Digital Transformation คือกระบวนการที่ไม่ว่าจะองค์กรไหนๆ ล้วนต้องการจะบรรลุให้ได้ แต่หนทางที่จะบรรลุนั้นยังเป็นสิ่งที่องค์กรไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชนใช้เวลาในการศึกษา
วันนี้ THE STANDARD มาเปิดมุมมองด้าน Digital Transformation ไปกับผู้เชี่ยวชาญ ภูผา เอกะวิภาต รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS
Digital Transformation มีเพื่อ ‘ขั้นกว่า’ ขององค์กร
ภูผาได้ฉายภาพของ Digital Transformation กับทาง THE STANDARD ว่าจากรีเสิร์ชที่ AIS ทำกับลูกค้า พบว่า 70% ของลูกค้านั้นทำ Digital Transformation ซึ่งใน 70% นั้นมีองค์กรที่กำลังทำอยู่ และได้ผลลัพธ์อยู่ในทิศทางที่ดีถึง 40% นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่น่าพอใจสำหรับองค์กรต่างๆ ในประเทศ
“เหตุผลที่เป็นตัวกระตุ้นของการทำ Digital Transformation นั้นเกิดจากใครๆ ก็ต้องการ ‘ขั้นกว่า’ ไม่ว่าจะบริการที่ดีกว่า ประสบการณ์ที่ดีกว่า การซื้อมากกว่า แฮปปี้กว่า และในอีกฝั่งคือ การสร้างธุรกิจที่ Sustainable มีความแฟร์ รับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ไปจนถึงดูแลโลกได้”
“Transformation มันต้องเกิดขึ้นเสมอตราบใดที่คุณต้องมีการแข่งขัน คุณต้องแข่งขันเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ถ้าเราอยากรู้พฤติกรรมลูกค้า ความต้องการ เขาพึงพอใจกับสินค้าและบริการของเราไหม เราต้องการสิ่งที่วัดผลได้ เราจึงจะรู้ขั้นกว่า ดังนั้นเทคโนโลยีดิจิทัลจะตอบโจทย์ได้ในสิ่งนี้” ภูผากล่าว
ทุกวันนี้ AIS ยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จากการเป็นผู้ให้บริการในรูปแบบการสื่อสารทั่วไป ให้เปลี่ยนมาเป็น Digital Life Service Provider แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และมองไปถึงอนาคตที่วางเป้าหมายสู่การเป็น Cognitive Tech-Co เพื่อตอบสนองความต้องการด้วยโซลูชันที่ดียิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่ขั้นกว่าเช่นกัน
การพัฒนาของเรามองจากปัญหาที่ลูกค้าพบเจอ ช่วยลูกค้าในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาคือการอิงไปกับ Use Case ของลูกค้าจริงๆ ว่าเขาต้องการใช้เทคโนโลยี ใช้โซลูชันอะไรในการแก้ไขปัญหา การทำ Digital Transformation ไม่เพียงแต่การนำเทคโนโลยีทั้งหมดมาใช้ในการทำงาน แต่เป็นการเลือก เลือกเทคโนโลยี เลือกผู้ให้บริการ เลือกผู้ให้การช่วยเหลือ ที่พอเหมาะพอดี โดย AIS Business ที่เป็นหน่วยงานภายใต้ AIS ที่มุ่งเน้นนำเสนอเทคโนโลยี นวัตกรรม และโซลูชัน สนับสนุนการดำเนินธุรกิจทั้งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ไปจนถึง SMEs ให้สามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กร ช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับธุรกิจในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีและบริการเพื่อยกระดับสู่ความเป็นดิจิทัล ตามวิสัยทัศน์ธุรกิจในปี 2024-2025 ภายใต้แนวคิด AIS Business Digital Evolution: Sustainable Business for a Sustainable Nation ผ่าน 5 ขุมพลังด้านดิจิทัล
Infrastructure คือฐานสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน
“เรามีความมุ่งมั่นที่จะเป็น Provider ด้าน Digital Infrastructure อย่างเต็มกำลัง เราเห็นการใช้งาน 5G เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจ ลดต้นทุนในการทำงาน สร้างขีดความสามารถใหม่ๆ ในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ภูผากล่าว
ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของทาง AIS อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะ 5G Ecosystem การนำ 5G ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ดังเคสความสำเร็จของการตั้งโรงงานเครื่องปรับอากาศ บริษัทสัญชาติจีน Midea Group ในประเทศไทย โดยเป็นต้นแบบ 5G Smart Factory ซึ่งเป็นโรงงานอัจฉริยะแบบเต็มกำลังจากการเข้าไปช่วยเหลือด้าน Infrastructure จาก AIS
เรามีขุมพลังโครงสร้างพื้นฐานอย่าง Intelligent Network and Cloud ที่ให้บริการตั้งแต่ส่วนเล็กแบบ On-Premise Cloud ไปจนระดับไฮเปอร์สเกล ยืนยันด้วยรางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year Awards 3 ปีซ้อน (2022-2024), ผู้ให้บริการ Broadcom’s VMware Cloud Service Provider อันดับ 1 ในไทย พร้อมความร่วมมือกับ Oracle เพียงรายเดียวในไทย ที่จะให้บริการ Cloud ระดับไฮเปอร์สเกล ที่มีประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง Oracle รวมถึงผลการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในการตั้ง GSA Data Center ขนาด 20 เมกะวัตต์ ที่เน้นใช้พลังงานสะอาด และพร้อมให้แสดงความจำนงเข้าใช้บริการซึ่งจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2025
อีกหนึ่งขุมพลังที่สร้างความสำเร็จให้กับพาร์ตเนอร์ของ AIS คือด้าน Digital Platform and API ด้วยแพลตฟอร์มที่เป็นขุมพลังการเชื่อมต่อให้กับ ‘ไปรษณีย์ไทย’ ด้วยระบบ AIS CPaaS ที่แก้ปัญหา Pain Point การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับไม่เชื่อมต่อกัน ระบบนี้จะทำให้ผู้ขนส่งสามารถโทรหาเบอร์ของผู้รับพัสดุ โดยที่แพลตฟอร์มจะช่วยแปลงให้เบอร์โทรแสดงเป็นเบอร์ 1505 ของไปรษณีย์ไทย สร้างความเชื่อมั่นในการกดรับ ทำให้สามารถส่งพัสดุได้สำเร็จ ลดปัญหาต่างๆ
ในกระแสคลื่นใหม่ของโลกที่ถาโถมด้วยปัญญาประดิษฐ์ AI ถือเป็นอีกหนึ่งขุมพลังอย่าง AI and Data Analytics ซึ่งถือว่า AI เป็นเสมือน Infrastructure ขององค์กรดิจิทัลในโลกปัจจุบันไปแล้วในการเจาะอินไซต์และวางกลยุทธ์บริษัท
นอกจากนี้ AIS ยังมีขุมพลังด้านอุตสาหกรรมอย่าง Industry Transformation ที่สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีไปทรานส์ฟอร์มองค์กรธุรกิจในทุกระดับ ตั้งแต่ SMEs ไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต, ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก, องค์กรสาธารณะและภาครัฐ
“ทาง AIS เราเน้นเรื่องเศรษฐกิจร่วมกัน เราคือผู้นำด้าน Telco เราคือผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Intelligent Infrastructure นั่นคือสิ่งที่เราทำอยู่ และเราถนัด แต่เรายังเป็นตัวเล็กๆ ในเรื่องอื่นๆ เราเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่เรียนรู้จากลูกค้าเสมอ เราจึงต้อง Co-Creation ถ้ารู้คนเดียวก็จะไม่เติบโตร่วมกัน มันต้องวนเวียนอยู่ใน Ecosystem”
Co-Creation เป็นหัวใจในการเติบโต
แม้ทิศทางการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลขององค์กรต่างๆ กำลังไปในทิศทางที่ดี แต่อีกหลายองค์กรก็ยังไม่สามารถเดินหน้าไปได้ ภูผาฉายภาพให้เห็นว่า การทำ Digital Transformation ต้องอาศัยเวลาในการศึกษาและวิจัย บางบริษัทต้องใช้เวลามาก อีกทั้งบางองค์กรต้องหาบุคลากรที่จะสามารถปรับตัวและประยุกต์ใช้งานดิจิทัลได้
ดังนั้น การจะเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัลและก้าวผ่านได้ หัวใจหลักที่ AIS และภูผามองคือ การสร้างร่วมกันหรือ ‘Co-Creation’
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเปิด AIS EEC (Evolution Experience Center) ศูนย์กลางเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์การแบ่งปันองค์ความรู้เทคโนโลยีและ 5G ทั้งยังมอบพื้นที่ให้องค์กรต่างๆ เข้ามาทดลองสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นเสมือนแซนด์บ็อกซ์ที่ให้หลากหลายองค์กรเข้ามาลองผิดลองถูก เพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าให้องค์กรและผู้บริโภค อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้องค์กรได้พบกับผู้เชี่ยวชาญ พบโอกาสธุรกิจในการจับคู่กับพาร์ตเนอร์ รวมถึงงานสัมมนาและเวิร์กช็อปด้านเทคโนโลยี
“เราจะไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เราไม่ได้รู้คนเดียว เรามีพาร์ตเนอร์ Co-Creation ถือเป็นหัวใจหลักของการทำงานของเราเลย เราต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อเติบโตไปพร้อมๆ กัน” ภูผากล่าวถึงหัวใจในการทำงานของ AIS
นับเป็นความมุ่งมั่นของ AIS Business ที่พร้อมเป็น Provider โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร เพื่อจะร่วมพัฒนาไปพร้อมกันกับพาร์ตเนอร์แบบ Co-Creation เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ร่วมกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด