×

นิด้าโพลเปิดผลสำรวจ ‘ใครจะคุ้มครองผู้บริโภค’ ส่วนมากเชื่อว่าร้องขอความเป็นธรรมผ่านสื่อเร็วกว่าตำรวจ เกินครึ่งไม่เชื่อว่าดาราใช้ของที่โฆษณาจริง

โดย THE STANDARD TEAM
20.10.2024
  • LOADING...
นิด้าโพล

วันนี้ (20 ตุลาคม) ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง ‘ใครจะคุ้มครองผู้บริโภค’ สำรวจระหว่างวันที่ 15-16 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค, ระดับการศึกษา, อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าของดาราและอินฟลูเอ็นเซอร์

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการโฆษณาสินค้าของดาราและอินฟลูเอ็นเซอร์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของประชาชน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.21 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย, ร้อยละ 22.98 ระบุว่า ส่งผลมาก, ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล และร้อยละ 15.80 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล

 

ด้านความเชื่อของประชาชนที่มีต่อดาราและอินฟลูเอ็นเซอร์ใช้สินค้าจากการโฆษณาจริง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.29 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง, ร้อยละ 22.98 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเป็นบางครั้ง, ร้อยละ 20.53 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นเฉพาะตอนโฆษณา, ร้อยละ 3.89 ระบุว่า เชื่อว่าใช้สินค้านั้นจริง และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

ด้านความรู้สึกของประชาชนต่อการโฆษณาสินค้าที่มีของแถมจำนวนมาก และ/หรือลดราคาเยอะๆ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.12 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่าคุณภาพสินค้าอาจไม่ดี, ร้อยละ 30.23 ระบุว่า เป็นแค่วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ, ร้อยละ 23.89 ระบุว่า ไม่คิดจะซื้อสินค้าที่โฆษณาแบบนี้, ร้อยละ 19.47 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่ามีเงื่อนไขอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่, ร้อยละ 19.24 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่าต้นทุนสินค้าน่าจะถูกมาก, ร้อยละ 17.94 ระบุว่า จะตั้งข้อสงสัยว่าสินค้านั้นอาจใกล้หมดอายุการใช้งาน, ร้อยละ 8.63 ระบุว่า จะขอเปรียบเทียบคุณภาพกับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ, ร้อยละ 8.17 ระบุว่า จะขอเปรียบเทียบราคากับสินค้าที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงก่อนตัดสินใจ, ร้อยละ 7.02 ระบุว่า จะลองสั่งมาใช้, ร้อยละ 4.27 ระบุว่า ถ้าเป็นสินค้าที่ใช้เป็นประจำจะซื้อทันที, ร้อยละ 2.14 ระบุว่า สนใจที่จะซื้อสินค้านั้นทันที (แม้ว่าจะไม่เคยใช้ก็ตาม) และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

สำหรับการร้องเรียนจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 41.22 ระบุว่า ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ, ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่ร้องเรียนใดๆ, ร้อยละ 15.50 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสื่อ, ร้อยละ 12.06 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง เช่น หนุ่ม กรรชัย, กัน จอมพลัง, บุ๋ม ปนัดดา เป็นต้น, ร้อยละ 5.57 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวม สคบ.), ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง, ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับนักการเมือง

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการร้องเรียนที่ได้รับความเป็นธรรมเร็วที่สุดจากการถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวงให้ซื้อสินค้าหรือลงทุน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 24.81 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับสื่อ, ร้อยละ 23.05 ระบุว่า ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ, ร้อยละ 15.88 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับศิลปิน ดารา หรือจิตอาสาคนดัง เช่น หนุ่ม กรรชัย, กัน จอมพลัง, บุ๋ม ปนัดดา เป็นต้น, ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับ สคบ. และไม่ร้องเรียนใดๆ ในสัดส่วนที่เท่ากัน, ร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับทนายคนดัง, ร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวม สคบ.), ร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับ NGO ที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, ร้อยละ 0.07 ระบุว่า ไปร้องเรียนกับนักการเมือง และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising