×

DQ ความฉลาดทางดิจิทัล ภูมิคุ้มกัน Cyberbully โรคระบาดในสังคมโซเชียล [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
19.06.2020
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 MINS. READ
  • การระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying) หมายถึง การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อโซเชียลต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เป็นต้น โดย Cyberbully อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากการแกล้งกันเล็กๆ น้อยๆ ล้อเล่นกันขำๆ แบบไม่ตั้งใจ หรืออาจเกิดจากความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ความรู้สึกด้านลบต่างๆ ทั้งที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล
  • สถาบัน DQ (Digital Intelligence Quotient) ประเทศสิงคโปร์ ได้จัดทำดัชนีวัดความปลอดภัยสำหรับเด็กในโลกออนไลน์ หรือ Child Online Safety Index (COSI) พบว่า เด็กไทยอายุ 13 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงถึง 47% ที่จะเกี่ยวข้องกับการรังแกออนไลน์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของเด็กชาติอื่นอยู่ที่ 37% โดยเด็กผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเด็กผู้หญิง (53 ต่อ 41%) 
  • AIS ร่วมมือกับ DQ Institute ประเทศสิงคโปร์ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและครูลงทะเบียนให้เด็กๆ ได้สนุกกับ DQ Program แบบทดสอบพัฒนาทักษะทางดิจิทัล สมัครได้ที่ www.dqworld.net เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับ 35,000 ครอบครัวแรก เพื่อให้เด็กๆ ก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีภูมิคุ้มกัน 

การบูลลี่กันไม่ใช่ประเด็นใหม่ในสังคมไทยและสังคมโลก เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้การบูลลี่นั้นไม่ได้ถูกจำกัดหรือเกิดขึ้นเฉพาะในสถานการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กันแบบซึ่งๆ หน้าอีกต่อไป สื่อโซเชียลมากมายกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ไซเบอร์บูลลี่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และบ่อยครั้งผู้กระทำก็มักจะไม่เปิดเผยอัตลักษณ์ที่แท้จริงว่าตนเองเป็นใคร จึงยิ่งทำให้ไซเบอร์บูลลี่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

 

 

รู้จัก Cyberbullying โรคระบาดในสังคมโซเชียล

ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติให้ ‘การระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying)’ หมายถึงการกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อโซเชียลต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เป็นต้น โดย Cyberbully อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากการแกล้งกันเล็กๆ น้อยๆ ล้อเล่นกันขำๆ แบบไม่ตั้งใจ หรืออาจเกิดจากความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ความรู้สึกด้านลบต่างๆ ทั้งที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล ซึ่งมักจะมีประเด็นเกี่ยวกับ ‘ความแตกต่าง’ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปร่างหน้าตา เพศ สีผิว เชื้อชาติ การศึกษา ศาสนา ค่านิยม ทัศนคติ หรือแม้แต่สถานะทางสังคม 

 

สถาบัน DQ (Digital Intelligence Quotient) ประเทศสิงคโปร์ ได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 44,000 คน จาก 450 โรงเรียนในทุกภาคของประเทศไทยในปี 2562 เพื่อจัดทำดัชนีวัดความปลอดภัยสำหรับเด็กในโลกออนไลน์ หรือ Child Online Safety Index (COSI) จากผลสำรวจพบว่า เด็กไทยอายุ 8-19 ปี มีโอกาสเผชิญกับอันตรายต่างๆ ในโลกออนไลน์ 6 ด้าน ได้แก่ การรังแกออนไลน์ การใช้เทคโนโลยีอย่างไม่มีวินัย ความเสี่ยงจากเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ความเสี่ยงจากการพบคนแปลกหน้า การถูกคุกคามในโลกไซเบอร์ และความเสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียง  

 

ผลการสำรวจของ COSI ในเรื่องการรังแกออนไลน์ พบว่า เด็กไทยถูกรังแกหรือรู้เห็นการรังแกกันออนไลน์ตั้งแต่อายุน้อย เด็กไทยอายุ 13 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงถึง 47% ที่จะเกี่ยวข้องกับการรังแกออนไลน์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของเด็กชาติอื่นอยู่ที่ 37%  โดยเด็กผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเด็กผู้หญิง (53 ต่อ 41%)  และเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ของเด็กไทยอายุ 8-12 ปี เคยถูกรังแกหรือรู้เห็นการรังแกกันออนไลน์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กประเทศอื่นถึง 29% 

 

นอกจากการใช้พื้นที่ในโลกออนไลน์โจมตีกันนี้จะสร้างผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา บางรายอาจรู้สึกหวาดระแวง หดหู่ โดดเดี่ยว จนอาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า และอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายตัวเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู เป็นบุคคลสำคัญที่จะมีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน ให้รู้เท่าทันโลกออนไลน์ และช่วยเยียวยาพวกเขาภายหลังจากการถูก Cyberbully 

 

 

วิธีรับมือ Cyberbullying สู่การสร้างภูมิคุ้มกันด้วย DQ เราจะมีวิธีการรับมือ Cyberbully อย่างไร

อันดับแรกอาจจะต้องเริ่มต้นที่ตัวของผู้ที่ถูก Cyberbully เริ่มประเมินการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของตนเอง จัดการกับความรู้สึกด้านลบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ ปรับเวลาการใช้งานให้เหมาะสม เลี่ยงการ Cyberbully กลับ เพราะอาจจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง รายงานความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการสื่อโซเชียลนั้นๆ ตัดช่องทางการติดต่อสื่อสารกับบุคคลดังกล่าว รวมถึงเก็บรวบรวมหลักฐานการ Cyberbully ไว้ หากจำเป็นต้องใช้ในอนาคต

 

ที่สำคัญอาจมองหาตัวช่วยหรือคำแนะนำจากผู้ใหญ่ที่สามารถให้คำปรึกษาได้ โดยเฉพาะผู้ปกครองและครูอาจารย์ บ่อยครั้งที่เด็กและเยาวชนจำนวนมากไม่กล้าที่จะปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ปกครองและครูโดยตรง เพราะเกรงว่าอาจจะถูกดุ ถูกจำกัดการเข้าถึงโลกออนไลน์ และได้รับอนุญาตให้เล่นโทรศัพท์มือถือ รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆ น้อยลง ในขณะที่ผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง และครูอาจารย์เอง ก็จำเป็นต้องสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรับฟังปัญหา มองประเด็นดังกล่าวอย่างเข้าใจ พร้อมให้คำปรึกษา และไม่ปล่อยให้เด็กเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบากเพียงลำพัง

 

แต่จะดีกว่าไหม ถ้าบรรดาผู้ใหญ่ ทั้งผู้ปกครองและครูสามารถเตรียมความพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กๆ ให้รู้เท่าทัน ปรับตัวต่อเทคโนโลยีและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเข้าใจ ผ่าน DQ หรือ Digital Intelligence Quotient Program ชุดความรู้ 360 องศา ที่เป็นมาตรวัดความฉลาดทางดิจิทัลที่จะช่วยประเมินทักษะด้านการเข้าสังคม การจัดการอารมณ์ และกระบวนการคิดต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กอายุ 8-12 ปี ก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีภูมิคุ้มกัน เรียนรู้ เข้าใจ และเยียวยาตนเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเผชิญหน้ากับความท้าทายและแรงกดดันที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ รวมถึงความรุนแรงทางไซเบอร์รูปแบบต่างๆ 

 

 

DQ ความฉลาดทางดิจิทัล เกราะคุ้มภัยในโลกแห่งการบูลลี่

ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) คือทักษะสำคัญถัดจากความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ทุกคนในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องมี โดยหลักสูตร DQ นี้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิชาการจาก Nanyang Technological University (สิงคโปร์) และ Iowa State University (สหรัฐอเมริกา) ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากสภาเศรษฐกิจโลก (WEF) และองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ซึ่งได้รับความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก และมีการนำ DQ ไปใช้เตรียมความพร้อมและให้ความรู้แก่เด็กๆ ในกว่า 110 ประเทศทั่วโลก

 

 

DQ Program จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยปูพื้นฐาน 8 ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลให้แก่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักยับยั้งชั่งใจคุมเวลาตัวเองเมื่ออยู่หน้าจอ, เข้าใจสิทธิความเป็นส่วนตัว, รู้ทันสถานการณ์ว่าต้องทำอย่างไรเมื่อโดนรังแก, สร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์ให้เหมือนตัวจริง, รู้จักดิจิทัลฟุตพรินต์ โพสต์อะไรไว้ให้นึกถึงผลที่จะตามมา, ท่องอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย, รู้จักคิดเป็น ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารได้ และรู้จักสื่อสารด้วยความเห็นใจ ใจเขาใจเรา เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีในอนาคต

 

AIS ได้ร่วมมือกับ DQ Institute ประเทศสิงคโปร์ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและครูลงทะเบียนให้เด็กๆ ได้สนุกกับ DQ Program แบบทดสอบพัฒนาทักษะทางดิจิทัลได้ฟรี แบบไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับ 35,000 ครอบครัวแรก สมัครได้ที่ www.dqworld.net   

 

หลังจากที่ผ่าน 82 ภารกิจ จาก 8 ทักษะแล้ว ผู้ปกครองจะได้รับใบคะแนนรายงานผลการประเมินว่าเด็กๆ มีความเข้าใจทักษะต่างๆ มากน้อยเพียงใด วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย รวมถึงรับคำแนะนำสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึงครูที่จะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เด็กๆ เหล่านี้มีภูมิคุ้มกันที่ดี จัดการความท้าทายต่างๆ ในโลกออนไลน์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการถูก Cyberbully มองธรรมชาติของการสื่อสารออนไลน์อย่างเข้าใจและมีสติ

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising