×

ออก Start อย่างไรให้ Success เจาะเบื้องหลังความสำเร็จของสตาร์ทอัพไทย ที่เริ่มต้นในสนามเด็กเล่น [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
09.02.2018
  • LOADING...

เมื่อพูดถึง ‘สตาร์ทอัพ’ ขึ้นมา หลายคนคงนึกไปถึงนักธุรกิจหน้าใหม่ที่เริ่มจะมีชื่อเสียงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้มองเห็นถึงความสำเร็จและการเติบโตที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว

 

แต่ก็ใช่ว่าธุรกิจสตาร์ทอัพทุกโครงการจะประสบความสำเร็จไปเสียทั้งหมด หลายโปรเจกต์สตาร์ทอัพนั้นเกิดขึ้นมาแล้วก็ล้มตายไปโดยยังไม่ทันได้ลืมตาอ้าปาก ดับฝันเจ้าของโปรเจกต์ไปนักต่อนัก

 

แล้วอะไรที่ทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประสบความสำเร็จได้ล่ะ?

 

วันนี้เราเลยจะชวนทุกท่านไปนั่งคุยกันถึงเบื้องหลังความสำเร็จของเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพของเมืองไทย ทั้งที่มาที่ไป แพสชัน และทีมงานเบื้องหลังที่ส่งให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถเดินต่อไปได้ THE STANDARD พาทุกท่านไปนั่งคุยถึงภาพรวมของธุรกิจสตาร์ทอัพกับ คุณต้อม คุณหลิน และคุณโอ๊ต ตัวแทน Mentor จาก AIS Playground ที่มีความใกล้ชิดกับธุรกิจสตาร์ทอัพ

 

 

ที่มาของ AIS Playground นั้นคุณต้อมเล่าให้ฟังว่า เกิดจากการที่ AIS ต้องการเอาดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ ของ AIS มาไว้เพื่อให้นักพัฒนาได้เข้ามาลองทดสอบเชื่อมต่อ โดยจะมีการซัพพอร์ต 5 ด้านด้วยกัน หนึ่งคือ APIs ที่นักพัฒนาสามารถเอาโปรดักต์ของตนเองมาลองใช้และเชื่อมต่อได้ที่นี่ สองคือเรื่องเน็ตเวิร์ก ไม่ว่าจะเป็น NextG, 4G และ Super WiFi ความเร็วสูงที่มีให้ทดสอบกัน ส่วนที่สามคือมี Device ถึงสิบกว่ารุ่นให้นักพัฒนาสามารถทดลองใช้ได้ ส่วนที่สี่คือมีเวิร์กช็อปที่ให้สตาร์ทอัพเข้ามาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และสุดท้ายคือมีเหล่า Mentor ที่จะคอยช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ ด้านเทคนิค หรือเรื่องดีไซน์ ตามความถนัดและเชี่ยวชาญของ Mentor แต่ละคน

 

หลังจากก่อตั้งขึ้นมาได้ไม่นาน AIS Playground ก็มีธุรกิจสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการมากมาย และหลายรายนั้นก็ประสบความสำเร็จกันโดยถ้วนหน้า ซึ่งคุณหลินมองว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประสบความสำเร็จได้นั้นอยู่ที่ไอเดียที่น่าสนใจ และสามารถตอบโจทย์ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ ซึ่งถ้าเรามีไอเดียที่ดีพอแล้ว ส่วนต่อมาก็จะเป็นเรื่องของทีมที่จะมาจัดการไอเดียนั้นให้เป็นจริง รวมไปถึงการวาง Business Model ที่ไปด้วยกันกับไอเดีย สามารถทำกำไร อยู่รอด และโตขึ้นไปได้

 

 

และในฐานะที่คลุกคลีกับเหล่าสตาร์ทอัพมาพอสมควร คุณต้อมเล่าว่าจุดแข็งของสตาร์ทอัพเมืองไทยนั้นอยู่ที่การเกาะกลุ่มที่เหนียวแน่น เวลามีปัญหาอะไรก็มักจะปรึกษาและช่วยกัน ทำให้ Ecosystem มันครบสมบูรณ์ในตัวธุรกิจ ซึ่งคุณโอ๊ตก็เสริมขึ้นมาว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยนั้นมีลักษณะเป็นพี่เป็นน้องกัน ไม่หวงความรู้ มีการแชร์ทั้งประสบการณ์และความรู้ที่ตัวเองได้เจอมา หรือบางโปรเจ็กต์มีความคล้ายคลึงกันก็สามารถมาร่วมเป็นพาร์ตเนอร์ไปด้วยกันได้แบบไม่มีปัญหา แต่แน่นอนว่าก็ยังมีบางเรื่องที่ต้องปรับอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแพสชันที่มีไม่เพียงพอ ทีมงานที่ไม่ครบครัน หรือตัวโปรดักที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งทั้ง 3 คนคิดว่าวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ที่ดีที่สุดก็คือความมุ่งมั่นและการทดลองทำที่จะทำให้เราสามารถพบคำตอบที่ถูกต้องได้ ขอเพียงแค่ไม่ล้มเลิกกันไปเสียก่อน

 

หลังจากคุยกับฝั่ง Mentor กันไปแล้ว เราลองย้ายฝั่งมาคุยกับทางสตาร์ทอัพที่อยู่ในโครงการนี้กันบ้าง เริ่มจากคุณเอ็กซ์-วรวุฒิ พิรักษา ตัวแทนจาก Sportlyze สตาร์ทอัพหน้าใหม่ด้านกีฬา ที่จะทำการเก็บรวบรวมสถิติและข้อมูลต่างๆ ของนักกีฬา ที่หลายคนเห็นว่ามีความน่าสนใจและน่าจะสามารถขับเคลื่อนวงการฟุตบอลของไทยได้เลยทีเดียว

 

 

โปรเจกต์นี้เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยความสนใจใกล้ตัวของคุณเอ็กซ์เองที่เป็นแฟนฟุตบอลไทยอยู่แล้ว ติดตามดูมาตั้งแต่ก่อนที่ไทยลีกจะบูมขึ้นมาอย่างทุกวันนี้ เลยมีความคิดที่อยากจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาวงการฟุตบอลไทยจนกลายเป็นโปรเจกต์นี้ขึ้นมา “เป้าหมายคือเราจะใช้ Big Data ตัวนี้เข้ามาช่วยพัฒนานักเตะของทางสโมสร และเพิ่มประสบการณ์ให้กับแฟนๆ ทั้งในและนอกสนาม” ซึ่งนอกจากข้อมูลต่างๆ ที่เราจะได้รับแล้ว ทาง Sportlyze ยังมีการพัฒนาเกม Fantasy Football ของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้แฟนฟุตบอลได้มีส่วนร่วมและเห็นผลที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

ซึ่งทาง AIS Playground ก็ได้เห็นถึงความน่าสนใจและความเป็นไปได้ของโปรเจกต์นี้ Sportlyze จึงได้ผ่านเข้ามาอยู่ในโครงการ “การเข้ามา AIS Playground มันช่วยในสองด้านครับ เรื่องแรกคือการใช้ API ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ OTP, SMS หรือ Privilege ต่างๆ และอีกส่วนก็จะเป็นเรื่องโมเดลธุรกิจและแนวทางการทำการตลาดร่วมกับทาง AIS”

 

ตอนนี้ทางทีม Sportlyze กำลังจะเริ่มเปิดให้แฟนๆ ได้เข้าได้ใช้งานโปรแกรม Fantasy Football กันแล้ว รวมไปถึงการทดสอบโปรแกรมเก็บข้อมูลกับทีมฟุตบอลจริงด้วย “ตอนนี้เรากำลังจะเริ่มทดสอบตัวโปรแกรมเก็บข้อมูลกับทีมขอนแก่น เอฟซี อย่างเป็นทางการ และตัว Fantasy Football เราจะเริ่มเปิดให้ใช้ในช่วงเปิดฤดูกาลเดือนกุมภาพันธ์นี้ และจะเริ่มทำการตลาดในช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งก็ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีผู้ใช้งานไม่ต่ำกว่า 50,000 คนในปีนี้”

 

 

เมื่อถามว่าอยากให้ Sportlyze ไปไกลถึงขั้นไหน คุณเอ็กซ์มองว่ามันสามารถไปไกลจนถึงระดับทีมชาติได้เลยทีเดียว “เรามองว่ามันเป็นส่วนที่จะทำการตลาดให้กับนักเตะในไทยลีกด้วย มันจะทำให้คนรู้จักนักเตะมากขึ้น ไม่ใช่แค่พวกซูเปอร์สตาร์อย่างเดียว เราอาจจะไปเจอปีโป้ (สิโรจน์ ฉัตรทอง) คนใหม่จนขึ้นมาติดทีมชาติก็ได้นะ”

 

และอีกหนึ่งทีมที่เราได้มานั่งพูดคุยด้วยในวันนี้ก็คือ BeNeat ธุรกิจการจัดหาแม่บ้านออนไลน์จากเชียงใหม่ ที่ผ่านเข้ามาเป็นครอบครัว AIS The StartUp เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในโครงการ Monthly Pitching ที่เราได้คุณฮู้ด-อานนท์ น้อยอ่ำ และคุณต้น-ดร.คมคิด ชัชราภรณ์ มาร่วมนั่งพูดคุยด้วยกันในครั้งนี้

 

 

จุดเริ่มต้นของทาง BeNeat นั้นก็เริ่มมาจากที่ทั้งคุณฮู้ดและคุณต้นเคยทำธุรกิจ Airbnb มาก่อน ซึ่งก็ค้นพบว่าปัญหาอย่างหนึ่งของธุรกิจนี้คือการตามหาแม่บ้านที่สามารถทำความสะอาดได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ เพราะแม่บ้านส่วนมากจะทำความสะอาดแค่ในระดับที่อยู่อาศัย แต่ลูกค้านั้นต้องการความสะอาดในระดับเดียวกับโรงแรม ทั้งสองจึงร่วมมือคิดหาไอเดียจนเกิดเป็นโปรเจกต์นี้ขึ้นมา

 

“จริงๆ ธุรกิจนี้ไม่ใช่ของใหม่ บริการจ้างแม่บ้านทำความสะอาดก็มีอยู่หลายเจ้า ซึ่งแต่ละเจ้าก็มีจุดขายคนละแบบ บางเจ้าให้ราคาถูกที่สุด หรือบางเจ้าก็มีเซอร์วิสอื่นด้วย ซึ่งผมมองว่ามันเหมือนร้านอาหารที่มีหลายแบบ ซึ่งของเราเองก็เน้นโฟกัสไปที่การทำความสะอาดที่เร็วและได้คุณภาพสูงสุด ซึ่งพอเราโฟกัสที่บริการเพียงอย่างเดียว เราก็พบว่าเราสามารถควบคุมคุณภาพได้ง่ายขึ้นด้วย” คุณฮู้ดอธิบายเกี่ยวกับจุดแข็งของทาง BeNeat ให้เราฟัง

 

 

และถึงแม้จะเป็นสตาร์ทอัพจากเชียงใหม่ แต่ AIS ก็เห็นถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจจนนำมาสู่การเข้าร่วมโครงการ AIS Playground และเกิดเป็นการขยายตัวของธุรกิจจนตอนนี้ไม่ได้อยู่แค่ในเชียงใหม่อีกต่อไป “ในช่วงปีแรกเราให้บริการอยู่ที่ 2 จังหวัดคือเชียงใหม่ ก่อนจะขยายไปที่กรุงเทพฯ เราทดลองว่าถ้าเรามีเฮดออฟฟิศอยู่แค่ที่เชียงใหม่ เราจะสามารถลงไปทำที่จังหวัดอื่นโดยที่ไม่ต้องมีการลงไปสร้างออฟฟิศหรือดำเนินการเองได้ไหม ซึ่งก็พบว่าได้ หลังจากนั้นเราเลยลองเข้าไปที่หัวเมืองอื่นว่ามันเป็นไปได้ไหม ทั้งพัทยา ภูเก็ต ระยอง ซึ่งปีนี้ก็มีแพลนที่จะขยายไปจังหวัดอื่นๆ ด้วย นอกจากนั้นเรายังมีการเพิ่มบริการพิเศษ ทั้ง Big Cleaning ที่สามารถทำความสะอาดครั้งใหญ่สำหรับบ้านที่สร้างเสร็จใหม่ และ Cleaning for Business สำหรับกิจการต่างๆ ที่ต้องการแม่บ้านเช่นกัน”

 

จากความสำเร็จนี้ คุณต้นบอกไว้ว่าเคล็ดลับนั้นไม่มีอะไรมาก ขอเพียงแค่ลงมือทำเท่านั้นเอง “ลองทดสอบให้ไว ล้มเหลวไม่เป็นไร แต่ขอให้ทดลองไปเรื่อยๆ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของเวลา ถ้าคุณทำไวคุณก็จะรู้ผลลัพธ์เร็วเท่านั้นเองครับ”

FYI
  • AIS Playground คือส่วนหนึ่งของบริการใน AIS D.C. โดยถือเป็นแห่งแรกที่เปิดโอกาสให้เหล่าครีเอเตอร์ได้ทดสอบระบบเชื่อมต่อ API บน Product & Service ของตนเอง กับ AIS Digital Platform ที่รองรับการทำ Digital Business ที่หลากหลาย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจาก AIS ที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ais.co.th/aisdc
  • สำหรับสตาร์ทอัพมือใหม่ที่ต้องการคำปรึกษาในการทำธุรกิจ หรือทดลองเชื่อมต่อระบบที่กำลังพัฒนา สามารถติดต่อเพื่อเข้าใช้งาน AIS Playground ได้ 2 ช่องทางคือ
    • Walk-In เอไอเอสเปิดโอกาสให้คนทั่วไปที่มีความสนใจสามารถเข้ามาพูดคุยเบื้องต้นได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.30-19.00 น. โดยสามารถนัดหมายผ่านเคาน์เตอร์ AIS D.C. Info Guru หรือเบอร์ 0 2299 2299
    • AIS The StartUp Connect ทาง www.ais.co.th/thestartup หากผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจะได้ร่วมทำธุรกิจในฐานะพาร์ตเนอร์กับเอไอเอส หรือหากไม่ผ่านเกณฑ์แต่มีศักยภาพในการพัฒนาก็จะได้รับสิทธิ์เป็นสมาชิก AIS D.C. เวลา 2 เดือน พร้อมเข้าใช้ห้อง AIS Playground เพื่อรับคำปรึกษาจากทีม Mentor
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising