสมอ โดยเฉพาะยุคนี้คงต้องใส่คำว่า Speed เข้าไปด้วย เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ท้ายที่สุดแล้วหัวใจสำคัญที่ทำให้อมรินทร์ผ่านวิกฤตมาได้คือ ความร่วมแรงร่วมใจกันในองค์กร เป็นสปิริตที่สร้างร่วมกันมาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มก่อตั้ง

 

“สิ่งที่อยากจะบอกถึงคนทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อ แม้ว่า ‘Content is the King’ แต่ต้องไม่ลืมว่า รูปแบบการเสพสื่อยุคนี้เปลี่ยนไป พึ่งพา Global Platform มากขึ้น มันคงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวว่าทำคอนเทนต์อย่างไรถึงประสบความสำเร็จ ต้องเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอย่าลืมที่จะกระจายความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองหรือทำธุรกิจอื่นๆ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจเดิมได้ เพราะการทำธุรกิจยุคนี้มีตะกร้าใบเดียวไม่ได้อีกต่อไป และนี่คือเหตุผลที่วันนี้อมรินทร์กรุ๊ปถึงขยายธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น” ระรินกล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising