×

นักวิชาการ-สื่อมวลชนแวดวง IR กล่าวถึงการจากไปของ เฮนรี คิสซิงเจอร์

โดย THE STANDARD TEAM
01.12.2023
  • LOADING...

 

“จากปัญญาชนสำนัก Realpolitik สู่รัฐบุรุษรางวัลโนเบล ผู้สร้างเสถียรภาพแห่งดุลอำนาจอันก่อให้เกิดจุดสิ้นสุดแห่งสงครามเย็น บนความย้อนแย้งที่ในหลายๆ มุมของโลกมองว่าเขาคืออาชญากรสงครามที่นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ทั้งหมดนั้นคือบุคคลตัวอย่างที่อุทิศการทำงานจนถึงอายุ 100 ปี เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา นั่นคือ เฮนรี คิสซิงเจอร์

 

รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน

 


 

 

ในแง่การดำเนินนโยบายกับประเทศต่างๆ ของ เฮนรี คิสซิงเจอร์ สามารถถกเถียงกันได้ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เขาเป็นนักวางกลยุทธ์ชั้นเลิศหรือเป็นเพียงคนเลือดเย็นกันแน่ แต่ที่ชัดเจนคือการดำเนินนโยบายของเขาพลิกประวัติศาสตร์ในหลายมุมของโลกและส่งผลกระทบมาถึงทุกวันนี้

 

จากการที่ได้มีโอกาสเจอเขาที่กรุงเทพฯ เมื่อหลายสิบปีก่อน สิ่งที่สัมผัสได้คือ แม้จะเลยวัยเกษียณมานานแล้ว แต่สมองยังเฉียบคมและยังเปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้น ใคร่รู้ อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เขาทันโลก ทันสถานการณ์ตลอดเวลา จึงไม่แปลกใจที่แม้ว่าอายุจะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คนก็ยังอยากฟังมุมมองของเขาว่าด้วยภูมิรัฐศาสตร์และการทูต คิสซิงเจอร์เป็นบุคคลที่โดดเด่นและโลกน่าจะจดจำเขาไปอีกนาน

 

วีณารัตน์ เลาหภคกุล

ผู้ดำเนินรายการ GLOBAL FOCUS

 


 

 

“แม้มีเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายที่ไม่ให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาคือนักการต่างประเทศที่โดดเด่นที่สุดในรอบ 100 ปี ช่วยเปลี่ยนแปลงภาพรวมสงครามเย็น นำไปสู่การผ่อนคลายความตึงเครียดกับโซเวียต สร้างความสัมพันธ์กับจีนจนเกิด  Triangular Diplomacy กับสหรัฐฯ หนังสือเล่มสุดท้ายของเขา AI จะมีส่วนอย่างมากในการกำหนดทิศทางภูมิรัฐศาสตร์ในอนาคต”

 

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง

 


 

 

“เฮนรี คิสซิงเจอร์ เป็นคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเยือนจีนของประธานาธิบดีนิกสัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการปิดฉากสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต การจากไปของท่านเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของยุคสมัยหลังสงครามเย็นที่กำลังจบลง วันนี้โลกหมุนเข้าสู่วงล้อของสงครามเย็นรอบใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนที่ตกต่ำลงถึงขีดสุด”

 

ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร 

ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 


 

 

“จุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดสงครามเวียดนาม การเปิดความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับจีนในสมัยริชาร์ด นิกสัน

 

“ท่าทีของสหรัฐฯ ในสงครามยมคิปปูร์ สงครามใหญ่ครั้งที่ 4 ระหว่างอิสราเอลกับสันนิบาตอาหรับในปี 1973

 

“จุดพลิกผันของภูมิรัฐศาสตร์เกิดขึ้นภายใต้รัฐมนตรีต่างประเทศที่มีชื่อว่า เฮนรี คิสซิงเจอร์ บุคคลระดับตำนานของโลก

 

ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

ผู้ดำเนินรายการ 8 Minute History

 


 

 

“คงไม่เกินเลยที่จะบอกว่าต่อจากนี้เรากำลังเข้าสู่โลกยุค Post Kissinger World เพราะที่ผ่านมาเขาคือหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงโลกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ในศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21”

 

ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารีย์

อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 


 

 

“มหามิตรชาวอเมริกันของจีน ผลงานสำคัญคือ Shanghai Communiqué ตั้งแต่ปี 1972 ที่สหรัฐฯ ยอมรับหลักการจีนเดียว”

 

รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 


 

 

“คิสซิงเจอร์เป็นสถาปนิกด้านการต่างประเทศแห่งยุคสมัย มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญในการกำหนดภูมิทัศน์การเมืองโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเปิดประตูสู่การสถาปนาความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนยุคสมัยใหม่ที่ดำเนินมาถึงปัจจุบัน เขายังเป็นต้นแบบการศึกษานโยบายต่างประเทศของนักการทูตและนักศึกษา IR ที่เกิดยุคก่อนและหลังสงครามเย็น มรดกที่ทิ้งไว้จะส่งผ่านไปอีกหลายเจเนอเรชันหลังจากนี้”

 

คมปทิต คงศักดิ์ศรีสกุล

บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ THE STANDARD

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X