มีความเป็นไปได้ที่เด็กเจนใหม่จะกลายเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ฉลาดและเรียนรู้ไวที่สุด!
ทว่าการเติบโตท่ามกลางโลกที่ท่วมท้นด้วยข้อมูลมหาศาล การแข่งขันกับคนเจนเดียวกันที่นับวันจะเก่งและแกร่งขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นเรื่องที่พ่อแม่ยุคใหม่เริ่มกังวลว่าจะช่วยสร้างพัฒนาการและเสริมศักยภาพให้พวกเขาเติบโตในโลกแห่งอนาคตได้อย่างไร?
จริงอยู่ที่ว่า ‘ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด’ แต่พ่อแม่สามารถเตรียมสมองลูกน้อยให้เติบโตด้วยสมองที่ชาญฉลาดได้ตั้งแต่เกิด เพราะหากลูกมีพื้นฐานที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้เด็กคิดเร็ว เรียนรู้ไว และต่อยอดสู่การเสริมสร้างทักษะสมองขั้นสูง สามารถปรับตัวกับทุกสถานการณ์ แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
‘สมองไว’ สร้างได้ตั้งแต่แรกเกิด
‘สมอง’ คือจุดเริ่มต้นของทุกพัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน การเรียนรู้ภาษา หรือโต้ตอบกับพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากพัฒนาการสมองของทารก โดยเฉพาะในขวบปีแรก
งานวิจัยพบว่า จุดเริ่มต้นที่แตกต่างในวัยทารกอาจส่งผลต่อโอกาสความสำเร็จที่แตกต่างในอนาคต การเรียนรู้ที่ดีตั้งแต่ต้นในวัยเด็กส่งผลต่อสติปัญญา ความฉลาด และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ
งานวิจัยทางการแพทย์มากมายระบุว่า 1,000 วันแรกนับตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 40 สัปดาห์ จนอายุ 2 ขวบ เป็นช่วงที่สมองมีพัฒนาการมากที่สุด องค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนสร้าง ‘สมองไว’ คือ พันธุกรรม การเลี้ยงดู รวมถึงโภชนาการด้วย หนึ่งในสารอาหารสำคัญเพื่อการพัฒนาสมองในขวบปีแรกให้สมบูรณ์คือนมแม่ ซึ่งในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และในนมแม่มีสารอาหารที่เรียกว่า ‘แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน’ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การทำงานของสมองในเด็กเจนใหม่มีประสิทธิภาพ โดยการสร้างสารสื่อประสาทในสมองและเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งสัญญาณประสาทให้เป็นไปแบบก้าวกระโดด รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วในการส่งสัญญาณประสาทที่ดีขึ้น โดยแอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่รวดเร็วของสมอง (FAST Processing Brain), สมองที่คิดพลิกแพลง (FLEXIBLE Brain) และสมองมีสมาธิ (Brain FOCUS) ดังนั้นแล้วแอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารอาหารที่สำคัญในขวบปีแรก
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาศักยภาพในการเรียนรู้ของทารกผ่านการสร้างภาพสมองด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI) พบว่า สมองเนื้อสีขาวซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านในของสมอง จะมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้น โดยกระบวนการดังกล่าวเรียกว่ากระบวนการสร้างไมอีลิน งานวิจัยยังระบุด้วยว่า เด็กที่ได้รับนมแม่ที่อุดมไปด้วยสฟิงโกไมอีลินและ DHA จะมีปริมาณไมอีลินที่สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่อย่างมีนัยสำคัญ
สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศ.ฌอน ดิโอนี พบว่า ไมอีลินมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทต่างๆ ส่งผลให้สมองสามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากสมองสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วขึ้นเท่าไร ก็จะทำให้ลูกน้อยจดจำและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ไวขึ้นเท่านั้น ซึ่งการทำงานของสมองในด้านกระบวนการทางสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลระหว่างสมองหลายส่วน จึงจะช่วยให้ลูกน้อยสามารถคิด วิเคราะห์ และจดจำได้
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมโภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อยได้ และการได้รับสารอาหาร ‘แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน’ จากนมแม่ในขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของการพัฒนาสมองลูกจึงสำคัญ
ดังนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่เริ่มได้ตั้งแต่วันแรกด้วยสารอาหารที่พัฒนาสมองที่พบในนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงแอลฟาแล็ค (แอลฟาแล็คตัลบูมิน) สฟิงโกไมอีลิน เพื่อความสำเร็จของเด็กยุคเจนอัลฟ่า สร้างสมองไวได้มากกว่าที่แม่คิด เพื่อให้เขามีพัฒนาการเด็กสมองไวที่พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าโลกจะหมุนไปเร็วแค่ไหน สมองของลูกก็พร้อมจะไวก้าวทันโลกใบนี้อย่างมีความสุขในทุกๆ วัน
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม เข้าชมได้ที่ S-Mom Club คลิก: https://www.s-momclub.com และสามารถสมัครสมาชิกเพื่อปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง หรือสามารถปรึกษาและพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพโภชนาการและพัฒนาการสำหรับคุณแม่และลูกน้อยตามช่วงวัยได้ที่: LINE OpenChat S-Mom Club
อ้างอิง:
- สภาการศึกษา
- National Institutes of Health (US); Biological Sciences Curriculum Study.
- Alpha Lactalbumin – an overview | ScienceDirect Topics
- Susuki, K. (2010) Nature Education 3(9):59Deoni S, 2012.
- Deoni S, 2012.
- Dai X, et al, 2019.
- Kar P, et al. Neuroimage. 2021 Aug 1:236:118084.
- Department of Mental Health (dmh.go.th)
- Horwood LJ et al. Arch Dis Child Neonatal Ed 2001; 84: F23-F27.
- Generation Beta starts in 2025: 5 things to know – ABC News
- https://flo.health/pregnancy/pregnancy-health/fetal-development/fetal-brain-development
- https://thestandard.co/sphingomyelin/