อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เปิดเผยว่า ช่วง 8 เดือน (เดือนมกราคม-สิงหาคม) ของปี 2567 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามา ลงทุน ประกอบธุรกิจในไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 535 ราย
โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 143 ราย เงินลงทุนรวม 100,062 ล้านบาท โดย 5 ชาติแรกที่ลงทุนมากที่สุดคิดเป็นมูลค่ารวม 85,883 ล้านบาท
- เฉพาะพื้นที่ EEC ลงทุน 32,573 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 128% โดยญี่ปุ่น, จีน และฮ่องกง ลงทุนมากที่สุด
- ธุรกิจที่ลงทุนในพื้นที่ EEC ได้แก่ ธุรกิจบริการทางวิศวกรรม, อุตสาหกรรมยานยนต์, ออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัย และบริการซ่อมแซมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
“หากดูแต่ละรายธุรกิจ ปีนี้ถือได้ว่าการเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยช่วงที่ผ่านมามีส่วนช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (2566) พบว่าเพิ่มขึ้นจาก 23% มูลค่า 34,278 ล้านบาท ขณะที่การจ้างงานคนไทยลดลง 1,979 ราย คิดเป็น 44% ส่วนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่นเช่นเดียวกับปีก่อน”
THE STANDARD WEALTH ชวนดูสรุปข้อมูลที่น่าสนใจว่า 8 เดือนของปี 2567 มีการจ้างงานคนไทยไปแล้วถึง 2,505 คน จากทุนต่างชาติ 5 อันดับ เป็นนักลงทุนชาติไหนบ้าง ธุรกิจไหนมาใหม่และมาแรง
ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย