×

A Human นิทรรศการภาพวาดส่งต่อความหวังและยกระดับการตระหนักรู้วิกฤตผู้ลี้ภัย โดย ป๊อก ไพโรจน์

10.06.2019
  • LOADING...

หลังจากที่ ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ศิลปินไทยในนิวยอร์ก ประสบความสำเร็จจากโปรเจกต์ ‘The Positivity Scrolls ม้วนกระดาษของความหวัง’ ที่ใช้เวลา 8 ปี บันทึกภาพวาดของคนไร้บ้านตามจุดต่างๆ ในนิวยอร์กลงบนม้วนกระดาษ เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ถึงการมีอยู่และระดมทุนบริจาคช่วยเหลือพวกเขา จนได้แสดงผลงานที่ New York’s New Museum

 

เขาก็ยังทำหน้าที่ของศิลปิน ใช้แปรงพู่กันเป็นกระบอกเสียง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงบุคคลไร้โอกาสต่อไปในนิทรรศการ A Human โดยคราวนี้เขาเลือกที่จะฉายไฟไปยังชาวโรฮีนจา ‘มนุษย์’ ผู้น่าสงสาร ที่ต้องเปลี่ยนสถานะกลายเป็นผู้ลี้ภัย  

ป๊อกเริ่มต้นโปรเจกต์ในช่วงเดือนเมษายน ปี 2018 ด้วยการเดินทางไปยังค่ายผู้ลี้ภัย เมืองคอกส์บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ ที่มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาอาศัยอยู่มากกว่า 200,000 คน

 

ใช้เวลา 5 วันนั้นเพื่อเก็บข้อมูล ทำความรู้จัก มองผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาในฐานะ ‘มนุษย์’ ด้วยความเข้าใจ และถ่ายทอดออกมาผ่านจานสีและปลายพู่กัน เพื่อย้ำเตือนให้อีกหลายล้านคนบนโลกรู้ว่ายังมี ‘เพื่อนมนุษย์’ ที่ดิ้นรน เฝ้ารอความหวังที่จะได้ใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านไป ณ พื้นที่แห่งนี้อยู่

 

ชาวโรฮีนจาคือ ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมไร้สัญชาติในรัฐยะไข่ทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า ที่ต้องใช้ชีวิตแบบบุคคลไร้สัญชาติ ถูกเลือกปฏิบัติ และตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงตั้งแต่ถูกเผาหมู่บ้าน ไล่ที่อยู่ เด็กและสตรีถูกข่มขืน มาเป็นเวลาหลายสิบปี

 

ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดได้ก่อให้เกิดความบอบช้ำทางจิตใจที่เกินกว่าคำบรรยาย จนทาง UNHCR มองว่า ชาวโรฮีนจาเป็น ‘ชนกลุ่มน้อยที่ถูกรังแกมากที่สุดในโลก’

 

เนื่องจากประเทศพม่ามีชายแดนติดกับประเทศบังกลาเทศ ยินดีเป็น ‘เจ้าบ้าน’ ให้ชาวโรฮีนจาเข้ามาอาศัยลี้ภัยอยู่ได้ ทำให้ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาอาศัยอยู่ในประเทศบังกลาเทศมากถึง 900,000 คน และกลายเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งที่บังกลาเทศเองก็นับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ ‘ยากจน’ ที่สุดในโลกอยู่แล้ว

 

นิทรรศการ A Human จะจัดแสดงผลงานภาพวาดผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา 14 ภาพ รวมกับ 5 ภาพ จากครอบครัวคริสเตียนผู้ลี้ภัยจากความขัดแย้งทางศาสนาจากบังกลาเทศที่เข้ามาที่ประเทศไทย ในวันที่ 15 มิถุนายน ณ ละลานตา ไฟน์ อาร์ต

 

โดยผลงานที่นำมาจัดแสดงเป็นการวาดภาพจากบุคคลจริงที่ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยที่ผลงานทั้งหมดเป็นภาพวาดขนาดใกล้ (Close Up) ของผู้ลี้ภัยแต่ละคน เพื่อให้เห็นรายละเอียดชีวิตที่ดิ้นรนปากกัดตีนถีบ และมอบประกายความหวังในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต

 


พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

 

 

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising