×

AEONTS – พรีวิวงบ 3QFY65 คาดกำไรเติบโตดีทั้ง YoY และ QoQ

09.12.2022
  • LOADING...
AEONTS

เกิดอะไรขึ้น:

InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 3QFY65 (เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2565) ของ บมจ.อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) หรือ AEONTS โดยคาด 3QFY65 กำไรจะเติบโต 34%YoY และ 21%QoQ สู่ระดับ 1.1 พันล้านบาท แรงหนุนจากสินเชื่อที่คาดจะเติบโตเร่งตัวขึ้น QoQ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิต หลังประเทศไทยกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง รวมทั้งบริษัทคาดว่าจะมีการบันทึกกำไรจากการขาย NPL ราว 200 ล้านบาท และหนี้สูญได้รับคืนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ 

 

อย่างไรก็ดี NIM จะลดลงเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นและ Credit Cost ที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับสูงที่ 7.85% (เทียบกับ 7.9% ใน 2QFY65 และ 8.1% ใน 3QFY64) ซึ่งเป็นผลจากคุณภาพสินทรัพย์ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อสูงและสถานการณ์น้ำท่วมใน 3QFY65 ขณะที่คาด OpEx จะอยู่ในระดับทรงตัวทั้ง YoY และ QoQ

 

กระทบอย่างไร:

ล่าสุดปิดตลาดหุ้นไทยเย็นวานนี้ (8 ธันวาคม) ราคาหุ้น AEONTS ปรับเพิ่มขึ้น 2.99%DoD สู่ระดับ 172.00 บาทต่อหุ้น ขณะที่ SET Index ปรับลดลง 0.11%DoD สู่ระดับ 1,620.49 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2565-2566:

InnovestX Research คาดปี FY2565 AEONTS จะมีกำไรฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้ดีราว 19%YoY และ 9%YoY ในปี FY2566 ปัจจัยขับเคลื่อนหลักจะมาจาก 

 

  1. สินเชื่อคาดว่าจะเติบโตดีขึ้นที่ 7% หลังบริษัทวางแผนกระตุ้นการเติบโตของสินเชื่อส่วนบุคคล และจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ 

 

  1. Credit Cost คาดว่าจะลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมองการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำน่าจะช่วยลดความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ตั้งแต่ 4QFY65 ซึ่งในปี FY2565 คาดว่า Credit Cost จะอยู่ในระดับทรงตัวที่ 7.45% (เทียบกับ 7.43% ในปี FY2564) และปี FY2566 คาดว่า Credit Cost จะลดลง 5 bps สู่ 7.4% ส่วน NIM คาดว่าจะมีแนวโน้มหดตัวลง อันเป็นผลมาจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น 

 

แม้ AEONTS คาดว่าต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นอีกจะอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ เนื่องจากบริษัทได้ล็อกต้นทุนทางการเงินด้วยการออกหุ้นกู้ระยะยาวไว้ค่อนข้างมากแล้ว 

 

สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม 

  1. ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจชะลอตัวตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 
  2. ความเสี่ยงด้าน NIM จากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น 
  3. ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบจากการที่ ธปท. ตั้งเป้าให้สถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อรับมือกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising